เดินหน้า! โครงการรถไฟฟ้ารางเบาภูเก็ต คาดเริ่มก่อสร้าง ปี 2566

507

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าว ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต จากที่ก่อนหน้านี้ มีข่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้รฟม.ทบทวนนำระบบรถเมล์ชิดเกาะกลาง หรือ บีอาร์ที ที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า เป็นทางเลือกเพิ่ม เพื่อลดต้นทุนโครงการ นั้น จนทำให้ชาวเน็ตวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนี้อย่างรุนแรง

ล่าสุด มีรายงานว่า โครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต จะยังคงเดินหน้าต่อ โดย สนข.ร่วมกับ รฟม. ยืนยันว่า ภายในปี 2564 จะได้เริ่มคัดเลือกผู้ร่วมลงทุน จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2566 และแล้วเสร็จใช้งานได้ปี 2569 เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

 

 

 

10 ธันวาคม 2563 มีรายงานจาก ประชาชาติธุรกิจ เกี่ยวกับ โครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ว่าที่ร้อยตรีวิกรม จากที่ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 1/2563 ในที่ประชุมได้มีการพิจารณาโครงการสำคัญหลากหลายโครงการ

โดยโครงการรถไฟฟ้ารางเบาจังหวัดภูเก็ต มีผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และผู้แทนจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ชี้แจงความคืบหน้าว่า ขณะนี้ทาง รฟม.ได้รับผลการศึกษาและงานออกแบบที่ สนข.ดำเนินการเสร็จแล้ว โดยมีการปรับปรุงรูปแบบให้สอดรับกับสภาพพื้นที่ที่เปลี่ยนแปลงไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาผู้ร่วมลงทุน

โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มประสิทธิภาพอำนวยความสะดวกให้เกิดความปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ภูเก็ตเป็นเมืองต้นแบบ smart city โดยโครงการรถไฟฟ้ารางเบามีระยะทาง 58.8 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 24 สถานี

แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 จากท่าอากาศยานภูเก็ตถึงห้าแยกฉลอง ระยะทาง 41.7 กิโลเมตร จำนวนสถานี 21 สถานี ระยะที่ 2 จากบ้านท่านุ่นถึงบ้านเมืองใหม่ ระยะทาง 11.1 กิโลเมตร จำนวนสถานี 3 สถานี

ทั้งนี้ รฟม. ได้ศึกษาวิเคราะห์ให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐปี 2562 แล้ว จะต้องนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบในรูปแบบที่ศึกษาไว้ ซึ่งภายในปี 2564 จะได้เริ่มคัดเลือกผู้ร่วมลงทุน คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2566 และแล้วเสร็จใช้งานได้ปี 2569

การสร้างโครงการรถไฟฟ้าในภูเก็ต นับว่ามีความสำคัญ ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยว ในเมืองท่องเที่ยวระดับโลกแห่งนี้ และเป็นแหล่งรายได้จากการท่องเที่ยวอันดับสองรองจาก กรุงเทพแล้ว แล้ว

โครงการรถไฟฟ้า ยังเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นความเชื่อมั่นในการลงทุนและกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่นี้ ที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโควิด-19 และยังจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของเมืองระดับโลกอย่างแท้จริง ดังนั้นการลงทุนโครงการนี้ ประเทศไทยโดยรวมจึงมีแต่ได้กับได้ ครับ