เริ่มก่อสร้างแล้ว! โครงการทางหลวง “ย่างกุ้งถึงกรุงเทพฯ”เริ่มก่อสร้างแล้ว!

878

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามการโครงการทางหลวงย่างกุ้ง – กรุงเทพฯกันบ้าง ซึ่งเป็น 1 ในโครงข่ายถนนของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เส้นทางนี้ จะเป็นเส้นทางที่ช่วยให้ผู้คน เดินทางระหว่างกรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง    ใช้เวลาเพียง 9  ชั่วโมง เท่านั้น  จากปกติปัจจุบันใช้เวลาถึง 16 ชั่วโมงในการเดินทาง
และโครงการนี้ยังเป็นระเบียงเศรษฐกิจ  ที่จะกระตุ้นการค้าระหว่างกับไทย กับเมียนมาร์   ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับสองในแง่ของปริมาณการค้า โดยล่าสุดสื่อเมียนมาร์ รายงานว่า โครงการมีการก่อสร้างแล้ว เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

มีรายงานจากสื่อเมียนมาร์  Myanmar Business today ว่า  เริ่มแล้วสำหรับโครงการทางหลวงย่างกุ้ง – กรุงเทพฯที่จะช่วยให้ผู้คนไปถึง  กรุงเทพฯ-ย่างกุ้ง  โดยรถประจำทางภายในเก้าชั่วโมงได้   ด้วยความช่วยเหลือทางการเงินจากธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB)  ตามข้อมูลของกระทรวงการก่อสร้าง   จากปัจจุบันใช้เวลา 16 ชั่วโมงในการเดินทาง 570 ไมล์ หรือ 917.3261 กม. จาก Thialwa(ติลาวา) ในย่างกุ้ง ไปยังกรุงเทพฯ

โดย ดร.จอว์ ลิน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการก่อสร้าง กล่าวว่า   หนึ่งในเส้นทางใหม่จะใช้เวลาขับรถสี่ชั่วโมงครึ่ง  จากเมืองติลาวาไปยังเมืองเมียวดี ชายแดนเมียนมาร์ – ไทย และอีก 4 ชั่วโมงครึ่ง   จากแม่สอดถึงประเทศไทย

