ไทยจีบญี่ปุ่นดันโครงการ Land Bridge เชื่อมอันดามัน-อ่าวไทย

611

 

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าว การประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 12 ผ่านระบบการประชุมทางไกล กันบ้าง โดยนายกรัฐมนตรีของไทย เน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศในลักษณะพหุภาคีและความเป็นหุ้นส่วนกัน พร้อมกันนี้ยังเชิญชวนญึ่ปุ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการฯต่างๆ  โดยเฉพาะโครงการ Land Bridge ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน 2563 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เข้าร่วมการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 12 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนจาก เวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมา ไทย และนายซูกะ โยชิฮิเดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เข้าร่วมด้วย

ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศในลักษณะพหุภาคีและความเป็นหุ้นส่วนกัน เพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 และฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และอนุภูมิภาค โดยสิ่งที่ควรเร่งดำเนินการมากที่สุด คือการเร่งการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้รวดเร็วและยั่งยืนโดยใช้วิกฤตโควิด-19 เป็นโอกาสในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจใหม่ และยกระดับมาตรฐานในทุกด้าน ทั้งด้านความมั่นคงของมนุษย์ และด้านโครงสร้างพื้นฐานและการประกอบธุรกิจ

การสร้างความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้ไร้รอยต่อ ยืดหยุ่น และยั่งยืน โดยไทยให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานในอนุภูมิภาคผ่านโครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ โครงการสะพานไทย ซึ่งเชื่อมโยง EEC กับเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) และ โครงการ Land Bridge ซึ่งเชื่อมโยงถนนระหว่างท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย ซึ่งญี่ปุ่นสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการฯ ดังกล่าวได้ รวมทั้ง ความสำคัญของความเชื่อมโยงทางกฎระเบียบและความเชื่อมโยงทางดิจิทัล โดยสนับสนุนให้กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นจัดทำแผนแม่บทการส่งเสริมการเชื่อมโยงดังกล่าว

 

นายกรัฐมนตรีของไทย กล่าวอีกว่า การส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการพัฒนาระดับรากหญ้าในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพร่วมกับญี่ปุ่นในการจัดเวทีหารือกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่นเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ครั้งที่ 1 ณ ประเทศไทย เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และแบ่งปันประสบการณ์เพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ด้านระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นแนวนโยบายที่ไทยใช้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนแบบไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
โครงการ Land Bridge ซึ่งเชื่อมโยงถนนระหว่างท่าเรือน้ำลึกฝั่งทะเลอันดามันกับอ่าวไทย เป็นโครงการสำคัญ ซึ่งขณะนั้กำลังอยู่ในขั้นเตรียมการศึกษา โดยคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 15 ก.ย.63 ได้อนุมัติงบประมาณ วงเงิน 68 ล้านบาท   เพื่อให้สํานักงานนโยบาย และแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดําเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model) ทั้งนี้คาดว่าจะมีการลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาได้ในเดือน พ.ย.นี้ ใช้เวลาศึกษาโครงการ 30 เดือน กําหนดแล้วเสร็จเดือน พ.ค.2566

ตามแนวคิดกระทรวงคมนาคม โครงการ Land bridge จะเป็นการขยายขีดความสามารถการพัฒนาทางเศรษฐกิจของพื้นที่ภาคใต้ของประเทศด้วยที่ตั้งที่เป็นยุทธศาสตร์การค้าโลก สามารถเชื่อมประเทศไทย อาเซียน จีน อินเดีย ตลอดจนเชื่อมโยงประเทศกลุ่มประเทศตะวันออกไกล เข้ากับกลุ่มประ เทศตะวันออกกลาง และสหภาพยุโรปให้สะดวกยิ่งขึ้น

ซึ่งการดึงญี่ปุ่นเข้า ร่วม นอกจากจะมีผลดีในแง่เทคโนโลยีและเงินทุนแล้ว ยังเป็นสร้างแนวร่วมจากฝ่ายที่ต้านจีน โดยเฉพาะมหาอำนาจทั้งหลาย เพราะที่ผ่านมามีทุนจีนพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการต่างๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็นการขุดคลองไทย ที่ชะลอไปแล้ว และโครงการ Land bridge ที่กำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้

ดังนั้นน่าจะลองเปลี่ยนตัวละครใหม่ จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ

หรือถ้าหากสามารถประสานผลประโยชน์ระหว่างตัวละครใหม่ๆเหล่านี้ กับ จีน เพื่อหาประโยชน์จากโครงการ 1 แถบ 1 เส้นทาง ก็นับว่า ยิ่งโอกาสความเป็นไปได้ของโครงการมากขึ้น และหากร่วมมืกันได้ความเป็นศัตรูของประเทศใหญ่เหล่าก็จะได้ลดลง คุยกันง่ายขึ้น

ซึ่งถ้าทำได้ ก็จะทำให้ความเป็นไปได้ของโครงเมกะโปรเจกต์ ของไทย จะเป็นรูปธรรมมากกว่านี้ ครับ