คืบเห็นๆ! รถไฟฟ้าสายสีส้ม- การก่อสร้างรุดหน้า 49.05 %

568

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามความคืบหน้าโครงการ รถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) กันบ้าง ล่าสุด มีความก้าวหน้าการก่อสร้าง 49.05 % โดยประเด็นที่น่าสนใจคือ การก่อสร้างสถานีและทางวิ่งยกระดับ ทั้ง 7 สถานี ที่กำลังดำเนินงานวางคานชั้นจำหน่ายตั่ว ชั้นชานชาลาสถานี โดยตามกำหนดโครงการนี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดเดินรถได้ในปี 2566 เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม. ได้เปิดเผยถึง ความก้าวหน้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ประจำเดือนตุลาคม 2562 โดยระบุว่า โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีวงเงินลงทุนสำหรับการจ้างก่อสร้างงานโยธาทั้ง 6 สัญญา จำนวน 79,221.24 ล้านบาท ซึ่งมีความก้าวหน้าการก่อสร้างรวมแล้ว 49.05%

เส้นทางโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) Cr.ภาพ FB โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี

 

โดยมีรายละเอียดความก้าวหน้าเอาไว้ดังนี้

สัญญาที่ 1 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-รามคำแหง 12 มีความคืบหน้า 61.48 %

สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงรามคำแหง 12 -หัวหมาก 43.91 %

สัญญาที่ 3 งานก่อสร้างทางวิ่งและสถานีใต้ดิน ช่วงหัวหมาก-คลองบ้านม้า 46.44 %

สัญญาที่ 4 งานก่อสร้างโครงสร้างทางวิ่งและสถานียกระดับ 37.52 %

สัญญาที่ 5 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง และอาคารจอดรถแล้วจร 53.97 %

สัญญาที่ 6 งานก่อสร้างระบบราง 47.41 %

แต่ความคืบหน้าที่คนทั่วไป สามารถเห็นได้ชัดที่สุดในตอนนี้คือ ความคืบหน้างานก่อสร้างสถานีและทางวิ่งยกระดับ ทั้ง 7 สถานี ประกอบด้วย 1) สถานีสัมมากร 2) สถานีน้อมเกล้า 3) สถานีราษฎร์พัฒนา 4) สถานีมีนพัฒนา 5) สถานีเคหะรามคำแหง

6) สถานีมีนบุรี และ7) สถานีสุวินทวงศ์ ซึ่งเป็นสถานียกระดับที่กำลังวางคานชั้นจำหน่ายตั่ว ชั้นชานชาลสถานี หรือที่เรียกว่า Platform Station รวมไปถึงทางวิ่งยกระดับ

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) เป็นระบบรถไฟฟ้าแบบใต้ดินและแบบยกระดับ มีระยะทางประมาณ 22.57 กิโลเมตร
//
โดยแนวเส้นทางโครงการเริ่มต้นเป็นแบบใต้ดินจากสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล หรือ รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สายสีน้ำเงิน จากนั้น ตัดเข้าพื้นที่ของ รฟม. วิ่งใต้แนวถนนพระราม 9 ลอดใต้ทางพิเศษ สายฉลองรัฐ หรือ ทางด่วนสายรามอินทรา – อาจณรงค์

เลี้ยวซ้ายที่สี่แยกพระราม 9 ไปตามแนวถนนรามคำแหง ผ่านสี่แยกลำสาลี ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

จากนั้น แนวเส้นทางเปลี่ยนเป็นแบบยกระดับ บริเวณใกล้หมู่บ้านสัมมากร ข้ามแนวถนนกาญจนาภิเษก ไปสิ้นสุดบริเวณแยกถนนรามคำแหงตัดกับถนนสุวินทวงศ์ ที่สถานีมีนบุรี เชื่อมต่อกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู

ทั้งนี้โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ประกอบด้วยสถานีใต้ดิน 10 สถานี, สถานียกระดับ 7 สถานี, ปล่องระบายอากาศระหว่างสถานีและอาคารระบายอากาศ รวม 11 แห่ง, อาคารศูนย์ซ่อมบำรุงและอาคารจอดแล้วจร 1 แห่ง

โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จะแล้วเสร็จและเปิดเดินรถได้ในปี 2566

โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย – มีนบุรี(สุวินทวงศ์) เป็นโครงการส่วนตะวันออก จุดเด่นของโครงการคือ นอกจากจะขนคนจากชานเมืองเข้าสู่เมืองแล้ว ยังมีจุดเชื่อมต่อกับโครงการอื่นๆ ไปยังชานเมืองกับชานเมือง คือ สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และ สายสีเหลือง เส้นทางลาดพร้าว-สำโรง

คาดว่าหากสร้างแล้วเสร็จ และเชื่อมกับระบบอื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์ โครงการนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความสะดวก สบายในการเดินทางของประชาชน และสามารถแก้ไขปัญหาจราจร ได้อย่างดีเลยทีเดียวครับ