บริษัทคนไทยระดมทุนสำเร็จ! เตรียมสร้างยานอวกาศลำแรกปี 64

850

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia มาติดตามข่าวเรื่องอุตสาหกรรมอวกาศของไทยกันบ้าง ที่ล่าสุด ไม่ได้แค่เป็นเรื่องแผนการที่เป็นไปไม่ได้สำหรับคนไทย เพราะ “มิว สเปซ” ประกาศความสำเร็จในการระดมทุน เพื่อลงทุนในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ พร้อมระบุว่า จะเริ่มสร้างยานอวกาศลำแรกของประเทศในปี 2564 พร้อมเตรียมเข้าประมูลโครงการอวกาศขององค์การนาซ่า (NASA) อีก 8 โครงการ ในช่วงต้นปี 2564 เรื่องนี้น่าสนใจต่อไปครับ

 

กรณีศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(อว.) ได้กล่าวถึงการเดินหน้าเรื่อง การพัฒนาสร้างยานอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์ ภายใน 7 ปี ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานปี 2564 จนทำให้คนไทยจำนวนหนึ่งออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นไปไม่ได้ และไล่ให้ไปจัดการเรื่องถนนลูกรังให้หมดก่อน

หน่ำซ้ำมีชาวต่างบางส่วนที่ได้แสดงความเห็นในโซเซียล ในเชิงดูหมิ่น ดูแคลน เย้นหยัน และบอกให้ประเทศไทยเอาเงินไปแก้ปัญหาความยากจนให้หมดก่อนจะดีกว่าจะมาทำเรื่องนี้

แต่ล่าสุดเรื่องนี้ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม นายวรายุทธ เย็นบำรุง กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มิว สเปซ คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทด้านดาวเทียมและเทคโนโลยีอวกาศภาคเอกชน กล่าวว่า จะสร้างโรงงานขนาดใหญ่ เพื่อที่จะผลิตชิ้นส่วนและสร้างยานอวกาศ(Spaceship) ลำแรกของประเทศไทย

รวมถึงการผลิตชิ้นส่วนดาวเทียมและยานอวกาศ สำหรับใช้ในประเทศ เพื่อการส่งออก เพื่อภารกิจด้านการสื่อสาร, ความมั่นคง, ระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก(GPS) ทดสอบหุ่นยนต์และ ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติสำหรับยานพาหนะไร้คนขับบนดวงจันทร์ โดยจะนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ภายในโรงงาน

รวมถึงจะเป็นพื้นที่สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี Space IDC ซึ่งบริษัทมีแผนที่จะทำการทดสอบระบบ Space IDC จำลองภายในไตรมาสแรกของปี 2564 นี้”

โดยก่อนหน้านี้ บริษัท มิว สเปซ แอนด์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มิว สเปซ คอร์ป) ที่ก่อตั้งมาเพียง 3 ปี ได้ระดมทุนจากเอกชนจากหลากหลายอุตสาหกรรมธุรกิจ เพื่อมาลงทุนในอุตสาหกรรมด้านอวกาศทั้ง บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน), กลุ่ม Dow Chemical, SCG เป็นต้น จนกระทั่งดันให้มูลค่าของบริษัทเพิ่มขึ้นสูงกว่า 3,000 ล้านบาท

คาดว่า สาเหตุที่ทำให้ได้รับความสนใจ เนื่องจาก การที่ภาครัฐผลักดันให้เกิด พ.ร.บ. กิจการอวกาศ และการสร้างกลไกเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจการอวกาศ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมาย new S-curve ที่จะทำให้ประเทศไทยมีความสามารถในการลงทุน และมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศ เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่เศรษฐกิจไทย

นายวรายุทธ กล่าวว่า บริษัท มิว สเปซ ให้บริการ Space IDC หรือ Space Internet Data Center เป็นการดำเนินโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง มิว สเปซ คอร์ป และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการศูนย์กลางข้อมูล (Data Center) ที่อยู่นอกชั้นบรรยากาศของโลก

นอกจากนี้ มิว สเปซ มีเป้าหมายที่จะสร้างสถานีเกตเวย์ อีก 11 แห่งเริ่มที่กรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการใช้งานของดาวเทียมวงโคจรต่ำ (Low Earth Orbit Satellite: LEO) ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

พร้อมกันนั้น ระบุว่า กำลังเตรียมความพร้อมที่จะเข้าประมูลโครงการอวกาศขององค์การนาซ่า (NASA) อีก 8 โครงการ ในช่วงต้นปี 2564 จากประสบการณ์ที่ผ่านมา มิว สเปซ มีการความก้าวหน้ามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการร่วมส่งโครงการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศทั้งสิ้น 7 โครงการ ซึ่ง Tipping Point Solicitation Project สามารถผ่านการพิจารณาในรอบแรกได้สำเร็จ จึงคาดว่าในครั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงมากที่ มิว สเปซ จะได้รับเลือกเข้าโครงการพัฒนา

ประเทศไทยตั้งอยู่ในชัยภูมิที่ดี คนไทยมีทักษะที่ดีไม่แพ้ชาติใดในโลก ที่ผ่านมา ก็ประจักษ์ชัดในเรื่องความสามารถด้านอวกาศ ดังจะเห็นได้จากที่มีคนไทยก็ทำงานให้กับ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ องค์การนาซา (NASA) เช่น ดร. ก้องภพ อยู่เย็น ดร.อาจอง ชุมสาย และ ดร.พีรวรรณ วิวัฒนานนท์

โดยเฉพาะ ดร.อาจอง ชุมสาย วิศวกรชาวไทย ผู้เคยเป็นลูกทีมจำลองแบบชิ้นส่วนระบบลงจอดของยานอวกาศในบริษัทคู่สัญญาของมาร์ติน มาเรียทต้า ซึ่งปัจจุบันได้ควบรวมกิจการกลายเป็นบริษัทล็อกฮีด มาร์ติน ซึ่งเป็นผู้สร้างยานอวกาศไวกิ้งให้กับองค์การนาซาของสหรัฐอเมริกาเพื่อนำไปใช้ในภารกิจสำรวจดาวอังคาร

ดังนั้นเรื่องนี้จึงน่าจับตามอง และหากทำได้ เชื่อว่า สายตาของต่างชาติต่อคนไทยโดยรวมจะเปลี่ยนไปครับ

หากเพื่อนๆ เห็นว่า ข่าวนี้มีประโยชน์ รบกวนกดติดตาม กดถูกใจ และกดแชร์ ด้วยครับ