ศักดิ์สยาม ถกเตรียมพร้อมสายสีแดง-สถานีกลางบางซื่อ -ย้ำเปิดบริการ พ.ย.64

502

 

 

ศักดิ์สยาม หารือคณะกรรมการเตรียมการเปิดบริการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ย้ำมีกำหนดเปิดให้บริการพฤศจิกายน 2564 และเปิดให้บริการแบบ Soft Opening กรกฎาคม 2564 ส่วนสถานีหัวลำโพง จะเริ่มลดจำนวนเที่ยวการเดินรถไฟทางไกลที่เข้าสู่สถานีหัวลำโพง โดยพิจารณาถึงความจำเป็นในการให้บริการประชาชน ตั้งแต่พฤศจิกายน 2564

 

10 มีนาคม 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อและอนุกรรมการที่เกี่ยวเกี่ยวข้อง เพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานการเตรียมความพร้อมเปิดให้บริการ ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ผ่านการประชุมทางไกล (Video Conference) เมื่อวันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564 โดยมีนายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม คณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ และมีกำหนดเปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน 2564 ดังนั้น เพื่อให้รถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ สามารถเปิดให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก สบาย และปลอดภัย กระทรวงคมนาคมได้แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน และผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เป็นกรรมการและเลขานุการ พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการเปิดให้บริการ ในด้านต่างๆ จำนวน 5 คณะ ประกอบด้วย

 

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

 

1. คณะอนุกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ด้านการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งระบบ รวมทั้งการเชื่อมต่อ การให้บริการระบบขนส่ง

2. คณะอนุกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ด้านสถานี

3. คณะอนุกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ด้านราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสาร

4. คณะอนุกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ด้านการสื่อสารสาธารณะ

5. คณะอนุกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ด้านการกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า (Gateway/Hub)

ทั้งนี้ คณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการทั้ง 5 ชุด มีหน้าที่ในการจัดทำแผนเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งต้องประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายความสำเร็จของโครงการ กำหนดโครงสร้างการดำเนินการ ขอบเขต และหลักการ และจัดทำแผนปฏิบัติการด้านต่าง ๆ เช่น แผนงบประมาณ แผนบริหารความเสี่ยง การทำความเข้าใจ และสื่อสารสาธารณะ รวมทั้งติดตามประเมินผลการทดสอบการเดินรถ การให้บริการประชาชน การประเมินผลเพื่อนำไปปรับปรุงเพื่อให้การเปิดให้บริการมีความสมบูรณ์ ตลอดจนติดตามและประเมินผลการให้บริการโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และพิจารณาให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการให้บริการ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้มีการตั้งเป้าหมายสำหรับการเตรียมความพร้อมเปิดให้บริการรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ว่า สถานีกลางบางซื่อจะต้องเป็นศูนย์รวมของระบบรถไฟ ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟชานเมือง และรถไฟฟ้าสายสีแดง โดยพื้นที่ต่าง ๆ และระบบสิ่งอำนวยความสะดวก รวมทั้ง การเดินรถรถไฟสายสีแดง สิ่งอำนวยความสะดวกในทุกสถานี ต้องพร้อมเปิดให้บริการประชาชน ในส่วนของรถไฟระหว่างเมืองให้หยุดขบวนรถที่สถานี Gateway และมีระบบขนถ่ายผู้โดยสารจากสถานี Gateway เข้าสู่ระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับสถานีหัวลำโพง เริ่มมีการลดจำนวนเที่ยวการเดินรถไฟทางไกลที่เข้าสู่สถานีหัวลำโพง โดยพิจารณาถึงความจำเป็นในการให้บริการประชาชน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 และให้ปรับปรุงพื้นที่ให้บริการในเชิงพาณิชย์ โดยให้อนุรักษ์ความเป็นรถไฟไทย ตลอดจนระบบเชื่อมต่อการเดินทาง (Feeder) ต้องมีรถให้บริการประชาชน ณ สถานีกลางบางซื่อ และสถานี Gateway อย่างสะดวกและเป็นระเบียบ

