รถไฟฯ 3 สนามบินฉลุย!เซ็น ซี.พี.เดือนก.ค.นี้-ปี 2566 เปิดใช้

465

 

 

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าว คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไฟเขียว EIA รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งการรถไฟฯ มั่นใจเซ็นสัญญาได้ใน ก.ค.นี้ เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันคระบ

รายละเอียดเรื่องนี้ มีรายงานเมื่อ 24 มิถุนายน 2562 ว่า ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ เสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยให้ ร.ฟ.ท.นำเสนอ รายงาน EIA ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

cr.ภาพ ยูทูป EEC WE CAN

 

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการ ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ครม.ได้เห็นชอบโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินแล้ว ซึ่งเมื่อรายงาน EIA ได้รับอนุมัติ ร.ฟ.ท.สามารถลงนามกับเอกชนได้เลย ตามข้อยกเว้น และเป็นไปตามมาตรา 44

โดยร.ฟ.ท.จะต้องเร่งเจรจาแผนการส่งมอบพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนที่จะลงนามกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ผู้ชนะการประมูล คาดว่าจะภายในเดือนกรกฎาคม

อย่างไรก็ตาม การส่งมอบพื้นที่นั้นยังมีจุดที่ติดปัญหา เช่น ปัยหาพื้นที่บุกรุก หรือ พื้นที่ติดสัญญาเช่า เป็นต้น ซึ่ง กลุ่ม ซี.พี.ต้องทำแผนมา เพื่อ ร.ฟ.ท.จะนำมาพิจารณาการส่งมอบ รวมถึงตั้งงบประมาณในการดำเนินงานต่อไป

มีรายงานเพิ่มเติมว่า โครงการนี้ต้องการใช้พื้นที่ไม่ต่ำกว่า 10,000 ไร่ แต่มีพื้นที่ ที่มีปัญหาอยู่ราว 2,000 ไร่ ซึ่งจะต้องหารือกัน และมีมีพื้นที่เวนคืนช่วงลาดกระบังยาวไปถึงสนามบินอู่ตะเภา อีกประมาณ 850 ไร่

cr.ภาพ ยูทูป EEC WE CAN

 

ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 6/2562 มีมติรับทราบรายงาน EIA แล้ว

พร้อมระบุว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นในที่ประชุม โดยอยากให้รถไฟสร้างเสร็จตามกำหนดเดิม คือปี 2566 การส่งมอบพื้นที่จึงต้องทำให้เร็วที่สุด หากล่าช้าจะส่งผลกับโครงการได้ เพราะโครงการนี้จะต้องสร้างเสร็จพร้อมๆ ไปกับโครงการสนามบินอู่ตะเภาด้วย

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้าง และแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของแอร์พอร์ตลิงค์ (Airport Rail Link) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา พร้อมเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทาง 220 กม.

โดยแนวเส้นทางโครงการผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จ.สมุทรปราการ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ชลบุรี และจ.ระยอง พ.ศ. 2566 รวมมูลค่าโครงการ 224,544.36 ล้านบาท

นี่เป็นความคืบหน้าของรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงนามกับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และตามกำหนดจะแล้วเสร็จภายในปี 2566

ซึ่งหากโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแล้วเสร็จ ก็เชื่อว่า เส้นทางนี้ก่อให้เกิดประโยชน์ได้มหาศาล เพราะ ผ่านโครงการอีอีซี และพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ท่าเรืออุตสาหกรรมและพาณิชย์ ที่เป็นประตูการนำเข้าและส่งออก สินค้าหลักของประเทศ

รวมทั้ง ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงด้วย ด้วย

โครงการนี้เป็นประโยชน์ของคนไทยทุกคน ไม่เฉพาะคนใดคนหนี่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นจากนี้ก็ต้องช่วยกันติดตามโครงการนี้กันอย่างใกล้ชิดครับ