รฟม.รับลูก!! ชงเคาะ”BRT -รถรางไฟฟ้าล้อยาง”ภูเก็ต

456

 

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต หลังจากกระทรวงคมนาคม โดยรัฐมนตรีว่าการ สนใจเปลี่ยนจากแทรมป์ ไปเป็นรถโดยสารด่วนพิเศษไฟฟ้า ( BRT) ล่าสุด บอร์ด รฟม.ได้รับลูก ได้พิจารณาเพิ่มเติม 2 รูปแบบ คือ ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง (รถแทรมป์) และ รถโดยสารด่วนพิเศษไฟฟ้า ( BRT) และเตรียมเสนอต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป ซึ่งถ้าหากโอเค จะทำให้โครงการล่าช้าจากแผนเดิมประมาณ 1 ปี เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

หลังจากนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เล็งลดต้นทุนในการดำเนินงาน โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต โดยมีกระแสข่าวว่า สนใจรถโดยสารด่วนพิเศษไฟฟ้า ( BRT) ในช่วงที่ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดภูเก็ต เมื่อไม่นานมานี้ นั้น
ล่าสุด เมื่อ 18 พ.ย.2563 การประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)รฟม. ที่มีนายสราวุธ ทรงศิวิไล เป็นประธาน ที่ประชุมได้รับทราบรายงานผลการศึกษาเบื้องต้นทางเลือกโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต – ห้าแยกฉลอง ระยะทางรวม 41.7 กม. เพิ่มเติม 2 รูปแบบ คือ ระบบรถรางไฟฟ้าล้อยาง (รถแทรมป์) และ รถโดยสารด่วนพิเศษไฟฟ้า ( BRT) โดยจะนำรายงานต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป
โดยการศึกษาเบื้องต้นมี 2 รูปแบบ
คือ 1.รถรางแบบล้อยาง มีข้อดีเรื่องวงเลี้ยว แต่ข้อเสียสามารถเกิดยางระเบิดได้ง่าย หากวิ่งบนสภาพื้นที่มีอากาศร้อน อาจจะไม่เหมาะกับประเทศไทย ในตลาดมีผู้ผลิตน้อยราย ดังนั้นจะส่งผลให้มูลค่าลงทุนเพิ่มจากระบบเดิม 35,201 ล้านบาท เป็น 37,000 ล้านบาท

2.รถบีอาร์ที ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า ต้นทุนจะถูกว่าระบบเดิมประมาณ 30% อยู่ที่ประมาณ 30,000 ล้านบาท แต่จำนวนขบวนรถจะต้องซื้อเพิ่มจากเดิม 22 ขบวน เป็น 44 ขบวน เนื่องจากขบวนรถบีอาร์ทีสั้นจุผู้โดยสารได้น้อยกว่า แต่ไม่ต้องวิ่งบนราง และต้องสร้างสถานีชาร์จไฟฟ้าเพิ่มขึ้น
โดยบอร์ด ได้มอบหมายให้ รฟม.นำผลศึกษาเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาเพิ่มเติมจากเดิมที่เสนอโครงการไปแล้ว หากเห็นกระทรวงเห็นด้วยกับผลศึกษาที่ส่งเพิ่มไปและเลือกว่าจะใช้ระบบไหน
ต่อจากนั้น รฟม.ต้องกลับมาศึกษารูปแบบ PPP ใหม่ ซึ่งหากนโยบายให้สร้างเป็นระบบบีอาร์ทีไฟฟ้า รัฐจะได้ผลตอบแทนสูงกว่าเดิม 2 เท่า และค่าโดยสารจะถูกลง รวมถึงทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ใหม่ด้วยเช่นกัน คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการประมาณ 6-8 เดือน ทำให้โครงการล่าช้าจากแผนเดิมประมาณ 1 ปี เริ่มประมูลปี 2566 เริ่มสร้างปี 2567 และเปิดบริการในปี 2570
จากการสำรวจของมาสเตอร์การ์ดเมื่อปี 2561 ภูเก็ตติด 1 ใน 10 เมืองของโลก ที่นักท่องเที่ยวเลือกที่จะเดินทางมาพักผ่อน และพบว่านักท่องเที่ยวชาวจีนนิยมเดินทางมาเที่ยวพักผ่อนที่ภูเก็ตมากที่สุด โดยนักท่องเที่ยวจะใช้เงินคนละประมาณ 4,700 บาท
และจากตัวเลขของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ปี 2016 จังหวัดภูเก็ต ทำรายได้ไปถึง 377,878 ล้านบาท เป็นอันดับ 2 รองจาก กรุงเทพมหานคร ที่สามารถทำรายได้จากการท่องเที่ยวกว่า 946,451 ล้านบาท
ดังนั้นแล้ว กับเหตุผลการลดต้นทุนในการดำเนินงาน เพื่อเปลี่ยนรถแทรมป์มาเป็นรถโดยสารด่วนพิเศษไฟฟ้า ( BRT) ในจังหวัดภูเก็ต ท่านทั้งหลายช่วยพิจารณาว่า เราควรจะลดต้นทุนในส่วนไหนก่อนดี