โดยในการเชื่อมต่อท่าเรือติลาวา (Thilawa) กับกรุงเทพฯภายในเก้าชั่วโมง    เมียนมาร์  ได้สร้างถนนวงแหวนรอบนอกในกรุงย่างกุ้ง  เพื่อหลีกเลี่ยงการจราจรที่ติดขัด ซึ่งเริ่มจาก จากสุสานสงครามเทาเกียน   ไปยังตัวเมืองย่างกุ้ง  ซึ่งเต็มไปด้วยรถประจำทางรถยนต์และยานพาหนะ
นอกจากนี้ยังสร้างทางด่วนสายใหม่ที่เชื่อมระหว่างเมือง   Bago (พะโค)และKyaikhto ( ไจ้โท ) รวมถึงถนนวงแหวนรอบนอกในเมืองอื่น ๆ เช่น Kyaikhto, Thaton และ Belin  ( ไจ้โท สะเทิม และ บี้ลิน)
โครงการทางหลวง ย่างกุ้ง – กรุงเทพฯ  จะทำให้เกิดระเบียงเศรษฐกิจใหม่ สำหรับเมืองทางตะวันออกของย่างกุ้งเช่น Thanlyin (สิเรียม), Thonegwa(โตงคัวะ), Khayan(คะยาน), Thanatpin(ตะนะปิน), Bago (พะโค) และ Kyaikhto (ไจ้โท) ที่ช่วยให้มีการเติบโต (((( (ตันลยิน, โตนกวะ Thonegwa, คะยัน , ตะนะปีน, พะโค และไจ้โทิโย))))
ระเบียงเศรษฐกิจจะกระตุ้นการค้ากับไทย  ซึ่งเป็นคู่ค้าอันดับสองของเมียนมาร์ในแง่ของปริมาณการค้า การค้าของสองประเทศอยู่ที่ประมาณ 5.4 พันล้านดอลลาร์
นอกจากนี้จะเปิดให้ประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอื่น ๆ ได้แก่ ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ใช้ท่าเรือ Thilawa (ติลาวา)  เพื่อเข้าถึงตลาดต่างประเทศ ผ่านท่าเรือที่เมียนมาร์
ยิ่งไปกว่านั้นท่าเรือบก  เขตเศรษฐกิจและสถานที่เก็บสินค้าใหม่  จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศและสร้างงาน หากสามารถพัฒนาสองข้างถนนได้
มีรายงานเพิ่มเติมจากสื่อของเมียนม่า News Watch  ว่า  โครงการทางด่วนนี้ได้รับเงินกู้จาก ADB จำนวน 483 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  และ ตอนนี้ถนนบางสายก็จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว
นอกจากนี้ ยังมีรายงานเพิ่มเติมจาก เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการว่า สำหรับ ทางด่วนย่างกุ้ง-กรุงเทพฯ เป็น 1 ในโครงข่ายถนนของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) ที่ประเทศญี่ปุ่นพยายามผลักดันอย่างเต็มที่ ผ่านสถาบันการเงินในสังกัด ทั้ง   JICA (Japan International Cooperation Agency) กับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB)
โครงข่ายถนนของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก  หรือ EWEC เป็นเส้นทางเชื่อม 4 ประเทศ จากท่าเรือดานัง เวียดนาม ผ่านแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว เข้าไทยทางจังหวัดมุกดาหาร ผ่านขอนแก่น พิษณุโลก ตาก ข้ามชายแดนไทยที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เข้าไปยังจังหวัดเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง โดยมีปลายทางที่ท่าเรือเมาะละแหม่ง รัฐมอญ
โดยเมื่อเส้นทางจากย่างกุ้ง-พะโค-ไจก์โท สร้างเสร็จแล้ว จะไปเชื่อมเข้ากับโครงข่ายถนนถนนของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ที่เมืองเมาะละแหม่ง และต่อมายังเมืองเมียวดี เพื่อเชื่อมเข้ากับโครงข่ายถนนในประเทศไทย ที่อำเภอแม่สอด ผ่านจังหวัดตาก ลงมาถึงกรุงเทพฯ
การพัฒนาระบบคมนาคมของไทย จะเป็นการยกระดับการขนส่งคน และสินค้า  และยังสร้างความเจริญในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของไทยในเติบโตแบบก้าวกระโดด นอกจากนี้การที่ประเทศไทย ได้เปรียบในเรื่องชัยภูมิการเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค  จึงสามารถเชื่อมโยงการคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้าน กลายเป็นศูนย์กลางไปโดยอัตโมัติ  ก็จะยิ่งช่วยยกดับระดับให้เศรษฐกิจไทยเติบโตมากขึ้นไปอีก
ซึ่งนอกจากประเทศไทยเติบโตแล้ว ประเทศในย่านนี้จะมีการเติบโตไปพร้อมๆ กัน ด้วย แบบวินๆ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง   และ นอกจากจะทำให้การเดินทางสะดวกสบายแล้ว  ยังจะทำให้การค้าการค้าการขายของไทย เมียนมาร์ และชาติอาเซียน มีการขยายตัวขึ้นด้วยครับ โดยเฉพาะสินค้าไทย เป็นที่นิยมของชาวเมียนมาร์มาก   และเส้นทางนี้ยังจะเป็นโอกาสของสินค้าไทย  ที่จะส่งต่อไปยัง อินเดีย   ปากีสถาน   และตะวันออกกลาง รวมไปถึง แอฟริกา และยุโป ด้วย ครับ     และหากใคร ที่คิดไม่ออกว่าจะทำธุรกิจหรือค้าขายอะไรดี หลังวิกฤติโควิด-19   ก็ให้หันไปทางซ้ายมือของประเทศไทย  ที่นั่นคือ โอกาสมหาศาลรออยู่ ครับ