ลุยท่าเรือระนองดันเขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ เชื่อมEEC-กลุ่มประเทศ BIMSTEC

513

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia มาติดตามความคืบหน้าโครงการพัฒนาท่าเรือระนอง และเขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ (SEC) กันบ้าง ที่ล่าสุด สนข. ประกาศเดินหน้าแผนโลจิสติกส์ เพื่อเพิ่ม ประสิทธิภาพการขนส่งระนอง เปิดประตูการค้าภาคใต้และฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC พื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ (SEC) และ กลุ่มประเทศ บิมสเทค (BIMSTEC) ตะวันออกกลาง และยุโรป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หวังเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและทําให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

 

6 มกราคม 2564 มีรายงานจาก สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ว่า นโยบายการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นแผนยุทธศาสตร์ ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริมการลงทุน ถือได้ว่าเป็นการยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและทําให้เศรษฐกิจของไทยเติบโตได้ในระยะยาว

จากผลการพัฒนาดังกล่าว ก่อให้เกิดปริมาณการขนส่งสินค้านําเข้าและส่งออกเพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นการขนส่งสินค้านําเข้าและส่งออกจากพื้นที่ EEC ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศ รวมทั้งระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ และประเทศที่อยู่ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย ได้แก่ ประเทศในกลุ่ม BIMSTEC กลุ่มตะวันออกกลางและยุโรป

ซึ่งประเทศในกลุ่ม BIMSTEC มีสมาชิกทั้งหมด 7 ประเทศ ประกอบด้วย บังกลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย พม่า เนปาล และภูฏาน

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ระบุด้วยว่า ก่อนหน้านี้ ครม. ได้เห็นชอบกรอบแนวคิดการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ในพื้นที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช เพื่อรองรับการขนส่งสินค้านําเข้าและส่งออกจากพื้นที่ EEC โดยให้เร่งผลักดันแผนงานเบื้องต้น ประกอบด้วย โครงการพัฒนาท่าเรือระนอง โครงการระบบรถไฟทางคู่ และโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพลิกโฉมการพัฒนาพื้นที่ภาคใต้

จึงเป็นหน้าที่ของ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. ที่ต้องวางแผนศึกษาเรื่องการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อส่งต่อสินค้าไปยังกลุ่มประเทศ BIMSTEC หรือตะวันออกกลาง ยุโรป ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยได้เสนอให้มีการจัดทำโครงการศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดระนอง และได้จัดสัมมนาเพื่อแนะนำโครงการให้แก่สาธารณชนได้รับทราบไป เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา

การจัดสัมมนาฯ ได้นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับสภาพการขนส่งและปัญหาในการขนส่งสินค้าบริเวณพื้นที่ศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ในปัจจุบัน และศักยภาพ ข้อจำกัด รวมถึงโอกาสในการพัฒนาท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน อีกทั้งยังร่วมกันหาแนวทางต่าง ๆ ในการพัฒนาการขนส่ง เพื่อปรับปรุง สร้างแรงจูงใจให้เปลี่ยนมาใช้รูปแบบเส้นทางที่เสนอ

ถือเป็นการระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบโครงข่ายการขนส่งสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการ และสภาพข้อเท็จจริง โดยจะมีการจัดสัมมนารับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอีก 2 ครั้ง คือ เดือน พ.ค. 2564 และเดือน ก.ย. 2564

สำหรับแนวคิดในการพัฒนาเส้นทางการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้จังหวัดระนอง จะเป็นการพัฒนาในลักษณะของการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multi-modal Transportation)

ประกอบด้วย ช่วงที่ 1 การพัฒนาเส้นทางการขนส่งเชื่อมโยงทางทะเลระหว่างท่าเรือในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับท่าเรือฝั่งอ่าวไทยในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ (SEC)

ช่วงที่ 2 เส้นทางการขนส่งเชื่อมโยงทางบกระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยกับท่าเรือฝั่งอันดามันโดยมีโครงข่ายทางถนนและรถไฟเชื่อมโยงต่อเนื่องระหว่างท่าเรือทั้งสองฝั่งในลักษณะระบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport)

โครงการศึกษาการจัดทำแผนโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าเชื่อมโยงฐานการผลิตในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) กับประตูการค้าในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดระนอง จะช่วยลดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งสินค้านำเข้าและส่งออกระหว่างพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก EEC กับกลุ่มประเทศฝั่งมหาสมุทรอินเดีย

ขณะเดียวกันก็ช่วยลดปริมาณการขนส่งสินค้าทางรถบรรทุกเพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุ ลดปัญหาด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาถนน

นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ประโยชน์ท่าเรือน้ำลึกระนองให้เป็นประตูการค้าในฝั่งอันดามัน เพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศซึ่งเป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ (SEC) ให้เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเศรฐกิจต่อไป

ท่าเรือระนอง เป็นของดีที่รัฐยังไม่ลงมือใช้งานอย่างจริง ในห้วงการแข่งขันของประเทศต่างๆ ในตอนนี้การสร้างศักยภาพของประเทศให้เหนือคู่แข่ง จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบดำเนินการ เพราะการดำเนินการโครงการนี้ นอกจะหนุนโครงการ เขตพัฒนาพิเศษภาคใต้ (SEC) และ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทยให้มีศักยภาพเหนือคู่แข่งแล้ว

ยังจะสร้างบทบาทของไทย ในการเป็นจุดเชื่อมต่อไปกลุ่มประเทศ BIMSTEC ประเทศตะวันออกกลาง และยุโรป และยังเป็นจุดเชื่อมต่อการขนส่งสินค้าของฝั่งอันดามันกับอ่าวไทย และเชื่อมต่อไปยังประเทศเอเชียตะวันออก จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไม่ต้องไปอ้อมสิงคโปร์ ลดเวลาและงบประมาณได้อย่างมาก

นอกจากนี้ท่าเรือระนองยังอยู่ในแนว 1 แถบ 1 เส้นทาง หรือ เส้นทาง อี้ไต้อี้ลู่ ของจีน ซึ่งสามารถขนส่งสินค้าจากจีนมาขึ้นลงที่ท่าเรือแห่งนี้

ซึ่งรถไฟลาว-จีน ก็จะแล้วเสร็จในช่วงปลายปีนี้ และไทยก็กำลังก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากหนองคายมาที่กรุงเทพ

แม้รถไฟความเร็วสูงจะยั่งไม่เสร็จก็ไม่มีปัญหา เพราะปัจจุบันไทยก็มีรถไฟธรรมดา ที่สามารถขนส่งสินค้าของจีน หรือ ขนส่งสินค้าจากประเทศอื่นไปจีน โดยไปลงที่หนองคาย รถไฟจีนลาว ก็ขนส่งต่อไปยังลาว หรือจีน ได้ นอกจากจะมีประโยชน์ต่อการค้าการขายของไทยแล้ว ประเทศ BIMSTEC ตะวันออกกลาง และยุโรป ก็ยังใช้ประโยชน์เส้นทางนี้ในการค้าขายกับจีน โดยไม่ต้องไปขนส่งผ่านสิงคโปร์ ที่เส้นทางไกลกว่า

ดังนั้นยุทธศาสตร์นี้ไทย มีแต่ได้กับได้ ขอเพียงแต่ให้เร่ง โครงการพัฒนาท่าเรือระนอง โครงการระบบรถไฟทางคู่ ให้เสร็จสมบูรณ์เท่านั้น

ดังนั้นแล้ว นี่โอกาสของไทยในการผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตมากกว่านี้ และเป็นการยกระดับการแข่งขันของประเทศ เพื่อสร้างบทบาทของไทยในฐานะศูนย์กลางการขนส่ง และศูนย์กลางเศษฐกิจโลกที่สำคัญอีกแห่ง ซึ่งจะทำให้ชาติอื่นๆเกรงใจไทยมากขึ้น และยังใช้เป็นเครื่องในการจัดการกับประเทศที่ชอบมาทำยึกยักกับไทยได้ ครับ

หากเพื่อนๆ เห็นว่า ข่าวนี้มีประโยชน์ รบกวนกดติดตาม กดถูกใจ และกดแชร์ ด้วยครับ