ลุยสร้างต้นแบบจุดเชื่อมต่อ ล้อ-ราง- เรือ บริเวณสะพานพระนั่งเกล้า

486

 

มาติดตามความคืบหน้าการพัฒนาโครงการจุดเชื่อมต่อล้อ-ราง-เรือ กันบ้างนะครับ ที่ล่าสุดกรมการขนส่งทางราง และ รฟม. ได้ลงสำรวจประเมินคุณภาพจุดเชื่อมต่อล้อ-ราง-เรือ บริเวณสะพานพระนั่งเกล้า เพื่อให้เกิดต้นแบบจุดเชื่อมต่อ ล้อ-ราง- เรือ อย่างไร้รอยต่อ โดยเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางได้หลากหลายรูปแบบ โดยกำลังดำเนินงานก่อสร้าง คืบหน้าแล้วร้อยละ 90 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2564 เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

 

11 มีนาคม 2564 ดร. พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) และนายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฎิบัติการ) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ ขร. และ รฟม. ลงพื้นที่ลงสำรวจตรวจติดตามความคืบหน้าการดำเนินการก่อสร้างท่าเรือพระนั่งเกล้า และจุดเชื่อมต่อ ล้อ-เรือ-ราง บริเวณสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีสะพานพระนั่งเกล้า ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างโดย รฟม.

ท่าเรือพระนั่งเกล้า และจุดเชื่อมต่อ ล้อ-ราง-เรือ ในบริเวณดังกล่าว เกิดจากความร่วมมือในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของหลายหน่วยงาน ได้แก่ สนข. รฟม. จท. ขบ. ขสมก. และภาคประชาสังคม รวมทั้ง ขร. เพื่อให้เกิดต้นแบบจุดเชื่อมต่อ ล้อ-ราง- เรือ อย่างไร้รอยต่อ โดยเป็นจุดเชื่อมต่อการเดินทางได้หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ ระบบขนส่งทางรางที่สถานีสะพานพระนั่งเกล้า ระบบขนส่งสาธารณะทางน้ำที่ท่าเรือพระนั่งเกล้า เรือโดยสารเรียบฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เรือข้ามฟาก ไปยังท่าเรือบ้านไทรม้า และเรือท่องเที่ยว และมีท่าปล่อยรถโดยสารประจำทาง 2 เส้นทาง ได้แก่ สาย 63 (นนทบุรี-อนุสาวรีย์ชัยฯ) และสาย 114 (นนทบุรี-แยกลำลูกกา)

โดยออกแบบให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับผู้โดยสารทุกคน เช่น แผนที่การเดินทางสำหรับคนพิการทางการเห็น ทางลาด พื้นผิวต่างสัมผัส ลิฟท์ ราวจับ ราวกันตก ห้องน้ำ และตู้ TTRS เป็นต้น ปัจจุบันมีสถานะความคืบหน้าการดำเนินงานก่อสร้าง ร้อยละ 90 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2564

ทั้งนี้ ขร. จะได้หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รฟม. จท. ขบ. และ ขสมก. เพื่อเตรียมการด้านเส้นทางบริการระบบขนส่งสาธารณะ ทางน้ำ ทางบก และทางราง ให้สอดคล้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ มีความถี่ และช่วงเวลาในการให้บริการที่สอดคล้องกัน และพิจารณาเส้นทางการบริการเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อเพื่อรองรับการเปิดให้บริการต่อไป

การสร้างระบบโครงการข่ายการเดินทางของไทย ที่เรียกว่า เชื่อมต่อ ล้อ-เรือ-ราง ในกรุงเทพฯ ปริมณฑล จะเป็นโครงการที่มีความสำคัญอย่างมาก ซึ่งนอกจากสร้างความสะดวกในการเดินทางของประชาชน การเชื่อมต่อแบบนี้จะทำให้เครือข่ายระบบการขนส่งมีประสิทภาพอย่างมาก และมีความโด่ดเด่นแตกต่างจากที่อื่นๆ ของโลก และอาจจะกลายเป็นต้นแบบของโลก เลยก็ว่าได้

และหากโครงการนี้ทำสำเร็จ จะช่วยสร้างสภาพแวดล้อมที่ดี แก้ปัญหาจราจร ส่งเสริมเศรษฐกิจ และ การท่องเที่ยว อีกด้วยครับ

หากเพื่อนๆ เห็นว่า ข่าวนี้มีประโยชน์ รบกวนกดติดตาม ถูกใจ และกดแชร์ ด้วยครับ