ฟื้นรถจักรไฟฟ้าหาดใหญ่-ปาดังฯ

569

 

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้เรามาดูข่าว สภาพัฒน์ เตรียมปัดฝุ่น โครงการรถจักรไฟฟ้าทางคู่ “หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ มูลค่า 6,661 ล้านบาท ซึ่งสามารถเชื่อมต่อไปได้ถึงกัวลาลัมเปอร์ และจะเป็นรถไฟทางคู่สายแรกของไทย ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า รายละเอียดเรื่องนี้มาติดตามกันครับ

รายละเอียดเรื่องนี้รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่า ได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) หรือสภาพัฒน์ ว่าสัปดาห์นี้จะลงพื้นที่ดูแนวเส้นทางโครงข่ายรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงหาดใหญ่ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. วงเงิน 6,661 ล้านบาท เพื่อศึกษาแนวเส้นทางด้วยการนั่งรถไฟจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มาลงสถานีรถไฟปาดังเบซาร์ ดูความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่ง รฟท.เตรียมรายงานแผนข้อมูลโครงการให้ สศช. รับทราบเพื่อประกอบ การพิจารณา

cr.การรถไฟแห่งประเทศไทย OFFICIAL

 

ถ้าคณะกรรมการฯ เห็นชอบโครงการ ก็จะทำให้ทางคู่ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ เป็นเส้นทางสายแรกของไทยที่ใช้หัวรถจักรที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ทำให้สามารถเดินรถไฟเชื่อมต่อและสอดคล้องกับการเดินรถของประเทศมาเลเซียที่มีรูปแบบหัวรถจักรเป็นระบบไฟฟ้าอยู่แล้วจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานในการเดินรถได้ถึง 60%

ขณะเดียวกันฝ่ายช่างกลของ รฟท.อยู่ระหว่างการศึกษาการขับเคลื่อนรถไฟด้วยระบบไฟฟ้าเช่นกันเพื่อรองรับกับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่จำนวนมากในอนาคตด้วย

สำหรับแนวเส้นทางของโครงการมีจุดเริ่มต้นที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ ถึง สถานีปาดังเบซาร์ รวมระยะทางประมาณ 45 กิโลเมตร เป็นแนวเส้นทางรถไฟเดิม ประกอบด้วย 4 สถานี ได้แก่ สถานีชุมทางหาดใหญ่ สถานีศาลาทุ่งลุง สถานีคลองแงะ สถานีปาดังเบซาร์ และ 3 ป้ายหยุดรถ คือ บ้านพรุ คลองรำ และท่าข่อย

ถ้าจำกันได้เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 กระทรวงคมนาคม ได้สั่งรื้อโครงการนี้ โดยอ้างว่าไม่คุ้มค่า เพราะมีแต่รถไฟของมาเลย์ได้ประโยชน์แต่ไทยยังไม่มีใช้ พร้อมให้การรถไฟปรับเป็นระบบดีเซลรางตามปกติ โดยอ้างว่า ประหยัดงบได้กว่าพันล้าน จะทำให้งบลงทุนปรับลดลงราว 1,000 ล้านบาท

ซึ่งการสั่งรื้อโครงการ ก่อนหน้านี้ทำให้หลายคนรู้สึกผิดหวังต่อการตัดสินใจของกระทรวงคมนาคม เมื่อข่าวนี้ออกมาคงจะกลายมาเป็นหัวข้อสนทนาในร้านน้ำชาของคนในพ้นที่อีกครั้งหนึ่ง

 

ซึ่งการเตรียมปัดฝุ่นโครงการนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งของสภาพัฒน์ นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการเดินทางของประชาชนทั้งฝั่งไทยและมาเลเซียแล้ว

ยังจะเป็นโมเดลให้กับการพัฒนารถไฟรางคู่ในจุดอื่นๆต่อไปด้วยครับ