คมนาคมสั่งเร่งเต็มสูบ”7 โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1″

560

 

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าว โครงข่ายรถไฟทางคู่กันบ้าง ล่าสุด กระทรวงคมนาคมเร่งรัดพัฒนา โครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 7 โครงการ ซึ่งมีทั้งที่กำหนดเสร็จในปี 2563 2565 และ 2566 หวังเสริมศักยภาพ ในการแข่งขันของประเทศ

พร้อมให้เสนอการปรับปรุงข้อมูลโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ ตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. และส่งให้ สศช. ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

14 ก.พ.63 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม เร่งเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายระบบรางโดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่ ตามข้อสั่งการสำคัญของรัฐบาล เพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ สร้างคุณภาพชีวิตด้านการขนส่งเดินทางที่ดีให้ประชาชน โดยให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ งานก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 1 จำนวน 7 โครงการ ให้เป็นไปตามแผนงานและแผนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ

ประกอบด้วย โครงการรถไฟทางคู่เส้นทาง ฉะเชิงเทรา – คลองสิบเก้า – แก่งคอย และชุมทางถนนจิระ – ขอนแก่น มีกำหนดเปิดให้บริการภายในปี 2563 เส้นทางลพบุรี – ปากน้ำโพ มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565

และเส้นทางประจวบคีรีขันธ์ – ชุมพร, มาบกะเบา – ชุมทางจิระ, นครปฐม – หัวหิน, หัวหิน – ประจวบคีรีขันธ์ มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2566 ทั้งนี้หากเกิดปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินโครงการล่าช้าให้ รฟท. เร่งดำเนินการแก้ไขพร้อมรายงานให้กระทรวงคมนาคมทราบทันที

สำหรับโครงการรถไฟทางคู่เส้นทางใหม่ สายเด่นชัย – เชียงราย – เชียงของ ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแล้วให้ รฟท. เร่งดำเนินการประกวดราคางานก่อสร้าง ส่วนเส้นทางบ้านไผ่ – มุกดาหาร – นครพนม เร่งผลักดันรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้ผ่านความเห็นชอบของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดยเร็ว

และให้เสนอการปรับปรุงข้อมูลโครงการรถไฟทางคู่ ระยะที่ 2 จำนวน 7 โครงการ ตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้แก่ ปากน้ำโพ – เด่นชัย, เด่นชัย – เชียงใหม่, ขอนแก่น – หนองคาย, ชุมทางถนนจิระ – อุบลราชธานี, ชุมพร – สุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี – ชุมทางหาดใหญ่ – สงขลา และชุมทางหาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ และส่งให้ สศช. ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และรายงานให้กระทรวงคมนาคมทราบด้วย

นอกจากนี้ได้สั่งการให้กรมการขนส่งทางรางเร่งศึกษาการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศและการใช้ประโยชน์ระบบรถไฟให้เต็มประสิทธิภาพเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อขับเคลื่อนพัฒนาระบบรางให้เป็นโครงข่ายหลักในการเดินทางและขนส่งสินค้าของประเทศในอนาคตอันใกล้

รถไฟทางคู่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 – 2565 ที่กระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เร่งรัดพัฒนาทางรถไฟเดิมและเพิ่มเติมเส้นทางใหม่ ขณะนี้ได้ลงนามในสัญญาและเริ่มเดินหน้าก่อสร้างรถไฟทางคู่ในเส้นทางที่มีความพร้อมดำเนินการระยะแรก จำนวน 7 เส้นทาง รวมระยะทาง 993 กิโลเมตร ด้วยเงินลงทุนประมาณ 113,660 ล้านบาท โครงการรถไฟทางคู่เฟสแรก 7 เส้นทางดังกล่าวอยู่ระหว่างการก่อสร้างกำหนดทยอยแล้วเสร็จปี 2562 – 2566

ส่วนรถไฟทางคู่เฟส 2 อีก 7 โครงการ ระยะทาง 1,483 กม.งบประมาณ 273,382 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในขั้นตอนจัดทำรายละเอียดเสนอสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณา หลังจากนั้นจึงเสนอ ครม. ต่อไป

ซึ่งหาก โครงการแล้วเสร็จ จะก่อให้สามารถลดต้นทุนในการขนส่งสินค้า ตลอดทั้งความสะดวกสบายในการเดินทางของประชาชน และช่วยพัฒนาเศษฐกิจตลาดเส้นทางที่โครงการผ่านด้วย

และประกาศสำคัญจะทำให้ประเทศมีศักยภาพในการแข่งขัน ที่ สูงขึ้นด้วยครับ