เคาะแล้ว แผนเร่งด่วน 4 ปี ตั้งรง.ผลิต-ประกอบรถไฟในประเทศ

388

# # #
สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามความคืบหน้าการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางของไทย ตามที่นายกรัฐมนตรี ได้มีบัญชาให้ดำเนินการเรื่องการจัดตั้งโรงงานผลิตและการประกอบรถไฟในไทยอย่างต่อเนื่อง กันบ้าง โดยล่าสุด กรมการขนส่งทางราง ได้หารือกับหน่วนงานที่เกี่ยวข้องและเอกชนเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแผนระยะเร่งด่วน 4 ปี คือ พ.ศ. 2563 – 2566 เพื่อให้อุตสาหกรรมระบบรางเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

พร้อมเสนอ บีโอไอ เพิ่มพื้นที่การได้รับสิทธิประโยชน์ส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบราง นอกเหนือจาก ขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา

โดยขั้นตอนต่อจากนี้ จะเสนอเรื่องต่อกระทรวงคมนาคม ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

เมื่อ 14 ก.พ. 2563 นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ อธิบดีกรมการข นส่งทางราง เป็นประธานการประชุมสำรวจความสนใจของผู้ประกอบการเอกชน (Market Sounding) ต่อแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ

โดยมีผู้แทนจากกระทรวงคมนาคม กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนภาคเอกชนในอุตสาหกรรมระบบราง เข้าร่วมการประชุม ที่กรมการขนส่งทางราง

 

ตามที่ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี มีบัญชาให้ดำเนินการเรื่องการจัดตั้งโรงงานผลิตและการประกอบรถไฟในไทยและ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบาย “Thai First” คือ ไทยทำ ไทยใช้ คนไทยต้องได้ก่อน พร้อมสั่งการให้ กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้พิจารณาปรับระยะเวลาการดำเนินงานให้เร็วขึ้นเป็นแผนระยะเร่งด่วน 4 ปี พ.ศ. (2563 – 2566) ในการจัดซื้อขบวนรถไฟประเภทที่ไม่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

และแผนระยะ 6 ปี พ.ศ. (2563 – 2568) สำหรับการจัดซื้อขบวนรถไฟประเภทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมทั้ง กรมการขนส่งทางราง ได้เสนอให้ (BOI) พิจารณาปรับเพิ่มพื้นที่การได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมในการส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบราง นอกเหนือจากจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดนครราชสีมา

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบแผนระยะเร่งด่วน 4 ปี (พ.ศ. 2563 – 2566) เพื่อให้อุตสาหกรรมระบบรางเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

ส่วนแผนระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2563 – 2568) เสนอให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณา โดย กรมการนส่งทางราง จะรวบรวมความเห็นของภาคเอกชน เพื่อเสนอเป็นแนวการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องในประเทศไทย ต่อกระทรวงคมนาคมก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป

มีรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับแผนการดังกล่าว จะสอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายรถไฟ ระยะ 20 ปี หรือ M-Map ตั้งแต่ พ.ศ. 2561 – 2580 และแผนการจัดหารถจักรของ รฟท. พ.ศ.2562 ที่มีการประมาณการจำนวนตู้รถไฟในประเทศไทยรวม 11,927 ตู้ ด้วย

การพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางฯ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับประเทศไทย เพราะได้มีการเร่งลงทุนด้านระบบรางจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะเป็นการพึ่งพาตนเอง ไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ การคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ช่วยสร้างตำแหน่งงาน การพัฒนาบุคลากร ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แล้ว

ตลอดจนการผลักดันอุตสาหกรรมแบบใหม่ โดยไม่ที่ต้องไปแข่งขันด้านอุตสาหกรรมแบบที่ใช้แรงงาน เข้มข้นกับประเทศเพื่อนบ้าน และในอนาคตอาจจะผลิตเพื่อจำหน่วยให้กับประเทศในอาเซียน หรือที่อื่นๆได้อีกด้วยครับ