“มาเลย์-จีน”ส่อซีเรียส??หลังนายกฯมหาเธร์ ลั่นทบทวนโครงการรถไฟของจีน

540

น่าจับตาอย่างยิ่งสำหรับความสัมพันธ์ของ”มาเลเซียกับจีน” หลังจากนายกรัฐมนตรีคนใหม่”มหาเธร์ โมฮัมหมัด” ระบุจะทบทวนโครงการรถไฟสายชายฝั่งตะวันออก หรือ ECRL และโครงการขนาดใหญ่อื่นๆ ที่ได้ร่วมมือกับ “จีน”ในยุคการบริหารงานของอดีตนายกรัฐมนตรี “นาจิบ ราซัค” ซึ่งเรื่องนี้ทำให้จีนนั่งไม่ติด ต้องออกมาเตือน “มหาเธร์ ” ให้สนับสนุนข้อตกลงทวิภาคีระหว่างทั้งสองประเทศที่มีมาก่อนหน้านี้

 

ปมหลักที่นำไปสู่ความสบายใจทั้ง 2 ฝ่ายคือ โครงการรถไฟสายชายฝั่งตะวันออก ( ECRL) ความยาว 600 กม.ที่จะเชื่อม ทัมปัต กับ กวนตัน และท่าเรือกลัง ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซีย ที่จีนให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำแก่มาเลเซียด้วยวงเงินสูงถึง 5.5 หมื่นล้านริงกิต หรือราว 4.3 แสนล้านบาท ในยุคอดีตนายกรัฐมนตรี “นาจิบ ราซัค”

 

โครงการนี้ ทั้งการจัดซื้อจัดจ้าง ระบบวิศวกรรม และการก่อสร้างของ ECRL นี้ ดำเนินการโดยบริษัท China Communications Construction Company (CCCC) ซึ่งมีรัฐบาลจีนถือหุ้นทั้งหมด เมื่อ 3 ปีก่อน “มหาเธร์ โมฮัมหมัด” เคยออกวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรงต่อโครงการนี้ ในทำนองว่า จีนเข้ามาก้าวล่วงให้มาเลเซียเป็นแนวร่วมในกรณีพื้นที่พิพาทในทะเลจีนใต้ ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งกับประเทศภูมิภาคอาเซียนนี้ได้

 

แต่ นายจิบ เคยออกมาเตือนว่า หากมาเลเซียยกเลิกโครงการ ECRL จีนน่าจะตอบโต้ด้วยการห้ามมิให้นักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซียและนำเข้าปาล์มน้ำมันของมาเลเซีย ถึงกระนั้นก็ตาม

 

มหาเธร์ เคยพูดซ้ำๆ ว่า จะนำไปสู่การเป็นเจ้าของที่ดินของต่างชาติในมาเลเซียและการไหลเข้าของผู้ซื้อจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะในระหว่างการแถลงข่าวก่อนที่จะสาบานเป็นนายกฯ คนที่ 7 ของมาเลเซีย แม้ มหาเธร์ กล่าวว่า รัฐบาลของเขาจะพิจารณาสนธิสัญญาและเงื่อนไขของข้อตกลงดังกล่าว แต่ก็ไม่มีปัญหากับโครงการ 1 แถบ 1 เส้นทางของจีน (One Belt One Road) แต่ก็ไม่อยากเห็นเรือรบอยู่ในน่านน้ำมาเลเซียมากเกินไป เพราะจะดึงดูดเรือรบอื่นๆเข้ามาด้วย

 

ประเด็นที่น่าสนใจต่อจากนี้ก็คือจะกระทบเศรษฐกิจของมาเลเซียหรือไม่ เพราะมาเลเซียมีเงินลงทุนโดยตรงจากจีนมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ที่จีนออกไปลงทุนทั้งหมดทั่วโลก จากอันดับเดิมที่ 20 เมื่อ 2 ปีก่อนหน้า และภาวะเศรษฐกิจมาเลเซีย ตอนนี้อยู่ในภาวะชะลอตัวปรับตัวลงอยู่ที่ 5.4 % และที่สำคัญ “จีน”ทุ่มปล่อยงบมหาศาลก่อนนี้ลงมาก็เพื่อต้องการอาศัยเส้นทางมหาสมุทรอินเดียผ่านเข้ามาทางช่องแคบมะละกา ก่อนที่จะผ่านไปยังทะเลจีนใต้ เพื่อเลี่ยงเส่้นทางสิงคโปร์

 


cr.wikipedia.org

 

และเป็นการผนวกมาเลเซียเข้าเป็นส่วนหนึ่งตามยุทธศาสตร์ One Belt One Road และ String of Pearls ของจีน เมื่อเหตุการณ์เกิดความไม่แน่นอนอย่างนี้แล้ว จีนจะมีมาตรการตอบโต้ตามมาหรือไม่ อย่างไร เป็นประเด็นที่ต้องติดตามกันครับ!!!