ซีพี-“บีทีเอส” ใครจะคว้ารถไฟฯเชื่อม 3 สนามบิน

532

cr.ยูทูป EEC WE CAN

มาติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือ ไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน คือ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา มูลค่ากว่า224,544.36 ล้านบาท กันบ้างนะครับ ล่าสุด นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เปิดเผยว่า การตรวจสอบซองเอกสารเสนอราคาในส่วนของซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติทั่วไป ของผู้ยื่นประมูลโครงการนี้ได้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาแล้ว ซึ่งมี 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้งส์และพันธมิตร 2.กลุ่มบีเอสอาร์

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท.(cr.เพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย )

 

cr.เพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

ขั้นตอนต่อนี้ จะเปิดซองที่ 2 ด้านเทคนิค คาดว่าจะเสร็จไม่เกิน 3 สัปดาห์ โดยซองที่ 2 นี้ ต้องมีคะแนนของแต่ละหมวดไม่ต่ำกว่า 75% และคะแนนรวมของทุกหมวดไม่น้อยกว่า 80% ซึ่งถ้าผ่าน ก็จะเปิดซองที่ 3 ได้

สำหรับทั้ง 2 บริษัทยักษ์ใหญ่ใครจะมีโอกาสคว้าโครงกานี้ไปครองเราลองไปดูกันครับ

cr.เพจ ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย

 

โดยรายแรก คือ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย), บริษัท อิตาเลียน-ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) , บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) , บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และยังมีพันธมิตรรายอื่นอีก เช่น, CRCC จากจีน , CITIC Group Corporation จากจีน,China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) รัฐวิสาหกิจที่เน้นด้านการส่งออกของจีน, กลุ่ม JOIN ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนขนาดใหญ่เพื่อสนับสนุนทางการเงิน,ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC จากประเทศญี่ปุ่น,

นอกจากนี้ยัง บริษัท Siemen จาก ประเทศเยอรมนี,บริษัท Hyundai จาก ประเทศเกาหลี, บริษัท FS จากประเทศอิตาลี

 

ส่วนกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

 

cr.ยูทูป EEC WE CAN

ซึ่งหากพิจารณาถึงจุดอ่อนจุดแข็ง ทั้ง 2 กลุ่ม ซีพี แม้จะไม่มีประสบการณ์เดินรถไฟฟ้ามหาก่อน แต่มีพันธมิตรเพียบ ทั้งจาก จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และ บริษัท FS จากอิตาลี ซึ่งเป็นบริษัทเชี่ยวชาญการบริหารรถไฟความเร็วสูงจากอิตาลีที่บริหารการเดินรถแล้วมีกำไร

 

ในขณะที่ บีทีเอส มีจะไม่มีพันธมิตร มากเท่ารายแรก แต่ประสบการณ์ด้านการให้บริการเดินรถไฟฟ้าในประเทศไทยมาแล้วเกือบ 20 ปี

 

ดูแล้วการชิงชัยคราวนี้ต้องดุเดือดมาก เพราะซีพีรู้ดีว่า ถ้าหากได้โครงการนี้ ผลประโยชน์จะตามมาอีกมหาศาล โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีต่างๆ