สปป.ลาว – ​​เวียดนาม เร่งสำรวจเส้นทางรถไฟ หวังสร้างในปี 2564

1570

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าว  รัฐบาลลาว  ได้อนุญาตสำรวจการออกแบบและพัฒนาโครงการรถไฟลาว – ​​เวียดนาม  เส้นทางจากท่าแขก ถึงชายแดนเวียดนาม หากผลการศึกษาเรียบร้อยและได้รับการอนุมัติ  ก็จะเริ่มการก่อสร้างภายในสิ้นปี 2564 และใช้เวลาสามปีจึงจะแล้วเสร็จ คือ ใน ปี 2567 เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

 

เมื่อไม่นานมานี้  มีรายงานจากเวียงจันทน์ไทมส์ ของสปป.ลาว ว่า   รัฐบาลลาวได้อนุญาตให้บริษัทเทดดิ้งลาวมหาชน  เข้าสำรวจการออกแบบและพัฒนาโครงการรถไฟลาว – ​​เวียดนาม  พร้อมการลงนามในบันทึกความเข้าใจกับกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง เมื่อเร็ว ๆ นี้

เส้นทางการสำรวจและพัฒนาโครงการรถไฟลาว – ​​เวียดนาม (Cr.ภาพ google.com)

โครงการนี้มีระยะทางประมาณ 240-270 กิโลเมตร  เบื้องต้นของโครงการ  จะเริ่มศึกษาจากท่าแขก แขวงคำม่วน ไปชายแดนลาว – ​​เวียดนาม

หลังจากนั้น หากที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลของเวียดนามแล้ว ค่อยสำรวจจากชายแดนลาว – ​​เวียดนาม ไปยังท่าเรือหวุ๋นอ๋าง อยู่ในจังหวัดห่าติ๋ง (Ha Tinh)  ประเทศเวียดนาม  หากนับจากด้านสปปป.ลาว มีระยะทางประมาณ 150 กิโลเมตร และหากดับอยู่ด้านเวียดนามระยะห่างประมาณ 120 กิโลเมตร  คาดว่าจะเสร็จสิ้นการออกแบบภายใน 8 เดือนถึง 1 ปี
จากนั้นจะเสนอไปยังรัฐบาลลาว เพื่อพิจารณา หากได้รับอนุมัติ   ก็จะเริ่มการก่อสร้างภายในสิ้นปี 2564 และใช้เวลาสามปีจึงจะแล้วเสร็จ คือ ใน ปี 2567
ด้านนายจันทอน สิดทิชัย  ประธานบริษัทเทดดิ้งลาวมหาชน  กล่าวว่า   เป้าหมายของโครงการนี้คือเพื่อแก้ไขข้อเท็จจริงที่ว่าลาวไม่มีพรมแดนติดกับทะเล แต่การบูรณาการทางทะเลโดยตรงด้วยรถไฟจะช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายได้มากกว่า 50 % เส้นทางดังกล่าวจะเป็นหน้าใหม่ให้กับสปป. ลาวในการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและการเกษตรและจะกลายเป็นตลาดการแข่งขันที่มีศักยภาพสำหรับการค้าต่างประเทศ สำหรับ ท่าเรือหวุ๋นอ๋าง อยู่ในจังหวัดห่าติ๋ง (Ha Tinh) อยู่ทางเหนือของดานัง ใกล้กับเส้นทางเดินเรือสินค้าทะเลจีนใต้   โดยท่าเรือแห่งนี้มีท่าเทียบเรือยาวกว่า 450 เมตร  สามารถรองรับเรือสินค้าขนาด 50,000 ตัน ซึ่ง สปป.ลาว  มีเป้าหมายจะใช้ท่าเรือแห่งนี้ในการขนส่งสินค้า จากที่ปัจจุบัน ได้ใช้ท่าเรือของไทย เป็นหลัก
อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน สปป.ลาว ได้มีการร่วมมือด้านรถไฟกับประเทศอื่นๆ อยู่แล้วคือ รถไฟลาว-จีน หรือ ความร่วมมือกับไทย ในโครงการเดินรถไฟเส้นทางหนองคาย-ท่านาแล้ง  เดิมทีนั้น  ได้ให้บริการเฉพาะการขนส่งผู้โดยสารเท่านั้น แต่นับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2562  เป็นต้น ได้มีการปรับเปลี่ยนขบวนรถให้เป็นขบวนรถร่วมให้ขนส่งได้ทั้งผู้โดยสารและสินค้า โดยพ่วงรถโบกี้บรรทุกตู้สินค้าร่วมกับขบวนรถโดยสารเข้าไปด้วย
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมของไทย ยังมีแผนดำเนินการโครงการรถไฟระหว่างจังหวัดอุบลราชธานี  กับปากเซ ของสปป.ลาว ด้วย   โดยมีพื้นที่เชื่อมต่อบริเวณช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี ระยะทาง เฉพาะในประเทศไทย 80  กิโลเมตร รฟท. ได้เสนอของบประมาณปี 2563  เพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ฯ
การเชื่อมต่อ ระบบรางระหว่างประเทศนับว่ามีความสำคัญอย่างของมาก อย่างที่เกิดขึ้นในกลุ่มประเทศยุโรปเพราะจะทำให้การไปมาหาสู่กัน มีความสะดวกกันมากขึ้น  ทำให้การขนส่งสินค้ามีราคาที่ถูกลง  และสำคัญจะทำให้ภูมิภาคอาเซียน มีความเจริญรุดหน้าสู้กับประเทศในภูมิภาคอื่นๆได้
และอาเซียนจะได้เติบโตไปด้วยกัน ครับ