สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าวโครงการรถไฟทางคู่อีกเส้นทางหนึ่ง คือ ช่วงนครสวรรค์ – บ้านไผ่ ที่ล่าสุดได้มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น แนวเส้นทางที่ได้รับการคัดเลือก ซึ่งแนวเส้นทางที่เลือกเบื้องต้น ระยะทาง 304 กิโลเมตร มีทั้งสิ้นสถานี15 สถานี
ซึ่งเส้นทางนี้เป็นส่วนหนึ่งในสามช่วงของโครงการรถไฟทางคู่ แม่สอด-นครพนม และจะเชื่อมรถไฟฝั่งตะวันตกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมไปยังประเทศต่างๆ ในย่านนี้ ถือเป็นยุทธศาสตร์การคมนาคมที่สำคัญอีกเส้นทางหนึ่งของไทย เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ
การรถไฟแห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม ได้เร่งดำเนินการโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ แบ่งเป็นระยะเร่งด่วนและระยะ 2 บนเส้นทางเดิม รวมถึงเส้นทางสายใหม่ เพื่อยกระดับการให้บริการทางรถไฟให้เป็นแกนหลักในการพัฒนาการเดินทาง การขนส่ง และโลจิสติกส์ของประเทศไทย เพิ่มความเร็วและความปลอดภัยในการเดินรถ
รวมทั้งเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมพื้นฐานอื่นๆ สู่ “One Transport for All คมนาคมรวมเป็นหนึ่งเพื่อความสุขของคนไทยทุกคน
ล่าสุดเมื่อ 12 ธันวาคม 2562 ที่โรงแรมแกรนด์ฮิลล์ รีสอร์ทแอนด์สปา อำเภอเมืองนครสวรรค์ การรถไฟแห่งประเทศไทยและบริษัทที่ปรึกษาโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงนครสวรรค์ – บ้านไผ่ ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น แนวเส้นทางที่ได้รับการคัดเลือก หลังเข้าศึกษาสำรวจรวบรวมข้อมูลและประชุมกลุ่มย่อยในพื้นที่ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นมา
โดยแนวเส้นทางที่ได้เลือกเบื้องต้น ระยะทาง 304 กิโลเมตร มีสถานีทั้งสิ้น 15 สถานี ทั้งสถานีขนาดกลาง ขนาดเล็กและที่หยุดรับผู้โดยสาร สามารถใช้ความเร็วได้ถึง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ในส่วนของพื้นที่นครสวรรค์ระยะทาง ประมาณ 74 กิโลเมตร เริ่มจาก ตำบลหนองปลิง ขนานไปทางทิศใต้ตามแนวทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3002 ประมาณ 1 กิโลเมตร ผ่านพื้นที่อำเภอพยุหะคีรี อำเภอท่าตะโก มีจุดเชื่อมโยงขนถ่ายสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ ที่อำเภอท่าตะโก 1 แห่ง และผ่านอำเภอไพศาลี ซึ่งต้องผ่าน ป่าเขาคอก ป่าเขาโลมนาง ป่าเขาสอยดาว
โดยผู้เข้าร่วมแสดงความเห็น ให้ความเป็นห่วงเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในบึงบอระเพ็ด อัตราค่าเวนคืน การสร้างจุดเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างสองฝั่งทางรถไฟที่เหมาะสม
สำหรับเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วง นครสวรรค์- บ้านไผ่ เป็นส่วนต่อ หนึ่งในสามช่วงของโครงการรถไฟทางคู่ ขนาด 1 เมตร แม่สอด-นครพนม
โดยช่วงบ้านไผ่ – นครพนม อยู่ระหว่างขั้นตอนการเวนคืนที่ดินเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนก่อสร้าง ช่วงแม่สอด-นครสวรรค์ ได้รับการศึกษา- สำรวจออกแบบแล้ว
ส่วนช่วง นครสวรรค์ –บ้านไผ่ อยู่ระหว่างศึกษาสรุปเสนอการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาความเหมาะสมและขออนุมัติการศึกษารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 6-12 เดือน
หลังจากการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี ก็จะไปสู่ขั้นตอน การออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน จัดจ้างบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงาน จัดจ้างก่อสร้าง รวมระยะเวลารวมทั้งสิ้นประมาณ 9 ปี
โครงการรถไฟทางคู่ ขนาด 1 เมตร แม่สอด-นครพนม เป็นเส้นทางรถไฟทางคู่สายใหม่ที่สำคัญ ระยะทางรวม 902 กิโลเมตร (กม.) เพื่อเชื่อมรถไฟฝั่งตะวันตกและตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ โดยมีนครสวรรค์เป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญ
เส้นทางจะเริ่มจาก อ.แม่สอด จ.ตาก ผ่าน จ.กำแพงเพชร จ.นครสวรรค์ จากนั้นจะตัดจาก จ.นครสวรรค์ไป อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น และต่อไปยัง จ.นครพนม ซึ่งนอกจากจะ เพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยที่จะก้าวสู่ความเป็นสากลแล้ว
ยังจะสนับสนุนเขตเศษฐกิจพิเศษที่อยู่ในแนวเส้นทาง พร้อมช่วยเพิ่มบทบทของไทย ในการเป็นศูนย์การขนส่งในย่านนี้
โดยเฉพาะการเชื่อมพม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา เข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้ไปโดยอัตโนมัติ ครับ