อวดโฉมสถานีรถไฟฟ้าสายสีทอง

488

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามความคืบหน้า โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง (รถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วง กรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน) กันอีกครั้ง

ที่ก่อนหน้านี้ บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด เปิดเผยว่า คืบหน้าแล้ว 86% และล่าสุด ได้เผยภาพความก้าวหน้าของโครงการที่มีความคืบหน้าไปมาก แม้จะอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19

ทั้งนี้ ขบวนรถไฟฟ้าสายสีทอง จะถูกจัดส่งมาถึงประเทศไทยในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จากนั้น จะทดสอบการเดินรถเสมือนจริงในเดือนกันยายน ก่อนเปิดให้บริการในช่วงเดือนตุลาคม 2563 นี้ เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

สำหรับความคืบหน้าโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง (รถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วง กรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน) ล่าสุด 9 พ.ค.63 บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ได้เผยภาพความคืบหน้าโครงการ ทั้งสถานี ระบบราง และโรงซ่อมรถ ซึ่งมีความก้าวหน้าจนน่าแปลกใจ ทั้งที่อยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ระบาด จากที่ก่อนหน้ามีความกังวลว่า จะทำให้โครงการนี้มีความล่าช้าหรือไม่

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 22 เม.ย.63 บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ได้รายงานความก้าวหน้าของโครงการ รถไฟฟ้าสายสีทอง ช่วง กรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน ว่ามีความก้าวหน้าโดยรวม 86% แบ่งออกเป็นความก้าวหน้างานโยธา 91% และความก้าวหน้างานระบบการเดินรถ 79%

ส่วนขบวนรถไฟฟ้าสายสีทอง รุ่น Bombardier Innovia APM 300 จะถูกจัดส่งมาถึงประเทศไทยในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จากนั้นจะมีการทดสอบระบบในช่วงเดือนมิถุนายน และทดสอบการเดินรถเสมือนจริง (Trial Running) ในเดือนกันยายน ก่อนเปิดให้บริการในช่วงเดือนตุลาคม 2563 นี้

สำหรับโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดำเนินโครงการและทางกรุงเทพมหานครได้มอบหมายให้บริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งเป็นวิสาหกิจของกรุงเทพมหานครเป็นผู้รับหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาโครงการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 โดยมีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างงานโยธา

แนวเส้นทางโครงการในการพัฒนาโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง แบ่งออกเป็น 2 ระยะ

-ระยะที่ 1 ประกอบด้วย 3 สถานี ระยะทาง 1.74 กิโลเมตร แนวเส้นทางจากสถานีรถไฟฟ้า BTS กรุงธนบุรี ไปทางทิศตะวันออกตามแนวเส้นทางคู่ขนานของถนนกรุงธนบุรี เลี้ยวซ้ายขึ้นทางทิศเหนือไปตามแนวถนนเจริญนครผ่านแยกคลองสาน ไปสิ้นสุดที่ถนนสมเด็จเจ้าพระยาที่บริเวณหน้าโรงพยาบาลตากสิน
-ระยะที่ 2 ประกอบด้วย 1 สถานี ความยาวทางวิ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 0.88 กิโลเมตร

ระบบรถไฟฟ้าที่ใช้เป็นรถไฟฟ้ารางเบารูปแบบไร้คนขับโดยใช้รางนำทาง มีผิวสัมผัสระหว่างล้อและทางวิ่งเป็นยาง ซึ่งจะทำให้เกิดความนุ่มนวลและก่อให้เกิดเสียงรบกวนต่ำเมื่อเทียบกับระบบอื่น อีกทั้งมีมาตรฐานด้านความปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยโมเดลที่ใช้เป็นรุ่น Bombardier Innovia APM 300 จำนวน 3 ขบวน ขบวนละ 2 ตู้ รองรับผู้โดยสารได้ 4,000-12,000 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง

โครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรอง สายสีทอง (สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี-สำนักงานเขตคลองสาน-ประชาธิปก) เชื่อมต่อโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนสายหลักในพื้นที่โครงการ 3 เส้นทาง ได้แก่
1.รถไฟฟ้าสายสีเขียว (รถไฟฟ้า BTS สายสีลม)
2.รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
3.รถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงหัวลำโพง-บางบอน-มหาชัย

โดยประโยชน์ของโครงการ คาดว่า จะช่วยลดผลกระทบด้านการจราจร โดยเฉพาะ จะเป็นส่วนสำคัญในการป้อนผู้โดยสารเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้าหลักที่สถานีกรุงธนบุรี

นอกจากนี้ จะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้ทัดเทียมประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการแก้ปัญหาการจราจรอย่างยั่งยืน

ก็อดใจรอกันอีกนิดหนึ่งครับ โดยขบวนรถไฟฟ้าสายสีทอง รุ่น Bombardier Innovia APM 300 จะถูกจัดส่งมาถึงประเทศไทยในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม และจะเปิดให้บริการในช่วงเดือนตุลาคม 2563 นี้ ครับ