สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาย้อนดูช่วงเวลายุคทองของการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางสมัยใหม่ของไทยก่อนหน้านี้กันบ้าง ก็คือ ในช่วงยุค นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ” อดีตรมว.คมนาคม ที่ถือได้ว่าเป็นช่วงยุคทองแห่งการพัฒนาระบบรางของไทย ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ตลอดช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่งคือ ดำรงตำแหน่ง คือ ช่วงปี 2558 – 2562
โดยเป็นผู้มีส่วนสำคัญในแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล ที่กำหนดเป็นเต็มรูปแบบไว้ 8 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2558-2565 ครอบคลุมทั้งระบบถนน น้ำ ราง และอากาศ
โดยเฉพาะระบบรางได้ผลักดันโครงการระบบรางเด่นๆ ออกมาไม่น้อยกว่า 15 โครงการ ทั้งโครงการรถไฟฟ้า รถไฟทางคู่รถ และรถไฟความเร็วสูง
รวมทั้งโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ จนทำให้เพื่อนบ้านอาเซียน อย่างเวียดนาม และมาเลเซีย นั่งไม่ติด ออกข่าวความก้าวหน้าการพัฒนาระบบรางของไทยกันอย่างครึกโครม เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ
ในระยะนี้เห็นชาวโซเชียลกล่าวถึงบ่อยๆ กับนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคมคนก่อนหน้านี้กันบ่อยๆ ในฐานะผู้ที่มีผลงานด้านโดดเด่นในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
โดยเฉพาะการพัฒนาระบบราง ที่เห็นชัดที่สุดคือ โครงการสถานีกลางบางซื่อที่มีการก่อสร้างได้อย่างรวดเร็วมาก จนกลายเป็นเรื่องฮือฮากันในประเทศอาเซียน โดยเฉพาะในเวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย มีการกล่าวถึงเรื่องนี้อย่างยกใหญ่
ประวัติของรัฐมนตรีท่านนี้ เป็นคนจังหวัดศรีสะเกษ ที่ได้เข้ามาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ และได้รับแรงบันดาลใจจากที่ต้องรถทางด้วยรถไฟ แต่เจอกับสภาพกับรถที่แน่น จนบางครั้งต้องยืนไปตลอดกว่าจะถึงบ้าน หรือ บางครั้งต้องนอนไปพื้นสกปรก และทำให้ นายอาคม คิดว่า สักวันหนึ่งหากมีโอกาสจะต้องปรับปรุงรถไฟให้ได้
และแล้ว ฝันก็กลายเป็นจริง เมื่อ นายอาคม ได้นั่งเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ต่อมาได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม” และดำรงตำแหน่งนี้ ตั้งแต่พ.ศ. 2558 –พ.ศ. 2562
เมื่อนายอาคม ได้มานั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้เดินหน้าแผนการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยที่กำหนดเป็นเต็มรูปแบบไว้ 8 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2558-2565 ครอบคลุมทั้งระบบถนน น้ำ ราง และอากาศ
โดยหลังเข้ารับตำแหน่งเข้ารับตำแหน่ง รมว.คมนาคม ได้รีบนำเข้าสู่แผนปฏิบัติการลงทุนระยะเร่งด่วนปี 2558-2559 ซึ่งนับรวมแล้วมีถึง 21 โครงการ โดยแบ่งเป็นทางถนน 3 โครงการ ทางอากาศ 1 โครงการ ทางน้ำ 2 โครงการ และระบบราง 15 โครงการ
และในระหว่างการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตั้งแต่ พ.ศ. 2558 –พ.ศ. 2562 การดำเนินการระบบราง มีผลงานที่โดดเด่น และเดินหน้าได้อย่างรวด มีทั้ง โครงการรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้า และรถไฟความเร็วสูง เร็ว รวมทั้งมีส่วนสำคัญในยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)
ซึ่งความสำเร็จนี้ อาจจะเป็นเพราะมีตัวช่วย คือ ม.44 แต่นั่นไม่ได้เป็นปัจจัยทั้งหมด เพราะขึ้นอยู่กับความมุ่งมั่นของนายอาคมด้วย เพราะหากติดตามทางหน้าสื่อจะเห็นว่ารัฐมนตรีท่านนี้จะติดตามโครงการ และลงพื้นที่อย่างต่อเนื่อง นี่จึงน่าจะเป็นสาเหตุสำคัญทำให้โครงการมีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว
ประเทศไทย เป็นประเทศมีภูมิรัฐศาสตร์ที่ดีมาก เพราะติด 2 มหาสมุทร คือ มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก มีทั้งทะเลและภูเขา สภาพอากาศไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาก ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของอาเซียน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ความมั่งคั่งจากทั่วโลกกำลังหลั่งไหลมาที่นี้ ขอเพียงประเทศไทยสร้างระบบสาธารณูโภครอให้พร้อม โดยเฉพาะระบบราง เท่านี้ความมั่งคั่งจะหลั่งไหลมาเอง ไม่ต้องทำอะไรมากเหมือนประเทศอื่นๆ
ดังนั้นช่วงเวลานี้จึงเป็น ช่วงน้ำขึ้นให้รีบตัก อย่างที่โบราณว่าไว้ ด้วยเหตุนี้อย่าว่าแต่ต้องรอเป็น 2-3 ปี เลย ช้าไปแค่เสี้ยวนาทีก็ถือว่าประเทศไทยเสียโอกาสทางธุรกิจอย่างมหาศาลแล้วครับ