มาติดตามสถานการณ์ในเมียนมากันต่อ มาดูในส่วนของท่าทีของจีน ในเมียนมากันบ้าง ซึ่งต่อจากนี้ จีน คือตัวแปร หรือ ตัวละคร สำคัญ ที่จะมีผลต่อทิศทางของเมียนมา ดังนั้น ไม่พูดถึงเรื่องนี้ไม่ได้โดยล่าสุดรัฐมนตรีต่างประเทศจีน ยันต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาร์ว่า ปักกิ่งพร้อมที่จะทำงานร่วมกับประเทศเมียนมา พร้อมระบุ จะสนับสนุนเมียนมาในการเลือกเส้นทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของตนเอง ซึ่งจากคำพูดนี้ส่อให้เห็นว่า จีน เลือกข้างแล้ว ในการสนับสนุนรัฐบาลในปัจจุบัน นั่นคือ รัฐบาลของมินอองหล่ายเมื่อเป็นอย่างนี้ ฝ่ายต่อต้านจะต้องเจองานหนักขึ้น และแน่นอนว่า เป้าหมายต่อจากนี้ นอกจาก มินอองหล่าย แล้ว ก็คงไม่พ้นจีน รวมทั้งอาเซียนด้วย ที่มีท่าที สอดคล้องกันจีน เรื่องนี้น่าสนไจติดตามกันครับ
ครับ อย่างที่เกริ่นไว้ จีน คือตัวแปรสำคัญในเมียนมาต่อจากนี้ เนื่องจาก เมื่อย้อนกลับไป ก่อนหน้า สำนักข่าวดิอิรวดี ได้รายงานว่า รัฐมนตรีต่างประเทศจีนบอกกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาร์ ว่า ปักกิ่งพร้อมที่จะทำงานร่วมกับประเทศของเขา เนื่องจากนโยบายของจีนที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้าน “ไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ภายในประเทศและภายนอกของเมียนมาร์” ซึ่งทั้งคู่พูดนอกรอบการประชุมพิเศษรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีนในฉงชิ่ง เมื่อช่วงวันที่ 6 – 8 มิถุนายนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศจีน กล่าวกับวันนา หม่อง ลวิน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเมียนมาร์ระหว่างการประชุมว่า จีนจะสนับสนุนพม่าในการเลือกเส้นทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของตนเอง
ความเห็นของรัฐมนตรีต่างประเทศจีนมีขึ้นในขณะที่เมียนมาร์เพื่อนบ้านทางตอนใต้ยังคงติดหล่มอยู่ในความวุ่นวายทางเศรษฐกิจและการเมืองนานกว่าสี่เดือนหลังจากกองทัพเข้ายึดอำนาจในการทำรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์
สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปได้กำหนดมาตรการคว่ำบาตรต่อผู้นำรัฐบาลเผด็จการ ในขณะที่บริษัทตะวันตกบางแห่งได้ออกจากประเทศเพื่อตอบโต้การละเมิดสิทธิมนุษยชนของระบอบการปกครอง รวมถึงการสังหารผู้คนกว่า 800 คนระหว่างการปราบปรามผู้ประท้วงต่อต้านระบอบการปกครอง
นายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศจีน (ขวา) นายวันนา หม่อง ลวิน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา (ซ้าย)/photo credit: www.news.cn,lmcchina.org
สำนักข่าวดิอิรวดี ได้ระบุตาม ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลเมียนมาร์ ว่า รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสองยังได้หารือถึงแนวทางในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการดำเนินโครงการทวิภาคีเมียนมาร์-จีน อย่างต่อเนื่อง รวมถึงประเด็นอื่นๆ
พร้อมระบุด้วยว่า ผู้สังเกตการณ์ความสัมพันธ์จีน-เมียนมาร์ในย่างกุ้ง กล่าวว่า ขณะนี้ระบอบการปกครองกำลังสิ้นหวังสำหรับการลงทุนจากภายนอก ดังนั้นพวกเขาจะตอบสนองต่อคำขออนุมัติโครงการอย่างมาก พร้อมระบุว่า โครงการที่ตกลงกันไว้ก่อนหน้านี้ระหว่างรัฐบาลพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของเมียนมาร์ หรือ รัฐบาล NLD กับจีนน่าจะเริ่มดำเนินการได้ในเร็วๆ นี้
และว่า ระหว่างการเยือนเมียนมาร์ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนเมื่อปีที่แล้ว ปักกิ่งและรัฐบาล NLD ตกลงที่จะเร่งดำเนินการโครงการระเบียงเศรษฐกิจทวิภาคี ซึ่งรวมถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษจอกพยู ในรัฐยะไข่ การพัฒนาเมืองย่างกุ้งใหม่ และเขตเศรษฐกิจในรัฐฉานและรัฐคะฉิ่น ชายแดนจีน.
