สุดอลังการ! อุโมงค์รถไฟยาวสุดในไทย-เปิดใช้ปี 65

933

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามความคืบหน้า การก่อสร้าง”อุโมงผาเสด็จ – หินลับ” ของโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ ซึ่งจะเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย โดยจะความยาวถึง 5.85 กม. และจะถือว่า เป็นก้าวไปอีกระดับของวิศวกรรมการขุดอุโมงค์ลอดภูเขาของไทย โดยตามแผนการก่อสร้างจะแล้วเสร็จทั้งโครงการภายในปี 2565 เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

เมื่อ 23 ก.พ.63 มีรายงานในเวบไซต์ของ สำนักงานทางหลวงที่ 10 (นครราชสีมา) ได้เผยแพร่ภาพการก่อสร้างอุโมงค์แห่งที่ 1 ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ อยู่ที่ กม.136+000 ถึง 141+850 ระหว่างสถานีผาเสด็จ กับ สถานีหินลับ เป็นอุโมงค์คู่ สำหรับขบวนรถวิ่งขึ้น-ล่อง ความยาว 5.85 กม.และเป็นอุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

มีรายงานว่า อุโมงค์แห่งนี้ เป็น 1 ใน 3 แห่งของอุโมงค์รถไฟเส้นทางนี้ที่จะมีการขุด คือ

อุโมงค์ที่ 1 (กม.136+000-กม.141+850) ระยะทาง 5.850 กม.

อุโมงค์ที่ 2 (กม.144+400-กม.145+050) ระยะทาง 650 ม.

อุโมงค์ที่ 3 (กม.198+200-กม.199+600) ระยะทาง 1.400 กม.

ระยะทางรวม 8 กม. มีมูลค่า 9,290 ล้านบาท และดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า ไอทีดี-อาร์ที

โดยเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2563 โครงการรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ได้รายงานความคืบหน้า สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ โดยเป็นความก้าวหน้าถึงเดือนธันวาคม 2562 ระบุว่า แผนงานสะสม 31.297% ผลงานสะสม 31.322 % การดำเนินงานเร็วกว่าแผนงาน +0.025%

ทั้งนี้หากมีการขุดแล้วเสร็จตามแผนที่กำหนดไว้คือ ภายในปี 2565 จะกลายเป็นอุโมงค์รถไฟทางคู่ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย จะแซง อุโมงค์ขุนตาน ซึ่งเป็นอุโมงค์ทางรถไฟลอดผ่านที่ยาวที่สุดในประเทศไทย

จากจำนวนทั้งสิ้น 7 อุโมงค์มีความยาวถึง 1,352.10 เมตร (1 กิโลเมตร 352 เมตร 10 เซนติเมตร) ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยขุนตาล ระหว่างอำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง กับอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2450 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2461

สำหรับสำหรับโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ แบ่งออกเป็น 3 สัญญา คือ สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร ระยะทาง 58 ก.ม. วงเงิน 7,560 ล้านบาท

โดยมีเปอร์เซนต์ความก้าวหน้าในเดือนมกราคม 2563 ดังนี้ ผลงานสะสม 58.14 % แผนงานสะสม 55.12 % ผลงานสะสมเร็วกว่าแผนงานสะสม 3.02 %

สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 69 ก.ม. วงเงิน 7,060 ล้านบาท

สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์ ระยะทาง 8 ก.ม. วงเงิน 9,399 ล้านบาท

โดยเส้นทางก่อสร้างจะผ่าน 2 จังหวัดคือ สระบุรี และนครราชสีมา ตามแผนการก่อสร้างจะแล้วเสร็จทั้งโครงการภายในปี 2565

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ซึ่งประกอบด้วย ช่วงมาบกะเบา-คลองขนานจิตร คลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ และอุโมงค์รถไฟ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565

มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพการให้บริการขนส่งระบบราง สนับสนุนการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า รองรับจำนวนผู้โดยสาร และปริมาณการขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์ รวมไปถึงแผนการพัฒนาต่างๆ ของรัฐบาล ที่สนับสนุนให้มีการใช้ระบบขนส่งระบบราง เพื่อช่วยลดการเกิดอุบัติทางถนน ลดมลพิษ ลดต้นทุนการขนส่งสินค้า และสามารถประหยัดการใช้พลังงานของประเทศได้ในระยะยาว

จุดเริ่มต้นเส้นทางนี้ เริ่มจากสถานีมาบกะเบา บริเวณ กม.134+250 และไปจุดสิ้นสุด สถานีชุมทางถนนจิระ บริเวณ กม.268+136 โดยผ่านพื้นที่ อ.แก่งคอย และ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี และ อ.ปากช่อง อ.สีคิ้ว อ.สูงเนิน และ อ.เมือง จ.นครราชสีมา

โดยมีสถานีรถไฟ 20 สถานี ตามลำดับ ได้แก่ มาบกะเบา มวกเหล็กใหม่ ปางอโศก บันไดม้า ปากช่อง ซับม่วง จันทึก คลองขนานจิตร คลองไผ่ ลาดบัวขาว บ้านใหม่สำโรง หนองน้ำขุ่น สีคิ้ว โคกสะอาด สูงเนิน กุดจิก โคกกรวด ภูเขาลาด นครราชสีมา และชุมทางถนนจิระ

การก่อสร้างอุโมงค์ เป็นวิศวกรรมชั้นสูง ซึ่งในอดีตการจะก่อสร้างต้องอาศัยวิศวกร หรือ บริษัทจากต่างชาติเป็นตัวหลัก แต่ในการพัฒนาของไทยที่มีมากขึ้นในปัจจุบัน บริษัทคนไทย สามารถดำเนินการได้เอง และวิศวกรของไทย ก็มีความเชี่ยวชาญด้านนี้มากขึ้น

ดังนั้นการเดินหน้าพัฒนาประเทศ นอกจากจะเป็นการพัฒนาให้บ้านเมืองรุดหน้าแล้ว ก็ยังได้สร้างบุคลากร หรือ บริษัทของไทยที่มีศักยภาพด้านนี้ โดยลดการพึ่งพาจากต่างชาติให้น้อยที่สุด และ อาจจะใช้องค์ความรู้เหล่านี้ในการสร้างธุรกิจในต่างประเทศ ด้วย

ซึ่งนั่นจะเป็นนำพาประเทศก้าวหน้า และมั่นคง อย่างแท้จริงครับ