อัพเดท! เร่งเคลียร์พื้นที่สร้างรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน

424

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าว ความคืบหน้าการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินกันบ้าง ที่ล่าสุด ได้มีการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่ฯเป็นครั้งที่ 4 แล้ว  โดยที่ประชุมให้หน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคที่ได้รับจัดสรรงบประมาณงบกลางฯ เร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน  เช่น   บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด   ในขณะการรถไฟฯ ได้เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่าจะทยอยส่งมอบพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน โดยช่วงพญาไท-ดอนเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่   ที่ยังไม่พร้อมส่งมอบเนื่องจากมีปัญหาหลายอย่าง  แต่ก็คาดว่าจะใช้เวลาทยอยส่งมอบเสร็จภายใน 2 ปี  โดยกระทรวงคมนาคม มั่นใจส่งมอบพื้นที่ได้ทันตามกรอบเวลาที่วางไว้

ทั้งนี้ ตามกำหนด โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน  จะแล้วเสร็จในปี 2566 ไปติดตามกันครับ

 

หลังโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่ากว่า 2.2 แสนล้านบาท ได้เซ็นสัญญาการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทบย (ร.ฟ.ท.) กับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562

 

และภายหลังการเซ็นสัญญา  นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะผู้แทนกลุ่ม CPH  ได้ยืนยันว่า   จะเดินหน้าอย่างเต็มที่เพื่อให้การก่อสร้างแล้วเสร็จภายใน 5 ปี หรือสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2566 ตามเป้าหมาย นั่น

 

 

โดยความคืบหน้าเรื่องนี้  เมื่อ   4 มีนาคม 2563   นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภคโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ครั้งที่ 2/2563 (ครั้งที่4)     ที่ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม

 

โดยที่ประชุมให้หน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคที่ได้รับจัดสรรงบประมาณงบกลางฯ เร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน เห็นชอบ แนวทางการดำเนินงานที่บริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ และบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (Thappline) ออกแบบโครงสร้างพิเศษหลบท่อน้ำมัน

 

และเห็นชอบแนวทางการดำเนินงานและกรอบระยะเวลาของ  ของ บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT)    ในการรื้อย้ายท่อน้ำมันไปทางทิศตะวันตกของเขตทางรถไฟ โดย  บริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT)  ขอให้ รฟท. ช่วยกำหนดจุดแนวการวางท่อช่วงบางซื่อและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด

 

เห็นชอบแนวเส้นทางเข้าออสนามบินสุวรรณภูมิตามข้อเสนอของบริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ และให้บริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ พิจารณาเหตุผลความจำเป็นตามหลักวิศวกรรมและการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อสร้างทาง และสิ่งจำเป็นตามโครงการฯ โดยละเอียด ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 16 มีนาคม 2563 เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการเวนคืนต่อไป

 

นอกจากนี้ เห็นชอบแผนการดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภคของค่ายลูกเสือวชิรวุธ โดยให้    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กฟภ.เป็นผู้ดำเนินงานแทน ให้รับมอบอำนาจในการปรับปรุงและรื้อย้ายเสาไฟฟ้าแรงสูงและสายไฟ

 

พร้อมทั้งแผน แผนการรื้อย้ายสาธารณูปโภคของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ จำนวน 10 จุด ทั้งนี้ หากมีรายละเอียดเพิ่มเติมให้ตรวจสอบและรายงานคณะกรรมการทราบอีกครั้ง

โดย ปลัดกระทรวงคมนาคม มั่นใจว่า จะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ทันตามกรอบเวลาที่วางไว้

 

ปลัดกระทรวงคมนาคม   ยังระบุว่า ได้เสนอการเวนคืนเพิ่ม เนื่องจากบางจุดซึ่งไม่ได้อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟเดิม อาจต้องใช้พื้นที่กว้างจาก 25 เมตรเป็น 40 เมตร เพื่อใช้พื้นที่สำหรับการวางเครื่องจักร เครื่องมือในการก่อสร้าง ซึ่งเป็นเรื่องวิศวกรรม หากไม่มีพื้นที่จะก่อสร้างไม่ได้ โดยมี 3 ช่วง คือ ช่วงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง และช่วงอุโมงค์เขาชีจรรย์ และช่วงเข้าสนามบินอู่ตะเภา โดยได้ให้บริษัทที่ปรึกษา การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ตรวจสอบความเหมาะสมและจำเป็น เพื่อหาข้อสรุปนำเสนอที่ประชุมพิจารณาในครั้งต่อไป

 

ซึ่งการเวนคืนเพิ่ม ไม่ได้มีการเปลี่ยนรูปแบบก่อสร้าง แต่พื้นที่เดิมที่กำหนดเวนคืนแคบไป ทำให้ไม่สามารถวางเครื่องจักรได้ ซึ่งต้องพิสูจน์ให้ได้ว่ามีความจำเป็นที่ต้องเวนคืนเพิ่ม

 

 

มีรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับแผนส่งมอบที่ดิน ร.ฟ.ท.จะทยอยส่งมอบพื้นที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.พื้นที่ที่มีความพร้อมส่งมอบได้ทันที คือ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา

 

2.ช่วงแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีความพร้อมส่งมอบเช่นกัน แต่มีเงื่อนไขเอกชนจะต้องจ่ายค่าโอนสิทธิ์บริหาร 1 หมื่นล้านบาทให้เสร็จภายใน 2 ปีนับจากวันลงนามสัญญา

 

และ 3.พื้นที่ที่ยังไม่พร้อมส่งมอบ เพราะมีระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญที่ต้องใช้เวลาเคลื่อนย้าย เช่น ท่อน้ำมัน อีกทั้งมีปัญหาผู้บุกรุก คือช่วงพญาไท-ดอนเมือง คาดว่าจะใช้เวลาทยอยส่งมอบเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันลงนามสัญญา

 

 

 

ก็ต้องลุ้นกันต่อนะครับว่า  การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางประวัติศาสตร์ นี้ จะทันตามกรอบที่กำหนดหรือ ไม่ และจะเสร็จทันตามกำหนดหรือไม่ครับ โดยเฉพะการส่งมอบพื้นที่ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง นับว่าเป็นงานหินเอาการ เพราะ  มีระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญ  เช่น ท่อน้ำมัน และมีปัญหาผู้บุกรุก ด้วย  ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