อย่างไรก็ตาม ก่อนนี้ แม้จะมีข้อตกลงที่ลงนามระหว่างการเดินทางของ สี จิ้นผิง แต่ก็ไม่มีโครงการใดที่ย้ายไปสู่ขั้นตอนการดำเนินการจริงภายใต้รัฐบาล NLD รัฐบาลพลเรือน
ซึ่งหลังจากการรัฐประหาร ระบอบการปกครองทหารเมียนม่า ได้จัดโครงสร้างคณะกรรมการที่สำคัญ 3 คณะขึ้นใหม่ ขณะที่กำลังดำเนินการตามแผนการดำเนินโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดยักษ์ในเมียนมาร์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของโครงการ 1 แถบ 1 เส้นทาง ( Belt and Road Initiative : BRI) ของจีน คณะกรรมการมีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมกับปักกิ่งในการดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจทวิภาคีที่เกี่ยวข้องกับ โครงการ 1 แถบ 1 เส้นทาง (BRI)
ซึ่งรวมถึงการกำหนดโครงการสำคัญ การลงนามในบันทึกความเข้าใจ และการดำเนินการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล
โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษจอกพยู ของจีนในรัฐยะไข่
ครับ แม้จะมีเสียงขัดค้านอย่างหนักจากรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ และชาวเมียนมา ต่อท่าทีของจีน จนถึงขั้นเผาธงชาติประท้วงกันหลายครั้ง แต่ดูเหมือนจีน จะไม่ยี่หระ ต่อสิ่งเหล่านั้น
แต่ท่าทีที่จีนแสดงออกมาล่าสุด แสดงให้เห็นว่า เลือกแล้ว ที่จะสนับสนุนรัฐบาลของมินอองหล่าย
ซึ่งสาเหตุที่จีนต้องรีบตัดสินใจคือ ผลประโยชน์ของจีน ที่ลงทุนไว้แล้วจำนวนมาก เช่น โรงงานอุตสหกรรม ท่อก๊าซ และอีกหลายโครงการที่ได้ลงนามกับรัฐบาลพลเรือนก่อนหน้านี้ แต่ไม่มีความคืบหน้ามากนัก
โดยเฉพาะโครงการ เขตเศรษฐกิจพิเศษจอกพยู ในรัฐยะไข่ ซึ่งจะเป็นช่องทางออกสู่มหาสมุทรอินเดียวของจีน ที่ทั้งอินเดีย สหรัฐ และพันธมิตร ขัดขวางมาตลอด และมีการซ้อมรบกันมาต่อเนื่อง เชิงขมขู่
ซึ่งจีนต้องรีบตัดสินใจ เพราะหากช้าไป จะได้รับความเสียหายอย่างหนัก บวกกับโอกาสทองที่รัฐบาลอองหล่ายมอบให้ ไม่รับก็คงพลาดสำคัญ
ซึ่งนั้นจะทำให้รัฐบาลมินอองหล่าย มีหลักประกันทั้งด้านเศรษฐกิจ และการทหาร จากการมีจีนอยู่เบื้องหลัง รวมทั้งรัสเซีย และบวกกับอาเซียน ที่จีน กำลังใช้เป็นเครื่องมือช่วยฟอกขาวให้กับรัฐบาลมินอองหล่าย
และที่น่าจับตา คือ เมียนมา น่าจะยืมมือจีน ให้ช่วยเคลียร์กับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ที่เป็นปฏิปักษ์กับรัฐบาลของมินอองหล่าย
ไม่ว่าจะเป็นกองกำลังเอกราชคะฉิ่น กองกำลังกะเหรี่ยงกลุ่มต่าง กองกำลังไทใหญ่ทั้งในฉานเหนือและฉานใต้ กลุ่มว้า กลุ่มอาระกัน หรือ กลุ่มอื่นๆ ซึ่งท่าทีต่อจากนี้ ล้วนน่าจับตา ทั้งหมด
ซึ่งหากเคลียร์จบงานนี้ “มินอองหล่าย”อยู่ยาวครับ
แต่อย่างไรก็ตาม ก็จะขึ้นอยู่กับกระแสต่อต้านจีน จะแรงขึ้นหรือไม่ ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะแรงขึ้นอีก เพราะอย่างไรสหรัฐฯ กับพันธมิตร ไม่มีวันจะยอมให้อิทธิพลของจีน และรัสเซีย อยู่ในเมียนมาเด็ดขาด
ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็มีโอกาสจะเกิดเหตุการณ์ประชาชนต่อต้านจีนแรงขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า แหล่งผลประโยชน์ของจีน จะตกเป็นเป้าหมายสำคัญ
รวมทั้งอาจจะลามไปผลถึงประโยชน์ของชาติอาเซียนบางประเทศ ที่ไปเกี่ยวโยงกับธุรกิจกองทัพเมียนมา ด้วยครับ