สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าว ท่าเรือระนอง ได้ทำ MOU กับ ท่าเรือกฤษณาปัทนัม ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นหนึ่งในท่าเรือกลุ่มประเทศ BIMSTEC เพื่อส่งเสริมงานด้านการตลาด การลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการท่าเรือ ซึ่งการร่วมมือกับอินเดียนี้ เป็นเรื่องนี้ที่น่าสนใจเพราะว่า ท่าเรือกฤษณาปัทนัมมีศักยภาพสูงมาก
และ ปกติก็ส่งส่งตู้สินค้ามาไทยอยู่แล้ว ถ้าเปลี่ยนมาลงที่ท่าเรือระนองแทนเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบัง จะลดระยะเวลาการขนส่งสินค้าลดลงจากเดิมต้องใช้เวลา 15 วันเหลือเพียง 7 วันเท่านั้น เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562 การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง ท่าเรือระนอง กับ ท่าเรือกฤษณาปัทนัม ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นหนึ่งในท่าเรือกลุ่มประเทศ BIMSTEC โดยมี เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย และ Ms. Vinita Venkatesh ผู้อำนวยการ Navayuga Container Terminal ท่าเรือกฤษณาปัทนัม ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ ณ ที่ทำการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.)
CR.ภาพ FB:การท่าเรือแห่งประเทศไทย
สำหรับบันทึกความเข้าใจดังกล่าว เป็นการสร้างความร่วมมือระหว่างท่าเรือในลักษณะ Port–to–Port Cooperation เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างท่าเรือทั้งสองแห่งในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางด้านการบริหารจัดการท่าเรือ การปฏิบัติการภายในท่าเรือ ส่งเสริมงานด้านการตลาด การลงทุนเกี่ยวกับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการท่าเรือ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารการเชื่อมโยงเครือข่ายของท่าเรือ อุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจท่าเรือ
โดยรูปธรรมที่คาดว่าจะเกิดประโยชน์กับความร่วมมือในครั้งนี้ เรือโทกมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย บอกว่า ท่าเรือกฤษณาปัทนัมมีศักยภาพรองรับตู้สินค้าได้ถึงปีละ 1.2 ล้านTEUs/ปี และได้ขนส่งสินค้ามาที่ท่าเรือกรุงเทพและท่าเรือแหลมฉบังอยู่แล้วประมาณปีละ 500,000 TEUs/ปี ซี่งเฉพาะกับประเทศอินเดียในปี2561 ไทยมีตัวเลขการส่งออกอยู่ที่ 200,000 ล้านบาท
การการท่าเรือแห่งประเทศไทย เห็นว่า โครงการท่าเรือระนองกำลังพัฒนาอยู่จึงตั้งใจที่จะให้จำนวนตู้สินค้าทั้งหมดมาลงที่ท่าเรือระนองแทน เพื่อเป็นการลดต้นทุนด้านการขนส่ง (Logistics Cost) ของท่าเรือกฤษณาปัทนัมด้วย ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาการขนส่งสินค้าลดลงจากเดิมต้องใช้เวลา 15 วันเหลือเพียง 7 วัน
CR.ภาพ FB:การท่าเรือแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ทั้งสองท่าเรือจะต้องจัดประชุมการดำเนินงานเชิงปฏิบัติการร่วมกัน (Joint Working Group Meeting) เป็นประจำทุก 2 ปี เพื่อผลักดันให้เกิดการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ภายใต้ความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการให้บริการขนส่งสินค้าโดยระบบตู้สินค้าระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุน รวมถึงระบบการขนส่งและโลจิสติกส์ทางทะเลของทั้งสองประเทศ
สำหรับกลุ่มประเทศ BIMSTEC ที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น เป็นการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่อยู่ในอนุทวีปเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วย บังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย ไทย พม่า เนปาล และภูฏาน ล่าสุด มีความคืบหน้าเป็นลำดับสอดคล้องกับนโยบายมองตะวันตก (Look West Policy) ที่ต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างประโยชน์ร่วมกัน ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการขนส่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นโอกาสในการพัฒนาเส้นทางเดินเรือเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือระนองกับท่าเรือในกลุ่ม BIMSTEC เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการนำเข้าและส่งออกต่อไป
cr.ภาพ google.com/maps/
ความร่วมมือระหว่าง ท่าเรือระนอง กับ ท่าเรือกฤษณาปัทนัม ประเทศอินเดีย เป็นก้าวย่างที่สำคัญที่จะช่วยเสริมให้ไทย กลายเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างประโยชน์ร่วมกัน ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการขนส่ง ของกลุ่มประเทศ BIMSTEC และไทยเอาจริงเอาจัง และพัฒนาดีๆ ท่าเรือระนอง อาจจะจะมีศักยภาพสูงของภูมิภาคแห่งนี้ โดยไม่ต้องไปรอท่าเรือทวาย ที่ไทยหมายมั่นปั้นมือว่าจะเขาไปพัฒนา แต่ยังไม่รู้ว่าจะเดินหน้าได้จริงจังเมื่อไหร่ หรือ ในอนาคตก็อาจจะใช้ท่าเรือระนอง เป็น โครงข่ายการขนส่งสินค้าทางทะเลเชื่อมระหว่างกัน โดยเฉพาะการเชื่อมโยง 4 ท่าเรือเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยท่าเรือระนอง-ท่าเรือทวาย -ท่าเรือย่างกุ้ง และท่าเรือจิตตะกอง ก็จะทำให้การค้าการขายในภูมิภาคนี้คึกคักขึ้นและได้ประโยชน์กันทุกประเทศ ก็ต้องตามติดกันนะครับ สำหรับ