สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia มาติดตามข่าวการใช้งานอินเทอร์เน็ตของไทยกันบ้าง ที่ล่าสุด เว็บไซต์ speedtest.net/ ได้จัดอันดับและพบว่าประเทศไทย ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของโลกด้านความเร็วเน็ตบ้าน นำหน้า สิงคโปร์ และ ฮ่องกง ที่ตกลงมาสู่อันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ ส่วนประเทศอาเซียนอื่นๆ อันดับยังห่างไกลกว่าไทยครับ เช่น มาเลเซีย อยู่อันดับ 44 ของโลก เวียดนาม อันดับ 59 เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ
มีรายงานจากเว็บไซต์ speedtest.net/ เปิดเผยถึงการเก็บสถิติ/ความเร็วเฉลี่ยในการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ (Mobile) และ บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต (Fixed Broadband) ของเดือนธันวาคม 2563
โดยพบว่า ประเทศไทย ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ของความเร็วเน็ตบ้าน ด้วยอัตราการดาวน์โหลดที่ 308.35 Mbps อัปโหลด 260.86 Mbps ส่วน สิงคโปร์ ตกไปอยู่อันดับที่ 2 มีอัตราการดาวน์โหลดอยู่ที่ 245.31 Mpbs อัปโหลด 231.58 Mbps และฮ่องกง ตกลงไปสู่อันดับ 3 มีอัตราการดาวน์โหลดอยู่ 226.80 Mpbs อัปโหลด 212.26 Mbps
ในขณะนี้มาเลเซีย อยู่อันดับ 44 ของโลก มีอัตราการดาวน์โหลดอยู่ 93.67 Mbps อัปโหลด 53.72 Mbps เวียดนาม อยู่อันดับ 59 ของโลก มีอัตราการดาวน์โหลดอยู่ 60.88Mpbs อัปโหลด 60.12 Mbps ฟิลิปปินส์ อันดับ 100 อินโดนีเซีย 115 ของโลก
ส่วนการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ (Mobile) ประเทศไทย อยู่ที่อันดับ 33 ของโลกปรับขึ้นมา 11อันดับ มีอัตราการดาวน์โหลดอยู่ 51.75 Mpbs อัปโหลด 17.47 Mbps นำหน้าประเทศใหญ่ๆ หลายประเทศ เช่น สเปน อยู่ดับ 36 ,ญี่ปุ่น อันดับ 38 อิตาลี 51 รัสเซีย 90 เป็นต้น
ในขณะที่ชาติอาเซียน สิงคโปร์ ตกมา5อันดับอยู่อันดับ 21 ของโลก เวียดนาม ที่อยู่ดับดับ 62 , มาเลเซีย อันดับ 87, ฟิลิปปินส์ 96 , อินโดนีเซีย 121 ของโลก
นับว่า ประเทศไทย มีความก้าวหน้าอย่างมาก ทั้ง เน็ตบ้าน และ โมบายอินเทอร์เน็ต ซึ่งส่วนหนึ่งมาจาการปรับตัวของผู้ประกอบ ที่แข่งขันกันมากขึ้น เช่น การเสนอแพกเกจ บรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตความเร็ว 1 Gbps ในระดับราคาพื้นฐานมากยิ่งขึ้น
และการเปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ในเมื่อปี 2563 ซึ่งเปิดก่อนชาติอาเซียนทั้งหมด เปิดก่อนญี่ปุ่น และเป็นชาติแรกๆของโลกด้วย
ดังนั้นต่อจากนี้จึงถือว่าเป็นความหน้าอย่างมาก ด้านเทคโนโลยีด้านนี้ของไทย โดยเฉพาะหลังจากนี้น่าจับตาเทคโนโลยี ไร้สายทั้งหลาย เช่น ยานยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์เพื่อการแพทย์ ที่ไทยจะนำร่องในหลายจุดของพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC และในสนามบินต่างๆ ซึ่งหากประสบความสำเร็จตามเป้า
นอกจากจะสร้างความสะดวกสบายให้ประชาชนแล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันของประเทศไทยเหนือชาติอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน หรือ ภูมิภาคอื่นๆ ของโลก และยังเป็นการปิดจุดอ่อนของไทยในเรื่องแรงงานที่ขาดแคลน จนทำให้ผู้ลงทุนที่ใช้แรงงานแบบเข้มข้น ได้ย้ายฐานการผลิตหนีไปประเทศเพื่อนบ้าน เพราะค่าแรงถูกกว่า
แต่หลังจากนี้เราอาจจะได้เห็นนักลงทุนเหล่านั้น เร่งหอบหมอน หอบเสื่อ กลับมาซบไทยอีกรอบในไม่ช้านี้ เพราะค่าแรงของเพื่อนบ้านที่ว่าถูกแล้ว เจอหุ่นยนต์ผลิตต่อหน่วยต่ำกว่าอีกก็อาจจะถึงหงายหลัง แม้จะอาจจะได้รับสิทธิด้านภาษีในการส่งออกไปประเทศไปประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่หากสามารถใช้หุ่นยนต์ผลิตสินค้าได้ต่อหน่วยต่ำกว่า ก็สามารถส่งสินไปแข่งขันได้เช่นเดียวกัน
และประการสำคัญบุคลากรด้านนี้ของไทยกำลังเร่งพัฒนา และคาดว่าจะสมบูรณ์แบบในไม่ช้า
โดยล่าสุด คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก RoboCup 2022 ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2565 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
หากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย เราคงได้เห็นความก้าวของไทยด้านอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ที่เป็นอีกความหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจ และ จีดีพีของไทย ซึ่งเป็นดอกผลจาก จากการพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5g ของไทย ที่หลายคนต่อต้านก่อนหน้านี้ ครับ
หากเพื่อนๆ เห็นว่า ข่าวนี้มีประโยชน์ รบกวนกดติดตาม กดถูกใจ และกดแชร์ ด้วยครับ
ติดดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
Website https://www.1one.asia/
ช่องทาง Social Media
Facebook : https://www.facebook.com/1one2018asia
youtube:1one