กองทัพเรือของไทย เคยมีเรือดำน้ำเป็นชาติที่ 2ในเอเชีย แต่เป็นชาติแรกในอาเซียนที่มีเรือดำน้ำเข้าประจำการ และ สมัยสงครามอินโดจีน ฝรั่งเศสไม่กล้าส่งกองเรือมาโจมตีถึงสัตหีบเพราะเกรงเรือดำน้ำขนาดเล็ก 4 ลำของไทย
มาจนถึงปัจจุบันประเทศไทย ได้รื้อฟื้นโครงการเรือดำนำขึ้นมาอีกครั้ง โดยสั่งซื้อจากจีน จำนวน 3 ลำ ด้วยงบ 36,000 ล้านบาท ซึ่งการใช้งบสูงระดับนี้ แม้เรื่องนี้จำเป็น แต่ก็อาจจะสร้างผลกระทบเศรษฐกิจ หรือ ปากท้องของประชาชนตามมา
CR.เพจ Wassana Nanuam
โดยล่าสุดเมื่อ 17 ก.ค.ที่ผ่านมา นาวาเอก สัตยา จันทรประภา รอง ผบ.โรงเรียนนายทหารเรือขั้นต้น กรมยุทธศึกษาทหารเรือ หัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาเรือดำน้ำขนาดเล็ก เปิดเผยกับ เพจ Wassana Nanuam ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้มีดำริ พัฒนาเรือดำน้ำขนาดเล็ก เพราะทราบว่ากองทัพเรือเคยทำยานใต้น้ำมาก่อน จึงคิดว่ากองทัพเรือน่าจะต่อยอดเป็นเรือดำน้ำขนาดเล็กขึ้นมา ได้จริงๆ
ส่วนระยะเวลาในการดำเนินการนั้น นาวาเอก สัตยา กล่าวว่า ทั้งโครงการใช้เวลาการสร้างทั้งหมด 7 ปี โดย 4 ปีแรกออกแบบ ใช้เวลา 2 ปีในการสร้าง และใช้เวลา 1 ปีในการฝึกและทดลอง
CR.เพจ Wassana Nanuam
ด้านงบประมาณนั้น เบื้องต้นประมาณ 200 ล้านบาท และถ้าสามารถวิจัยสำเร็จแล้ว ต้องใช้งบการสร้างหลักพันล้านบาทต่อลำ
รอง ผบ.โรงเรียนนายทหารเรือขั้นต้น กล่าวอีกว่า ในฐานะที่เป็น สถาปนิกกองทัพเรือ และ เป็นหนึ่งในทีมที่สร้างยานใต้น้ำลำแรก รู้สึกว่าเป็นเรื่องท้าทาย และอยากที่จะทำ เราได้ดึงเอาคนที่มีความสามารถในกองทัพเรือหลากหลายสาขามาร่วมในทีมงานวิจัยในครั้งนี้
CR.เพจ Wassana Nanuam
ทั้งนี้ เบื้องต้นตั้งชื่อเล่นๆยังไม่เป็นทางการว่า “ชาละวัน คลาส” มีระวางขับน้ำ 150-300 ตัน มีกำลังพล ประจำเรือ 10 นาย ระยะปฏิบัติการ 300 ไมล์ทะเล
นี่คือ ความน่าภาคภูมิใจของทหารเรือไทย และคนไทย ที่เตรียมจะสร้างเรือดำนำขนาดเล็ก ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณในการซื้ออาวุธจากต่างประเทศ เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจที่ไทยผลิตเองได้ เป็นการพึ่งตนเองลดการพึ่งพาต่างชาติ ซึ่งคาดหวังว่า เราจะได้เห็นของจริงในอีกไม่นานครับ
ขอบคุณภาพ-คลิปวิดิโอ : เพจ Wassana Nanuam