เร่งรัดนำสายไฟลงดิน 3 เส้นทาง ลุยสู่มหานครแห่งอาเซียน

403

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าวเรื่อง คณะรัฐมนตรี มีมติแผนงานเอาสายไฟฟ้าใต้ลงดิน ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด จำนวน 3 โครงการ ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง และ สายสีเขียว รวมระยะทาง 20.5 กม. ในวงเงินลงทุนรวม 3,673 ล้านบาท แล้วเสร็จในปี 2566 ด้าน การไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน.ระบุ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยให้เกิดความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ตลอดจนการสร้างทัศนียภาพที่สวยงาม เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

เมื่อวันที่ 6 พ.ย.2562 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ดำเนินการตามแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด (Quick Win) วงเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 3,673.40 ล้านบาท โดยใช้เงินกู้ในประเทศ จำนวน 2,500 ล้านบาท และเงินรายได้ของ กฟน. จำนวน 1,173.40 ล้านบาท

โดยสาระสำคัญของเรื่องนี้ รายงานจาก ครม. ระบุว่า ตามที่ กฟน. ได้ดำเนินโครงการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ระยะทางรวม 215.6 กิโลเมตร ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จระยะทางรวม 46.6 กิโลเมตร และอยู่ระหว่างการดำเนินการ ระยะทางรวม 169 กิโลเมตร เนื่องจากแผนงานบางส่วนต้องรอดำเนินการพร้อมกับหน่วยงานสาธารณูปโภคอื่น ทำให้แผนงานของ กฟน. มีความล่าช้า

เร่งรัดนำสายไฟลงใต้ดิน
3 เส้นทาง
ลุยสู่มหานครแห่งอาเซียน
กฟน. จึงขอความเห็นชอบแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ฉบับปฏิบัติการเร่งรัด หรือ Quick Win ดังกล่าว จำนวน 3 โครงการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ถนนรัตนาธิเบศร์ (ถนนราชพฤกษ์-ถนนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 4.4 กม. วงเงิน 745.2 ล้านบาท
2.เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี-ถนนติวานนท์ ระยะทาง 10.6 กม. วงเงิน 1,937.6 ล้านบาท
และ 3.เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถนนสุขุมวิท (ซอยสุขุมวิท 81-ซอยแบริ่ง) ระยะทาง 5.5 กม. วงเงิน 931.0 ล้านบาท
ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เรียบร้อยแล้ว แล้ว

ด้านนายจาตุรงค์ สุริยาศศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ การไฟฟ้านครหลวง ในฐานะโฆษกการไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า สำหรับพื้นที่ดังกล่าว ถือเป็นพื้นที่ที่มีแนวโน้มความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถของระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับปริมาณความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ ตลอดจนเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า

ซึ่ง การไฟฟ้านครหลวง จะต้องดำเนินการก่อสร้างด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่ การวางแผนและออกแบบการก่อสร้าง ก่อสร้างบ่อพักคอนกรีตเสริมเหล็ก ติดตั้งสายไฟฟ้าใต้ดินและอุปกรณ์ไฟฟ้า เปลี่ยนระบบจำหน่ายไฟฟ้าจากสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน และรื้อถอนเสาและสายไฟฟ้าอากาศ รวมทั้งรื้อสายสื่อสารออก และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยให้เกิดความมั่นคงของระบบไฟฟ้า

ตลอดจนการสร้างทัศนียภาพที่สวยงาม เสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว และเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยเพื่อเดินหน้าสู่มหานครแห่งอาเซียนตามนโยบายของรัฐบาล ต่อไป

การดำนินโครงการนำสายไฟฟ้าลงดินในปัจจุบัน ดูเหมือนว่า จะดำเนินการได้อย่าล่าช้ามาก ดังนั้นหากรัฐบาลใช้โมเดลให้ดำเนินการฉบับปฏิบัติการเร่งรัด อย่าง 3 เส้นทางดังกล่าวนี้ การดำเนินการโครงการนำสายไฟฟ้าลงดิน อื่นๆ ทั้งในเขต กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ก็จะเร็วขึ้นทันที

เพราะถ้ายังปล่อยให้การดำเนินการเป็นแบบเดิม คนไทย ก็จะต้องทนดู สายไฟฟ้าระเกะระกะ และอับอายต่อนักท่องเที่ยวทั่วโลก ต่อไป ครับ