สุดยอด! การขุดเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าสายสีส้ม

472

 

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) กันบ้าง

ที่ล่าสุด บมจ. อิตาเลียนไทย ได้เผยภาพ ทำการขุดเจาะอุโมงค์ แบบเต็มประสิทธิภาพ ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) สัญญาที่ 3 ซึ่งจะทำให้การขุดเจาะอุโมงค์ทำได้รวดเร็วขึ้น

ส่วนความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธาในภาพรวมของโครงการ คิดเป็นร้อยละ 60.60 และมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567 เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

27 พฤษภาคม 2563 มีรายงานจาก บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตะวันออก) สัญญาที่ 3 เริ่มทำการขุดเจาะอุโมงค์ แบบเต็มประสิทธิภาพ (Main Drive) อีกครั้ง หลังจากได้หยุดเจาะอุโมงค์ไปชั่วคราว เพื่อปรับเปลี่ยนระบบ การขุดเจาะจากแบบ Initial Drive กลับมาเป็นแบบเต็มประสิทธิภาพ (Main Drive)

ในการขุดเจาะอุโมงค์แบบเต็มประสิทธิภาพ (Main Drive) นี้เป็นการนำเอาระบบสนับสนุนการขุดเจาะต่างๆ (Backup Units) เข้าไปติดตั้งในอุโมงค์หลังจากขุดเจาะไปได้ความยาวประมาณ 100 ม. แล้ว ซึ่งเป็นวิธีที่จะทำให้การขุดเจาะอุโมงค์ทำได้รวดเร็วขึ้น

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี ระบุว่า ณ สิ้นเดือนเมษายน 2563 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้าการก่อสร้างงานโยธาในภาพรวม คิดเป็นร้อยละ 60.60 และมีกำหนดเปิดให้บริการในปี 2567

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบรถไฟฟ้าแบบใต้ดินและแบบยกระดับ/ มีระยะทางประมาณ 22.57 กิโลเมตร โดยแนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นเป็นแบบใต้ดินจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน) ตัดเข้าพื้นที่ของ รฟม. วิ่งใต้แนวถนนพระราม 9 ลอดใต้ทางพิเศษสายฉลองรัฐ (ทางด่วนสายรามอินทรา – อาจณรงค์) เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกพระราม 9 ไปตามแนวถนนรามคำแหง ผ่านสี่แยกลำสาลี แนวเส้นทางเปลี่ยนเป็นแบบยกระดับ บริเวณใกล้หมู่บ้านสัมมากร ข้ามแนวถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดบริเวณแยกถนนรามคำแหงตัดกับถนนสุวินทวงศ์

ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ประกอบด้วยสถานีใต้ดิน 10 สถานี, สถานียกระดับ 7 สถานี, ปล่องระบายอากาศระหว่างสถานีและอาคารระบายอากาศ รวม 11 แห่ง, อาคารศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฯ ถือเป็นโครงการรถไฟฟ้าสายแรกที่เชื่อมโยงกรุงเทพฝั่งตะวันออกสู่ใจกลางเมือง ทั้งยังเป็นเส้นทางที่จะเติมเต็มโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ด้วยรูปแบบการเดินทางหลักที่สร้างความสะดวกสบายให้กับประชาชน ส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ที่สำคัญยังช่วยแก้ไขปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ และปริมณฑลได้อย่างยั่งยืนต่อไป ครับ