“จีน”ส่อปาดเหงื่อ!!! รถไฟฯ“ในอินโดฯ”ไม่คืบ?

682

“อินโดนีเซีย”เป็นอีกประเทศ ที่ “จีน” ไปลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง แต่ทุกอย่างดูเหมือนจะทุลักทุเล โครงการไม่คืบหน้าไปถึงไหน

โดยมีรายงานจากสื่อต่างประเทศว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงมูลค่า 1.6 แสนล้านบาท กำลังเผชิญกับอุปสรรค จากปัญหาการจัดการเคลียร์ที่ดิน ตามเส้นทางก่อสร้าง และ ทำให้”จีน”ระงับการปล่อยกู้ให้กับผู้พัฒนาโครงการ

 

Cr. image source : FB: Kereta Cepat Indonesia

 

เวบไซต์ railway-technology.com ระบุว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง “จาการ์ตา-บันดุง” เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของ ประธา นาธิบดี “โจโก วีโดโด” ที่มีเป้าหมายเพื่อลดเวลาในการเดินทาง2 เมืองในภาคตะวันตกของเกาะชวา จากประมาณ 3 ชั่วโมงโดยรถยนต์ เหลือเพียงเพียง 40 นาที ด้วยระยะทาง 150 กม. โดยมีความเร็วประมาณ 200 กม./ชม. และ 250 กม./ชม. คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการรายวันเฉลี่ย 44,000 คน โดยตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นในปีต่อๆไป

“จีน”ได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลอินโดนีเซีย เหนือ “ญี่ปุ่น ให้ดำเนินการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงแห่งแรกของประเทศ สาเหตุที่ “จีน”ได้โครงการนี้ เนื่องจากความพร้อมในการจัดหาเงินกู้ที่ไม่มีหลักประกัน ในขณะที่ “ญี่ปุ่น” ร้องขอเงินทุนจากรัฐบาลอินโดนีเซีย

ตามเป้าโครงการนี้เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ.2559 และจะใช้เวลาก่อสร้าง 3 ปี โดยมีกำหนดจะแล้วเสร็จใน พ. ศ. 2562 ซึ่งโครงการนี้ดำเนินการโดยบริษัท “PT Kereta Cepat Indonesia China ” (เปเต เกอ-เร-ตา เซปัด -อินโดนีเซีย-ไชนา) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนที่จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมปี พ.ศ.2558 ระหว่างอินโดนีเซีย กับการรถไฟแห่งประเทศจีน โดยอินโดนีเซียมีสัดส่วนการร่วมทุน 60 % ในขณะที่จีนมี 40 %

Cr. image source : FB: Kereta Cepat Indonesia

 

จริงๆแล้ว โครงการนี้มีปัญหามาตั้งแต่เริ่มต้น รวมถึงผลประโยชน์ที่น่าสงสัย การขาดการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม และความไม่ชัดเจนในการดำเนินการที่ก่อให้เกิดความตึงเครียดทางการทูตกับประเทศญี่ปุ่น นับตั้งแต่พิธีเปิดเมื่อมกราคม พ.ศ.2559 และมีข้อสงสัยว่า โครงการจะแล้วเสร็จตามเป้าหมาย พ.ศ.2562 หรือไม่

 

Cr. image source : FB: Kereta Cepat Indonesia

 

Cr. image source : FB: Kereta Cepat Indonesia

 

การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการรถไฟนี้ ได้รับเงินกู้จาก “จีน” ปราศจากงบประมาณของประเทศอินโดนีเซีย โดย “ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศจีน” สนับสนุนเงินทุนประมาณ 75 % ส่วนที่เหลือจะจัดหาโดย”บริษัทร่วมทุน” สำหรับเงินกู้จะเป็นระยะเวลา 40 ปี โดยมีระยะเวลาผ่อนผัน 10 ปี

โดยตัวหลักที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ ประกอบด้วย บริษัท China Railway Construction Corp (CRCC) ร่วมทุนกับ “กลุ่มรัฐวิสาหกิจของอินโดนีเซีย” (SOEs),
สมาคมการค้าอินโดนีเซียประกอบด้วย 1.บริษัท PT Wijaya Karya บริษัทก่อสร้าง, 2.บริษัท ผู้ดำเนินการรถไฟ บริษัท PT Kereta Api Indonesia , 3.ผู้ก่อสร้างทางพิเศษ “PT Jasa Marga” และ4. PT Perkebunan Nusantara VIII ซึ่งเป็นบริษัทปลูกป่า

 

ประโยชน์จากรถไฟความเร็วสูงจาก “จาการ์ตาไปบันดุง” นี้คาดหวังว่า นอกจากจะช่วนในการเดินทางที่สะดวกแล้ว ยังจะมีประโยชน์ในการสร้างงานได้ 40,000 ตำแหน่งต่อปี นอกจากนี้
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องเช่น การถลุงเหล็ก การผลิตโครงสร้างพื้นฐาน การผลิตไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ การบริการและโลจิสติกส์ จะได้รับการส่งเสริม ซึ่งจะนำไปสู่การเติบโตที่สมดุลในทุกภาคส่วน
ส่วนตามสถานีและพื้นที่โดยรอบ จะเพิ่มโอกาสในการพัฒนา ซึ่งจะส่งผลให้มีโอกาสใหม่สำหรับภาคอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงเมืองและชนบทตามเส้นทางจะมีการพัฒนาที่สมดุล

 

นี่เป็นความคาดหวังต่อโครงการนี้ แต่ในความเป็นจริงทุกอย่างกลับไม่มีความคืบหน้า ไม่ได้มีความกระตือรื้อร้นในการดำเนินการเรื่องนี้ทั้งฝ่ายอินโดนีเซียและฝ่ายจีน

 

 

Cr. image source : FB: Kereta Cepat Indonesia

 

 

Cr. image source : FB: Kereta Cepat Indonesia

 

 

Cr. image source : FB: Kereta Cepat Indonesia

 

เวบไซต์ iseas.edu.sg ของสิงคโปร์ วิเคราะห์สาเหตุลึกๆที่โครงการนี้ล่าช้า สรุปความว่า 1.ประธานาธิบดี “โจโก วีโดโด” เองก็รู้สึกกลัวๆ เพราะถูกวิจารณ์ว่า การไปเชื้อเชิญ “จีน”มาลงทุนเป็นการ “ขายประเทศ”ให้กับจีน 2. ชาวอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเชื่อในความได้เปรียบทางเศรษฐกิจกับจีน 3.ปมความขัดแย้งในการอดีตของอินโดฯกับจีน

 

ในขณะที่ “จีน”เองเมื่อเจอโครงการไม่คืบตามที่หวัง ก็มีแนวโน้มว่า “จีน” จะระมัดระวังข้อเสนอโครงการอินโดนีเซียมากขึ้น

ทั้งหมดนั้น จึงทำให้ “โครงการรถไฟความเร็วสูง”ไม่คืบ และจากนี้ชี้วัดได้ว่า “ยุทธศาสตร์ของจีน” 1 แถบ 1 เส้นทาง จึงไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายๆ และถึงเวลาที่ จีน ต้องทบทวนอย่างจริงจัง หรือไม่