ภูเก็ตใกล้สร้าง”รถไฟฟ้าฯ -คาดเปิดบริการปี 2567

375

 

 

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าวการ จังหวัดภูเก็ต เตรียมสร้างรถไฟฟ้ารางเบาระบบ tram กันบ้าง

เมืองภูเก็ต เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญของโลก ซึ่งการสร้างรถไฟฟ้า นอกจากจะช่วยแก้ปัญหาการจราจรแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของเมืองท่องเที่ยวแห่งนี้ต่อสายตาชาวโลกด้วย โดยล่าสุด รฟม.ได้นำเสนอการออกแบบไว้หลายรูปแบบ เพื่อให้กรมทางหลวง เลือก ซึ่งหากเรียบร้อยก็จะเข้าจะเดินหน้าตามกระบวนการต่างๆ และ คาดว่า สามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2567 ส่วนรายละเอียดเป็นอย่างไรมาติดตามดูกันครับ

cr.ภาพ: กระทรวงคมนาคม/สนข

 

โดยความคืบหน้าโครงการนี้ ล่าสุดเมื่อ 20 มิถุนายน 2562 รฟม. ได้แถลงความคืบหน้าในการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดภูเก็ต ระยะที่ 1 โดย นายกาจผจญ อุดมธรรมภักดี ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.

โดยระบุว่าที่ผ่านมา รฟม. ได้ดำเนินการจัดการทดสอบความสนใจของนักลงทุน (Market Sounding) ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดภูเก็ต โดยมีนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติ ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรับฟังข้อมูลโครงการเป็นจำนวนมาก

cr.ภาพ: กระทรวงคมนาคม/สนข

 

ปัจจุบัน รฟม. อยู่ระหว่างการหารือกับกรมทางหลวง ในประเด็นต่างๆ เพื่อขอใช้พื้นที่ทางหลวงในการดำเนินโครงการฯ ได้แก่ รูปแบบสถานี ทางวิ่ง ระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ป้ายจราจร รวมทั้งการจัดการจราจรตามแนวเส้นทางโครงการบนทางหลวง เป็นต้น

ซึ่งภายหลังจากที่ได้ข้อสรุปในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้นแล้ว รฟม. จะนำมาปรับปรุงรายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตาม พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562 เพื่อขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป

ซึ่งคาดว่าจะไดัรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินโครงการได้ภายในปี 2563 จากนั้น รฟม. จะดำเนินการคัดเลือกเอกชนเพื่อร่วมลงทุนโครงการฯ เพื่อออกแบบรายละเอียดและก่อสร้างโครงการ โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2567

สำหรับ โครงการระบบขนส่งมมวลชน จ.ภูเก็ต จะใช้ระบบรถไฟฟ้ารางเบา หรือเรียกว่า แทรมป์ โดยก่อนหน้านี้ เมื่อ 6 มิถุนายน 2562 นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม บอกว่า สรุปโดยเบื้องต้นจะใช้รูปแบบแชร์เลนร่วมกับรถบนถนน ไม่ทำแบบแบ่งเลนไว้สำหรับระบบรถไฟฟ้ารางเบาแบบเดิม เพื่อไม่ให้กระทบกับเลนจราจรของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 402 (โคกกลอย-เมืองภูเก็ต) ของ กรมทางหลวง

โดย 4 จุดหลัก ได้แก่ แยกวงเวียนอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร, แยกบางคู, ทางเข้าสนามบินภูเก็ต, ถนนศรีสุนทร ขณะนี้มีแนวทางเลือกหมดแล้ว เหลืออีก 2 จุดที่ให้กรมทางหลวงเลือกรูปแบบที่เหมาะสม และนำมาหารือร่วมกัน เร่งหาข้อสรุปเพราะ รฟม.ยังมีโครงการรถไฟฟ้าแทรมป์ในจังหวัด เชียงใหม่ นครราชสีมา ที่ใช้พื้นที่ถนนของ กรมทางหลวง ก่อสร้าง

 

มีรายงานเพิ่มเติมว่า รถไฟฟ้าภูเก็ต แบ่งการก่อสร้าง 2 ระยะ ในระยะที่ 1 ช่วงสนามบินภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง 41.7 กม. และระยะที่ 2 ช่วงท่านุ่น-เมืองใหม่ 16.8 กม.

โดย รฟม.จะเริ่มก่อสร้างระยะที่ 1 มี 21 สถานี เป็นระดับพื้นดิน 19 สถานี ยกระดับ 1 สถานี และใต้ดิน 1 สถานีสำหรับเงินลงทุนในโครงการนี้ประมาณ 34,827.28 ล้านบาท

แต่อย่างไรก็ตามนายสาโรจน์ ต.สุวรรณ ผู้ช่วยผู้ว่าฯ รฟม. ระบุว่า รถแทรมป์ควรมีเลนของตัวเอง แต่เมื่อไม่มีทางเลือก ต้องปรับวิ่งร่วมกับรถยนต์ รถบนถนนติด รถแทรมป์ก็ต้องติดด้วย จะมีปัญหาควบคุมเวลาไม่ได้ แต่เป็นทางออกที่ดีที่สุดตอนนี้ รอเพียงกรมทางหลวงตัดสินใจเท่านั้น

นี่เป็นโครงการรถไฟฟ้ารางเบาระบบ tram ของภูเก็ต ที่ยืดเยื้อกันมานาน ด้วยสาเหตุสำคัญคือ เรื่องรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ซึ่งกรมทางหลวงได้ยื่นคัดค้าน EIA เมื่อเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้การเสนอ EIA ชะงักเพราะหน่วยงานในกระทรวงเดียวกันคัดค้านกันเอง และรายงาน EIA ใกล้จะหมดอายุอีกด้วย

แต่ก็ถือว่าล่าสุดมีแนวโน้มที่ดี มีแค่ 2 จุดที่ให้กรมทางหลวงเลือกรูปแบบที่เหมาะสม ซึ่งตอนนี้ รฟม. อยู่ระหว่างการหารือกับกรมทางหลวง ในประเด็นต่างๆ เพื่อขอใช้พื้นที่ทางหลวงในการดำเนินโครงการฯ ซึ่งหากไม่มีปัญหาอะไร ก็คงจะตัดสินใจเคาะได้ จากนั้นก็จะเดินหน้าตามกระบวนการต่างๆต่อไป และคาดว่า สามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2567

และหากโครงการนี้สำเร็จ ก็คงเป็นโมเดลสำหรับการพัฒนารถไฟฟ้ารางเบาระบบ tram ในจังหวัดใหญ่ๆ อื่นๆ ด้วย

แต่อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ชาวภูเก็ตส่วนหนึ่งได้แสดงความเห็นผ่านโซเชียวเน็ตเวิร์ค ในทำนองว่า การวิ่งร่วมกับรถยนต์ จะเกิดความปลอดภัยหรือไม่ ทำไม่จึงไม่มีการก่อสร้างแบบยกระดับเหมือนในกรุงเทพฯ หรือแสดงความเห็นค่อนแรงว่า ถ้าจะก่อสร้างแบบนี้อย่าสร้างจะดีกว่า ซึ่งประเด็นเหล่านี้ ก็สำคัญที่จะนำไปพิจารณาด้วย ในฐานะผู้ใช้บริการ ครับ