ทั้งนี้ ได้กำชับในเรื่องของการให้บริการประชาชน โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ และตระหนักถึงรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงการให้บริการของทั้งระบบเป็นระยะ ๆ ที่สำคัญระบบการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ จะต้องแล้วเสร็จ และมีความพร้อมก่อนเปิดให้บริการ Public Opening สายสีแดง ในเดือนพฤศจิกายน 2564 นับเป็นความสำเร็จของรัฐบาลในการยกระดับการขนส่งสาธารณะเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ ของประเทศ และเป็นต้นแบบของกระทรวงคมนาคม ในการยกระดับการพัฒนาและให้บริการระบบราง เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อการเดินทางในเมืองและระหว่างเมืองของประชาชนและการขนส่งสินค้า สามารถบริหารจัดการและให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนได้ตามมาตรฐานสากลและมีประสิทธิภาพ โดยใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์กลางระบบรางของไทย ซึ่งประชาชนจะได้รับการให้บริการระบบขนส่งสาธารณะที่สะดวก ปลอดภัย และตรงต่อเวลา ในอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม ตลอดจนทำให้ผู้ประกอบการทั้งในประเทศ และต่างประเทศมองเห็นโอกาสในการลงทุน ประกอบธุรกิจและสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้นต่อไป

นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานอนุกรรมการ เปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ด้านการสื่อสารสาธารณะ กล่าวว่า สำหรับการประชุมคณะกรรมการฯ และอนุกรรมการฯ โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ดำเนินการเพื่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกัน สรุปผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ ได้ดังนี้

คณะอนุกรรมการฯ ด้านการเดินรถของการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งระบบ รวมทั้งการเชื่อมต่อการให้บริการระบบขนส่ง ได้พิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงาน ได้แก่

1. การปรับปรุงแผนการเดินรถไฟของ รฟท. ให้ รฟท. ปรับลดขบวนรถที่เข้าสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ในช่วงเวลาเร่งด่วน กระจายไปนอกเวลาเร่งด่วนแทน โดยให้วิเคราะห์ถึงผลกระทบในภาพรวมและผู้ใช้บริการด้วย ให้ รฟท. พิจารณาจัดทำตารางหยุดรถที่สถานีต่างๆ ให้มีความชัดเจน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการเพื่อจัดทำระบบเชื่อมต่อการเดินทาง (Feeder) รองรับได้สอดคล้องกับเที่ยวรถไฟ และให้ รฟท. และ รฟฟท. เตรียมความพร้อมเรื่องบัตรโดยสาร ก่อนเปิดให้บริการแบบ Soft Opening ในเดือนกรกฎาคม 2564 และพิจารณาส่วนลดบัตรโดยสารประเภทต่างๆ เช่น บัตรรายเดือน บัตรนักศึกษา บัตรผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ โดยมีส่วนลดสำหรับบัตรดังกล่าว

2. การเชื่อมต่อระหว่างสถานีและระบบ Feeder มอบให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จัดทำเส้นทางเดินรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) เบื้องต้น 24 เส้นทาง เพื่อรองรับการเดินทางเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ ให้ ขบ. และ ขสมก. พิจารณาเส้นทางการเชื่อมต่อระหว่างสถานีมักกะสัน และสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) โดยใช้ทางพิเศษของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และขอให้ ขสมก. พิจารณากำหนดอัตราค่าโดยสารให้ต่ำที่สุด ทั้งนี้ ขอให้ กทพ. พิจารณาปรับลดอัตราค่าผ่านทางสำหรับรถโดยสารในลักษณะดังกล่าว และพิจารณารถโดยสารให้ครอบคลุมทุกสถานีของสถานีรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) โดยอาจพิจารณาปรับปรุงเส้นทางในปัจจุบัน หากสามารถปรับปรุงได้ก็ให้พิจารณาแนวเส้นทางใหม่ ทั้งนี้ ควรจะพิจารณาเส้นทางเพื่อให้เชื่อมต่อกับสถานีหัวลำโพง และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และหมอชิต พิจารณาจัดทำเส้นทาง Shuttle Bus รอบสถานีกลางบางซื่อ เนื่องจากการนำรถประจำทางจำนวน 24 เส้นทาง ที่เข้าไปสถานีกลางบางซื่ออาจส่งผล ต่อการจราจรรอบสถานีกลางบางซื่อได้ ควรพิจารณานำรถโดยสารปรับอากาศมาเป็นรถ Shuttle Bus และควรพิจารณาให้มีอัตราค่าโดยสารไม่เกิน 15 บาท ตลอดเส้นทาง ให้ รฟท. และ รฟม. เจรจาร่วมกันระหว่างรถไฟฟ้าสายสีแดง และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ไม่เก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อน หรือออกมาตรการส่งเสริมการตลาด ให้ ขบ. พิจารณาตำแหน่งจุดจอดรถโดยสารประจำทางให้เชื่อมต่อกับสถานีกลางบางซื่อ ให้ รฟม. และ รฟท. เร่งรัดการเชื่อมอุโมงค์ใต้ดินบริเวณสถานีกลางบางซื่อ ให้ทันกับการเปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อ ภายใน 28 กรกฎาคม 2564

