ชัดแล้ว!ทุบสะพานสีมาธานี-สร้างรถไฟทางคู่ยกระดับ-เจาะอุโมงค์ทางลอดแทน

499

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าว ความคืบหน้าแผนการทุบทิ้งสะพานสีมาธานี ในตัวเมืองนครราชสีมา เพื่อก่อสร้างรถไฟทางคู่ยกระดับ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ โดยจะสร้างอุโมงค์ทางลอดแทน หลังจากก่อนหน้านี้มีประเด็นความกังวลเรื่องปัญหาการจรจรในระหว่างการก่อสร้าง แต่ล่าสุดสรุปจบแล้ว

โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย เตรียมเสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป และหาก ครม.อนุมัติแล้ว จะสามารถเริ่มก่อสร้างได้เดือนกรกฎาคม 2563 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2566 เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

หลังจากมีมติให้มีการทุบหรือรื้อสะพานข้ามทางรถไฟ หน้าโรงแรมสีมาธานีออก เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ(สัญญาที่ 2 คลองขนานจิตร – ชุมทางถนนจิระ) ช่วงผ่านตัวเมืองนครราชสีมา ที่เป็นประเด็นถกเถียงกันมาหลายปี นั้น

ล่าสุด วันที่ 15 พ.ย. 2562 ที่ศาลากลาง จ.นครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา เป็นประธานในการประชุมชี้แจงรูปแบบรายละเอียดแผนการดังกล่าว พร้อมนายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย

โดยมีผู้แทนส่วนราชการ ส.ส. และ ส.ว. ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา พร้อมทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชน และภาคประชาชน จำนวนมากเข้าร่วมรับฟังรายละเอียดการก่อสร้างรถไฟทางคู่ และแนวทางบริหารจัดการจราจรในช่วงทุบสะพานสีมาธานี ซึ่งมีระยะเวลา 3 ปี และเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด

การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ชี้แจงการจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้าง โดยทำทางเบี่ยงชั่วคราวระดับดินข้ามทางรถไฟในช่วงการก่อสร้างทางลอด และเปิดจุดกลับรถบนถนนมิตรภาพทั้ง 2 ทิศทาง

ซึ่งที่ประชุมมีมติ ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เสนอกระทรวงคมนาคม เพื่อนำเรียนคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป และหาก ครม.อนุมัติแล้ว จะสามารถเริ่มก่อสร้างได้เดือนกรกฎาคม 2563 โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนธันวาคม 2566

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ เป็น 1 ใน 5 เส้นทางรถไฟที่อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ฯ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2558 รับทราบแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมขนส่ง ระยะเร่งด่วน พ.ศ.2559 เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ

โดยประโยชน์ที่จะได้รับจากการก่อสร้างโครงการ คือ ลดระยะเวลาการเดินทางและขนส่งในเส้นทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ ยังช่วยกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ทั้งด้านเศรษฐกิจ การคมนาคม และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่

ตลอดถึง เป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมและระบบขนส่งสาธารณะในพื้นที่โครงการกับระดับภูมิภาค และต่อเนื่องไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครับ