สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia มาติดตามความคืบหน้าเรื่องโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินกันบ้าง ที่ล่าสุด ที่ประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ยืนยันการรถไฟฯ จะส่งมอบพื้นที่ให้บริษัท ซีพี เสร็จตามกำหนดเวลา
โดยจะส่งมอบพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ภายในเดือนมีนาคม 2564 อย่างช้าภายในเดือนกันยายน 2564 โดยตามแผนจะเริ่มก่อสร้างในปี 2564 และใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ
1 ก.พ.64 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ในฐานะประธานที่ประชุมฯ ว่า ที่ประชุม กบอ. รับทราบความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งการดำเนินงานเป็นไปตามแผนคณะทำงานเร่งรัด ฯ และมีความคืบหน้าต่อเนื่องเป็นลำดับ
โดยการรื้อย้ายสาธารณูปโภค เพื่อเปิดพื้นที่ก่อสร้าง พร้อมสามารถส่งมอบพื้นที่ส่วนใหญ่ได้ภายในเดือนมีนาคม 2564 และการส่งมอบพื้นที่เวนคืน อยู่ในขั้นตอนการทำสัญญาซื้อขายโดย รฟท. ซึ่งจะส่งมอบพื้นที่อย่างช้าภายในเดือนกันยายน 2564
สำหรับการส่งมอบพื้นที่นั้น ก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวจากการรถไฟว่า ตามแผนของการรถไฟ ร.ฟ.ท.มั่นใจว่าจะส่งมอบพื้นที่ส่วนแรก คือ ช่วงสุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา เข้าดำเนินงานตามสัญญากำหนดภายในเดือน ต.ค.2564
ระยะที่ 2 “ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ” ตามแผน จะใช้เวลาดำเนินการอีก 2 ปี 3 เดือน คาดว่าแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2566
และ ส่งมอบพื้นที่รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ระบุว่า การส่งมอบแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีกำหนดวันที่ 24 ต.ค.2564
สำหรับแผนการก่อสร้าง บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เปิดเผยเมื่อปลายปีที่แล้วว่า รัฐบาลมีแผนงานว่า 1 ปี หลังลงนามต้องเริ่มก่อสร้างได้ หลังจากนั้นใช้เวลา 5 ปีในการสร้าง ซึ่งอาจไม่แล้วเสร็จทันปี 2566 แต่อาจจะเป็นปี 2568 เนื่องจากจะมีการมอบที่ดินได้บางส่วน
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะทาง 220 กิโลเมตร มีแนวเส้นทางเชื่อมโยงท่าอากาศยานสำคัญของประเทศ
โดยเริ่มต้นที่ท่าอากาศยานดอนเมือง วิ่งตรงเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ ผ่านสถานีมักกะสัน เลี้ยวเข้าสู่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มุ่งหน้าต่อไปตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก ผ่านแม่น้ำบางปะกง เข้าสู่สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และเข้าสู่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาเป็นสถานีสุดท้าย
โดยขบวนรถสามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากเดิมที่การขับรถจากในเมืองกรุงเทพ ออกไปถึงสนามบินอู่ตะเภา ต้องใช้เวลาราว 2 ชั่วโมง โครงการรถไฟความเร็วสูงนี้ จะย่นเวลาให้เหลือเพียง 45 นาทีเท่านั้น สำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน
รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน เป็น 1 ในโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของโครงการการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่นอกจากจะช่วยสร้างความสะดวกในการเดินทาง สร้างจุดแข็งให้กับโครงการ EEC แล้ว
ยังจะเป็นอีกเครื่องมือในการสร้างภาพลักษณ์ และสร้างความเชื่อมั่นต่อนานาชาติ และยกระดับประเทศไทย สู่ระดับแนวหน้าของเอเชียและระดับโลก ด้วยครับ
หากเพื่อนๆ เห็นว่า ข่าวนี้มีประโยชน์ รบกวนกดติดตาม กดถูกใจ และกดแชร์ ด้วยครับ
ติดดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Website https://www.1one.asia/
ช่องทาง Social Media
Facebook : https://www.facebook.com/1one2018asia
youtube:1one