สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาอัพเดท โครงการรถไฟความเร็วสูง ของไทยกันบ้าง
ซึ่งตามแผนโครงการนี้ของไทยมีทั้งหมด 4 สาย คือ สายเหนือ, สายตะวันออก, สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้
โดยมีการก่อสร้างออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยาวยาว แต่ที่คืบหน้ามากที่สุดตอนนี้ก็คือ สายตะวันออก ช่วง ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา และสายตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ รถไฟไทยจีน ช่วง กรุงเทพ – นครราชสีมา
ซึ่งหากสามารถเดินได้ตามแผน จะทำให้ประเทศไทย กลายเป็นศูนย์กลางรถไฟความเร็วสูงในย่านอาเซียน ไปโดยอัตโนมัติ เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ
รถไฟความเร็วสูง เป็นอีก 1 ในยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 20 ปี คือ พ.ศ. 2560-2579 โดยแผนพัฒนารถไฟความเร็วสูง (High Speed Rail) มีเป้าหมายในการก่อสร้าง 4 สาย ได้แก่ สายเหนือ, สายตะวันออก, สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้
โดยแบ่งเป็น 3 ระยะคือ ระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยาว ดังนี้
ระยะเร่งด่วน มี 4 เส้น ระยะทางทางรวม 1,248 กม. ดังนี้1.สายตะวันออกเฉียงเหนือ -กรุงเทพ – นครราชสีมา ระยะทาง: 253 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน: วงเงิน 179,413 ล้านบาท ความคืบหน้าล่าสุด เตรียมลงนามกับจีน ร่างสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ภายในเดือนต.ค. 2563
โดยโครงการนี้ เริ่มการก่อสร้างงานโยธาเมื่อปี 2561 และกำหนดแล้วเสร็จในปี 2568 -ช่วง นครราชสีมา – หนองคาย ระยะทาง: 355 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน: วงเงิน 226,340 ล้านบาท เตรียมจัดจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียด ตามแผนจะเปิดใช้งาน พ.ศ. 2570
2.สายตะวันออก แบ่งเป็น ระยะที่1 ช่วง ท่าอากาศยานดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา (เชื่อมต่อ 3 สนามบิน) ระยะทาง: ประมาณ 220 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุนรวม: 224,544.36 ล้านบาท ความคืบหน้าอยู่ระหว่างการส่งมอบพื้นที่ คาดเดือนมกราคม – กุมภาพันธ์2564 จะสรุปจบ และจะเดินหน้าตอกเสาเข็มลงมือก่อสร้างต่อไป ตามแผนเปิดใช้งาน: ภายใน พ.ศ.2566 ระยะที่ 2 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา – ระยอง ระยะทาง 40 กม.มูลค่าการลงทุนรวมยังไม่กำหนด การเปิดใช้งานยังไม่กำหนด และอยู่ระหว่างการศึกษาเส้นทางเดินรถ
3.โครงการถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ -ช่วง กรุงเทพ – พิษณุโลก ระยะทาง: 380 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน: วงเงิน 212,892 ล้านบาท อยู่ในขั้นหารือรูปแบบการลงทุน ตามแผนจะเปิดใช้งาน: พ.ศ. 2568
แผนระยะกลาง ระยะทางทางรวม 499 กม.1.สายใต้ -ช่วง กรุงเทพ – หัวหิน ระยะทาง: 211 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน: ประมาณ 101,880 ล้านบาท อยู่ในขั้นตอนพิจารณา EIA และจัดทำรายงาน PPP ตามแผนจะเปิดใช้งาน: พ.ศ. 25752.สายเหนือ -ช่วง พิษณุโลก – เชียงใหม่ ระยะทาง: 288 กิโลเมตร มูลค่าการลงทุน: วงเงิน 232,411 ล้านบาท อยู่ระหว่างออกแบบกรอบราละเอียด ตามแผนจะเปิดใช้งาน: พ.ศ. 2572
แผนระยะยาว ระยะทางรวม 759 กม.สายใต้ 1.ช่วง หัวหิน – สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 424 กม. ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น ยังไม่กำหนดการเปิดใช้งาน 2.สุราษฎร์ธานี – ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 335 กม. ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น ยังไม่กำหนดเปิดใช้งาน โครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย มีเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจ และเชื่อมโยงตลาดการค้า ระหว่างกลุ่มประเทศแถบลุ่มแม่น้ำโขง เนื่องจากประเทศไทยถือเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน
หากสร้างแล้วเสร็จ นอกจากจะมีความสำคัญในแง่การเป็นศูนย์ระบบโลจิสติกส์ของอาเซียนแล้ว ยังจะเป็นโอกาสในการเป็นศูนย์ของอุตสาหกรรมราง ระดับโลกอีกด้วย เหมือนที่ประสบความสำเร็จจากอุตหกรรมยานยนต์ มาแล้วครับ