3. การปรับปรุงการเชื่อมต่อสถานีรังสิต มอบให้ ขบ. และ ขสมก. ร่วมกับจังหวัดปทุมธานีพิจารณาแนวเส้นทางการให้บริการของ ขสมก. ให้มีความเชื่อมโยงระหว่างสถานีรังสิต และอู่รถโดยสารบริเวณสถานีตลาดรังสิต รวมถึงจุดจอดรถตู้ฟิวเจอร์พาร์ค และสถานี บขส. ประสานความร่วมมือกับจังหวัดปทุมธานี นำระบบ Feeder ไปพิจารณา และเร่งดำเนินการเสนอคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัด เพื่อให้ทันเปิดให้บริการโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ให้กรมทางหลวง (ทล.) กรมทางหลวงชนบท (ทช.) และ รฟท. พิจารณาเรื่องการปรับปรุงถนนเข้าสถานีรังสิต (ฝั่งปทุมธานี) ให้สามารถเข้า – ออก ได้โดยสะดวก โดยให้ รฟท. ปรับปรุงเส้นทางของ รฟท. บริเวณสถานีให้เรียบร้อย และพิจารณาความต้องการในการปรับปรุงการเข้าถึงสถานี และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสนับสนุนต่อไป

คณะอนุกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ด้านสถานี ได้มีการประชุมหารือแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับด้านสถานี โดยพื้นที่อาคารสถานีกลางบางซื่อ มีขนาดพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด จำนวน 298,200 ตารางเมตร แบ่งออกเป็นพื้นที่ให้บริการผู้โดยสารและประชาชน จำนวน 129,400 ตารางเมตร พื้นที่เชิงพาณิชย์ จำนวน 51,465 ตารางเมตร และพื้นที่สำหรับติดตั้งป้ายโฆษณา ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ ได้เสนอแนวทางการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และป้ายโฆษณาให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเปิดประมูลหาผู้ประกอบการมาบริหารจัดการพื้นที่ในอัตราค่าเช่าสิทธิ์ที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของสถานี จัดให้มีศูนย์อาหาร และจัดเตรียมพื้นที่จอดรถรองรับประชาชนที่เข้ามาใช้บริการสถานีให้เพียงพอด้วย

คณะอนุกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ด้านราคาค่าโดยสารและบัตรโดยสาร มีความก้าวหน้าในการประชุมหารือแนวทางการดำเนินงาน โดยเสนอแนวทางในการกำหนดให้มีอัตราค่าโดยสารสำหรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ต่ำสุด 14 บาท สูงสุดไม่เกิน 42 บาท และมีส่วนลดราคาให้กับบัตรโดยสารรายเดือน บัตรโดยสารร่วม บัตรนักเรียน บัตรผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้พิการ โดยที่ประชุมขอให้นำไปพิจารณาให้เกิดความเหมาะสมสูงสุดกับผู้ใช้บริการด้วย

คณะอนุกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ด้านการสื่อสารสาธารณะ มีการกำหนดแผนและดำเนินการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ เช่น การให้บริการเดินรถและระบบขนส่งสาธารณะเชื่อมต่อการเดินทาง การให้บริการและ สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในสถานี เป็นต้น เปิดเพจ Bang Sue Grand Station เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสาร กับประชาชน พร้อมทั้งจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในช่องทางต่าง ๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงโครงการให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้ใช้บริการให้มากที่สุด

คณะอนุกรรมการเตรียมการเปิดให้บริการและการบริหารโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) และสถานีกลางบางซื่อ ด้านการกำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า (Gateway/Hub) สรุปผลการเนินการพิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมของจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารและสินค้า ดังนี้

จุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร สายเหนือ สายอีสาน เปลี่ยนถ่ายสถานีรังสิต สายใต้ เปลี่ยนถ่ายสถานีตลิ่งชัน สายตะวันออก เปลี่ยนถ่ายสถานีมักกะสัน

จุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า สายเหนือ สายอีสาน เปลี่ยนถ่ายสถานี