เปิดรูปแบบ 6 สถานีรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

1340

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามรูปแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน  ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา กันบ้าง ที่ล่าสุด การรถไฟ ได้มีการเผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับรูปแบบของสถานีรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้
ซึ่งมีอยู่จำนวน 6 สถานี   และตามแผนแล้วคาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดเดินรถในปี 2568  เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

 

โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีน  ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา  เป็นอีกโครงการที่จะพัฒนาระบบการขนส่งทางรางของไทยให้มีความก้าวหน้า  โดยโครงการนี้ ตามแผนแล้วคาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดเดินรถในปี 2568
ส่วนความคืบหน้าของโครงการ ในส่วนของรูปแบบสถานีนั้น  ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย  ได้เผยแพร่รูปแบบของสถานีซึ่งมีทั้งหมด 6 สถานี มีรายละเอียดดังนี้
1.สถานีกลางบางซื่อ  ชั้นใต้ดิน  เป็นที่จอดรถ ประมาณ 1700 คัน            ชั้นที่ 1   ร้านจำหน่ายตั๋ว   เป็นห้องโถงผู้โดยสาร  พื้นที่พาณิชยกรรม และร้านค้า สามารถเชื่อมต่อรถไฟใต้ดิน MRT  ชั้น 2  ชั้นชานชาลารถไฟทางไกล และชานชาลารองรับรถไฟชานเมืองสายสีแดง จำนวน 12 ชานชาลา ชั้นที่ 3 ชั้นชานชาลารถไฟความเร็วสูง 12 ชานชาลา
2 สถานีดอนเมือง มี 4 ชั้นประกอบด้วย   ชั้นที่ 1 ถนนและพื้นที่จอดรถ  ชั้นที่ 2 ชั้นจำหน่ายตั๋วและโถงผู้โดยสาร แยก 3 จุดแต่ละประเภทรถ  ชั้นที่ 3 ชั้นชานชาลารถไฟทางไกล และชานชาลารถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน  ชั้นที่ 4 ชั้นชานชาลา รถไฟชานเมืองสายสีแดง และชานชาลารถไฟความเร็วสูงไทยจีน
3 สถานีอยุธยา  ชั้นที่ 1 ชั้นทางเข้าอาคาร ชานชาลารถไฟทางไกล และรถไฟสายสีแดง  ชั้นที่ 2 ชั้นจำหน่ายตั๋ว และพื้นที่พักคอยผู้โดยสาร  ชั้นที่ 3 ชั้นชานชาลารถไฟความเร็วสูงไทยจีน
4 สถานีสระบุรี  ชั้นที่ 1 ชั้นทางเข้าอาคาร และชั้นชานชาลารถไฟทางไกล  ชั้นที่ 2 ชั้นจำหน่ายตั๋ว และและชั้นเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสาร  ชั้นที่ 3 ชั้นจำหน่ายตั๋วรถไฟไทยจีน และพื้นที่พักคอยผู้โดยสาร  ชั้นที่ 4 ชั้นชานชาลารถไฟความเร็วสูงไทยจีน
5 สถานีปากช่อง  ชั้นที่ 1 พื้นที่จอดรถ  ชั้นที่ 2 ชั้นทางเข้าอาคาร และพื้นที่พาณิชยกรรม  ชั้นที่ 3 ชั้นจำหน่ายตั๋วและพื้นที่พักคอยผู้โดยสาร  ชั้นที่ 4 ชั้นชานชาลารถไฟความเร็วสูงไทยจีน
และ 6 สถานีนครราชสีมา  ชั้นที่ 1 ชั้นทางเข้าอาคาร จำหน่ายตั๋วและพื้นที่พักคอยผู้โดยสาร  ชั้นที่ 2 ชั้นชานชาลารถไฟทางไกล  ชั้นที่ 3 ชั้นชานชาลารถไฟความเร็วสูงไทยจีน
โดยแนวเส้นทางของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมานี้  เริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อ วิ่งตรงไปทางทิศเหนือในเส้นทางเดียวกับรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
จากนั้นวิ่งตรงไปตามแนวทางรถไฟสายเหนือไปจนถึงชุมทางบ้านภาชี แนวเส้นทางจะเบี่ยงไปใช้แนวเส้นทางรถไฟสายอีสานไปตลอดทางจนถึงสถานีแก่งคอย ซึ่งจะเป็นสถานีชุมทางที่แยกสายไปเชื่อมต่อเข้ากับสายตะวันออกที่สถานีฉะเชิงเทรา
จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและสิ้นสุดเส้นทางในระยะแยกที่สถานีนครราชสีมา ซึ่งตั้งอยู่บริเวณสถานีรถไฟนครราชสีมาเดิม รวมระยะทางในช่วงแรก 253 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 30 นาทีจากกรุงเทพมหานคร
โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและจีน  เป็นโครงการที่คาดว่าจะก่อประโยชน์ให้กับประเทสไทยอย่างมาก

นอกจากจะช่วยสร้างความสะดวกสบายให้กับประชาชนในการเดินทาง ก็ยังช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยว และเศรษฐกิจ ในพื้นที่ ที่โครงการตัดผ่าน
และจะเกิดผลต่อเศรษฐกิจโดยรวม อันจะนำพาประเทศไทย หนีกับดักรายได้ระดับกลาง ไปยืนอยู่ในระดับหัวแถวของเอเชีย และระดับโลกครับ