ญี่ปุ่นดันไทย สร้างทางด่วนใต้ดินยาว 9 กม.

404

 

 

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามเรื่องทางด่วนใต้ดิน หรือ ก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดถนนนราธิวาส – สำโรง ซึ่งโครงการนี้เป็นระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร   ล่าสุด นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้ นายฮาราอิ ฮิเดกิ (Mr.Hirai Hideki) ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น   เพื่อรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อนเกี่ยวกับโครงการศึกษานี้  โดยคาดว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จและส่งรายงานให้กระทรวงฯ ได้ภายในเดือนมีนาคม 2563 เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

 

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563  ที่ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม  นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้ให้ นายฮาราอิ ฮิเดกิ (Mr.Hirai Hideki )ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) พร้อมด้วยผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเข้าพบ เพื่อรายงานการดำเนินงานของคณะกรรมการขับเคลื่อน (Steering Committee) เกี่ยวกับโครงการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดถนนนราธิวาส – สำโรง

 

 

โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)  ได้ร่วมกับ MLIT ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดถนนนราธิวาส – สำโรง เพื่อบรรเทาและแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณสาทร สีลม บางรัก พระราม 4 และบริเวณใกล้เคียง

 

ซึ่งจากการศึกษาเบื้องต้นรูปแบบโครงสร้างเป็นอุโมงค์ใต้ดิน ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร จำนวน 4 ช่องจราจรไป – กลับ จุดที่เสนอเป็นจุดเชื่อมต่ออุโมงค์ทางลอด คือ เชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานครกับถนนนราธิวาสและเชื่อมต่อทางพิเศษเฉลิมมหานครกับสี่แยกบางนา สำหรับเนื้อหาของการศึกษาประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้
1) การสำรวจกายภาพของถนน ได้แก่ การศึกษาภาพตัดขวางของถนน เส้นทางในแนวราบและแนวดิ่งและจุดเชื่อมต่อ
2) การประมาณการต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง
3) การดำเนินการตรวจสอบผลกระทบที่มีต่อการจราจร ทั้งปริมาณจราจรปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
4) แนวทางการนำโครงการไปดำเนินการ เช่น การร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP)

 

เมื่อการศึกษาความเหมาะสมโครงการฯ เสร็จสมบูรณ์ MLIT จะเสนอรายงานให้ สนข. เพื่อทราบ และนำเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณา คาดว่าการศึกษาจะแล้วเสร็จและส่งรายงานให้กระทรวงฯ ได้ภายในเดือนมีนาคม 2563 ซึ่ง MLIT มีความยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนเพื่อผลักดันให้โครงการเกิดขึ้นจริงต่อไป

 

ปัญหาการจราจรของไทย เหลือทางออกไม่มากนัก เพราะมีสภาพพื้นที่ที่จำกัด   โดยเฉพาะในพื้นที่ที่รถติดหนักสุด เช่น สาทร สีลม นราธิวาสราชนครินทร์  แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเรื่องการสร้างทางด่วนใต้ดิน เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย  ก็ต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบ และต้องดูว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่ ก็ต้องติดตามกันต่อไปครับ