นี่คือความจริงเหตุ “เขื่อน สปป.ลาว”แตก

465

มาติดตามความคืบหน้า เหตุเขื่อน ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ในแขวงอัตตะปือ สปป.ลาว แตก หลังฝนตกลงมาอย่างหนัก ส่งผลให้ประชาชนสูญหายกว่า 100 คน และมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 คน ซึ่งสาเหตุจริงๆ ของการณ์ในครั้งนี้เกิดจากอะไรกันแน่นั้น เป็นเรื่องที่ยังไม่แน่ชัด

Cr.เวบไซต์ http://raosukunfung.com/

 

ซึ่งเรื่องนี้ ในเพจ “Darin Thaipbs” เฟชบุคส่วนตัวของผู้ประกาศข่าวด้านภัยพิบัติ ได้โพสต์ข้อความเอาไว้ ระบุว่า

ข้อเท็จจริงเรื่องเขื่อนแตกในลาว ข้อมูลจาก รศ.ดร.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

1. เขื่อนเริ่มแตกเมื่อวาน(23 กค 61) เวลาบ่ายสอง

2.เขื่อนที่แตกไม่ใช่เขื่อนใหญ่(Main Dam) แต่เป็นเขื่อนเล็กปิดช่องเขา “D” (Saddle Dam “D”) สูง 16 เมตร ยาว 800 เมตร

3.ช่วงที่เขื่อนแตก(ขาด) มีความยาว 250 เมตร

4. น้ำที่ไหลออกมาไม่ใช่ทั้งหมด 5,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งที่เป็นความจุทั้งหมด แต่ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนไปแล้วนับจากตั้งแต่เขื่อนแตกจนถึงบัดนี้ประมาณ 400 ล้านลูกบาศก์เมตร

5.คาดว่ายังจะมีน้ำที่สามารถไหลผ่านเขื่อนที่แตกนี้ได้อีก
200 ล้านลูกบาศก์เมตร น่าจะหยุดในวันที่ 25 ก.ค.61 ชาวบ้านต้องเตรียมรับมือกับน้ำก้อนนี้ด้วย

6. น้ำไม่ได้เต็มเขื่อน แต่มีน้ำประมาณ 90% เปรียบเทียบง่ายๆคือ ส่วนที่แตกเหมือนขอบชามที่มีน้ำเกือบเต็ม น้ำจะไหลรั่วออกจากชามตามรอยแตก เท่ากับขอบที่แตกไป แต่จะไม่ไหลออกหมดชาม

 

cr.เพจ OneHeart.la

 

ซึ่งเรื่องนี้ สอดคล้องกับ เวบไซต์ BBC ที่ได้รายงานว่า บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็น 1 ในผู้ถือหุ้นของโครงการ แถลงว่า บริษัทได้รับแจ้งจากบริษัท ไฟฟ้า เซเปียน-เซน้ำน้อย จำกัด ว่า เขื่อนดินย่อยกั้นช่องเขา ส่วน D (Saddle Dam D) ขนาดสันเขื่อนกว้าง 8 เมตร ยาว 770 เมตร และสูง 16 เมตร ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเสริมการกั้นน้ำรอบอ่างเก็บน้ำเซน้ำน้อย โครงการดังกล่าวเกิดการทรุดตัว ส่งผลให้สันเขื่อนดินย่อยดังกล่าวเกิดรอยร้าวและน้ำไหลออกไปสู่พื้นที่ท้ายน้ำ และลงสู่ลำน้ำเซเปียน ที่อยู่ห่างจากพื้นที่เขื่อนประมาณ 5 กิโลเมตร

บริษัทระบุเพิ่มเติมว่า สาเหตุส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพายุฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องทำให้มีปริมาณน้ำจำนวนมากไหลเข้าสู่พื้นที่กักเก็บน้ำของโครงการฯ

โฆษกบริษัท SK Engineering and Construction หนึ่งในบริษัทร่วมทุนในโครงการสร้างเขื่อนเซเปียน-เซน้ำน้อย เปิดเผยกับบีบีซีว่า เขื่อนย่อยขนาดเล็ก ได้รับความเสียหายจาก ฝนตกหนักฉับพลัน แต่ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่เชื่อว่าส่วนสันเขื่อนถล่มลง และน้ำไหลทะลักออกจากเขื่อนย่อยดัง

cr.FB: OneHeart.la

 

นอกจากนี้ยังมีการเปิดเผยว่า นายอันแจ-ฮยอน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัทได้ออกเดินทางลงพื้นที่เพื่อเป็นผู้นำปฏิบัติการกู้ภัย โดยมีการตั้งทีมปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว

ก่อนหน้านี้ SK Engineering and Construction ตั้งเป้าจะก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้ให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ.ปีหน้า

นี่คือ ความจริงของเหตุเขื่อแตกในครั้งนี้ ต้องเอาใจช่วยพี่น้อง สปป.ลาว และ ตอนนี้พี่น้องชาวไทยหลายภาคส่วน โดยเฉพาะหน่วยกู้ภัย ได้เดินทางสบทบช่วยผู้ประสบภัยพี่น้องชาว สปป.ลาวแล้วครับ