รถไฟฟ้า”สายสีส้ม”ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ–มีนบุรี สร้างได้ตามแผน

854

 

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามความคืบหน้ารถไฟฟ้าอีกเส้นทางหนึ่งนั่นคือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งล่าสุดมีความคืบหน้าแล้ว 39.29 % และได้มีการเผยภาพความก้าวหน้างานหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-รามคำแหง 12 จากสถานี รฟม. ถึง ลาเดฟองซ์

โครงการนี้ มีสถานีรถไฟฟ้าแบบใต้ดิน จำนวน 10 สถานี และแบบยกระดับ จำนวน 7 สถานี จึงนับว่าหินทีเดียว ไปติดตามรายละเอียดดันครับ

สำหรับรายละเอียดความคืบหน้า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์)นั้น ล่าสุด เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2562 มีรายงานจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยหรือ รฟม.ว่า ความคืบหน้างานก่อสร้างสายสีส้ม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2562 คือ 39.29 % ซึ่งภาพรวมงานก่อสร้างยังเป็นไปตามแผน โดยอยู่ในแดนบวก เร็วกว่าแผน 1.20 %

cr.ภาพ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี

โดยรายละเอียดความคืบหน้าโครงการมีดังนี้

1.งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง และสถานีใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรม-รามคำแห่ง 12 50.69 %
2.งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง และสถานีใต้ดินช่วงรามคำแห่ง 12 -หัวหมาก 34.49 %
3.งานก่อสร้างทางวิ่งและสถานีใต้ดินช่วงหัวหมาก -คลองบ้านม้า 37.05 %
4.งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่ง และสถานียกระดับช่วงคลองบ้านม้า -สุวินทวงศ์ 24.87 %
5.งานก่อสร้างอาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดรถแล้วจร 47.25 %
6.งานก่อสร้างระบบราง 43.33 %

 

นอกจากนี้ กิจการร่วมค้า ซีเคเอสที ผู้รับจ้างสัญญาที่ 1 รับผิดชอบงานออกแบบและก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่ง และสถานีใต้ดินช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-รามคำแหง 12 มีภาพความก้าวหน้างานหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ที่เริ่มขุดเจาะไปตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2562 จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม 2562 ได้ระยะทางรวมประมาณ 590 เมตร จากสถานี รฟม. ถึง ลาเดฟองซ์ แล้ว

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบรถไฟฟ้าแบบใต้ดินและแบบยกระดับ มีระยะทางประมาณ 22.57 กิโลเมตร

cr.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี

 

โดยแนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นเป็นแบบใต้ดินจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน) ตัดเข้าพื้นที่ของ รฟม. วิ่งใต้แนวถนนพระราม 9 ลอดใต้ทางพิเศษสายฉลองรัฐ (ทางด่วนสายรามอินทรา – อาจณรงค์) เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกพระราม 9 ไปตามแนวถนนรามคำแหง ผ่านสี่แยกลำสาลี แนวเส้นทางเปลี่ยนเป็นแบบยกระดับ บริเวณใกล้หมู่บ้านสัมมากร ข้ามแนวถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดบริเวณแยกถนนรามคำแหงตัดกับถนนสุวินทวงศ์

ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ประกอบด้วยสถานีใต้ดิน 10 สถานี, สถานียกระดับ 7 สถานี, ปล่องระบายอากาศระหว่างสถานีและอาคารระบายอากาศ รวม 11 แห่ง, อาคารศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง

cr.ภาพ mrta-orangelineeast.com

 

มีวงเงินลงทุนสำหรับการจ้างก่อสร้างงานโยธาทั้ง 6 สัญญา เป็นเงินประมาณ 79,221.24 ล้านบาท โดยโครงการมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2565 และเปิดใช้ในปี 2566

 

นี่เป็นความคืบหน้าของรถไฟฟ้าอีกสายหนึ่ง คือ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ซึ่งล่าสุดงานเป็นไปตามแผน แม้ว่า งานจะหินมากมีสถานีรถไฟฟ้าแบบใต้ดิน จำนวน 10 สถานี และแบบยกระดับ จำนวน 7 สถานี โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2565 และเปิดใช้ในปี 2566 ก็คาดว่าหากแล้วเสร็จจะช่วยเติมเต็มให้กับระบบรางในกรุงเทพฯ และจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรในพื้นที่บริเวณนี้ได้มากครับ