อุดรธานี รุดหน้า! สร้างอุโมงค์ทางลอดยาวเฉียด 1 กม.

560

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าว การสร้างโครงการทางแยกต่างระดับ ของจ.อุดรธานี ที่มีทางแยก 3 ระดับ คือ ผิวดิน อุโมงค์และทางข้าม ที่สร้างพร้อมกันเป็นแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในเส้นทางมุ่งหน้าสู่ สปป.ลาว

โดยเฉพาะ ตัวอุโมงค์ยาวถึง 990 เมตร ถือว่าเป็นอุโมงค์ยาวที่สุดเท่าที่ทางหลวงเคยสร้างมา แถมผนังสองข้างยังทำเป็นลายผ้าอีสานที่เรียกว่า “ขันหมากเบ็ง” ดูโดดเด่นสวยงามมาก โดยเปิดให้ประชาชนสัญจรได้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 24 พฤศจิกายน 2562 เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

สุดฮือฮา สำหรับโครงการทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 กับวงแหวนรอบเมืองอุดรธานี (ด้านเหนือ) ของจังหวัดอุดรธานี ที่มีทางแยก 3 ระดับ คือ ระดับผิวดิน อุโมงค์และทางข้าม ซึ่งสร้างพร้อมกันเป็นแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณสี่แยกเลี่ยงเมืองอุดรธานี-หนองคาย ที่จะมุ่งหน้าไปสะพานมิตรภาพไทย-ลาว โดยตัวอุโมงค์มีความยาว 990 เมตร ถือว่าเป็นอุโมงค์ยาวที่สุด ของกรมทางหลวงที่เคยสร้างมา และผนังสองข้างยังเป็นลายผ้า “ขันหมากเบ็ง” ซึ่งสวยและโดดเด่นเป็นอัตลักษณ์ของเมือง

โครงการนี้ก่อสร้างด้วยวงเงิน 1,048 ล้านบาท เริ่มก่อสร้าง 16 มีนาคม 2560 สิ้นสุดสัญญา 3 มกราคม 2563 รวมเวลา 1,024 วัน ขณะนี้โครงการสร้างเสร็จแล้ว เหลือเพียงการเก็บงานเท่านั้น

โดยส่วนที่เป็นทางระดับพื้นดินเป็นสี่แยกตามแนวเดิม ส่วนทางข้ามหรือโอเวอร์พาทขนาด 4 ช่องทาง บนถนนวงแหวนรอบเมือง (ด้านเหนือ) มีความยาว 980 เมตร

ในขณะที่อุโมงค์ขนาด 1 ช่องทาง จากเขตเทศบาลนครอุดรธานีมุ่งสู่จังหวัดหนองคาย ความยาว 990 เมตร ถือว่าเป็นอุโมงค์ยาวที่สุด ของกรมทางหลวงที่เคยสร้างมา

และผนังสองข้างยังเป็นลายผ้าอีสานสวยงาม “ขันหมากเบ็ง” ซับเสียงได้ดี ส่วนศูนย์ควบคุมระบบต่างๆ ได้รับการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์มีคุณภาพ

ภายในอุโมงค์ได้ติดตั้งระบบความปลอดภัย อาทิ ระบบไฟแสงสว่างในเวลากลางวัน และเวลากลางคืน เพื่อสอดรับกับแสงสว่างด้านนอก นอกจากนี้ยังมี ระบบตรวจวัดคาร์บอนไดออกไซน์ หากเกินค่าที่กำหนด พัดลม 10 เครื่องจะดูดออก

หากเกินอีกระดับไฟสัญญาณจะห้ามเข้าอุโมงค์ แล้วก็ยังมีระบบตรวจจับไฟไหม้เมื่อเกิดอุบัติเหตุ และให้สัญญาณปิดอุโมงค์
พร้อมให้เจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือ และระงับ และยังมีกล้องวงจรปิด และโทรศัพท์ภายในฉุกเฉิน ติดตั้งไว้เป็นระยะ

สำหรับระบบป้องกันน้ำท่วมอุโมงค์ ได้ออกแบบให้ ปากอุโมงค์ 2 ด้าน จะไม่ให้น้ำฝนภายนอกไหลเข้าไป จะมีน้ำฝนบริเวณปากอุโมงค์เข้าได้เท่านั้น และน้ำที่ไหลเข้ามาจะมารวมในถังพัก ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 4 เครื่อง สูบออก ทำงานเรียงลำดับตามปริมาณน้ำ

หากกระแสไฟฟ้าขัดข้อง จะมีเครื่องปั้นไฟฟ้าพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 12 ชม. ซึ่งสามารถนำน้ำมันมาเพิ่มได้ และหากระดับน้ำสูงเกินจะแสดงป้ายห้ามใช้อุโมงค์

จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดใหญ่ ปัจจุบันมีปัญหาการจราจรหนาแน่น ทำให้เกิดการสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจ และเกิดความไม่สะดวก และไม่ปลอดภัย ของประชาชนและผู้ใช้รถ

ซึ่งโครงการทางแยก ต่างระดับนี้ คาดว่าจะช่วยแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี และน่าสนใจในเชิงวิศวกรรม คือ ถือว่าเป็นอุโมงค์ยาวที่สุด ของกรมทางหลวงที่เคยสร้างมา ครับ