มาติดตามสถานการณ์ในพม่ากันต่อ ล่าสุด นักศึกษาพม่าจุดไฟเผาธงชาติจีนและรัสเซีย เพื่อประท้วงที่สนับสนุนระบอบรัฐประหาร และปิดกั้นมติของ UNSC ที่ให้แข็งกร้าวขึ้นต่อทหารพม่า ด้านจีน เริ่มนั่งไม่ติดหลังชาวพม่าเริ่มไม่พอใจมากขึ้น ก่อนหน้านี้ มีข่าวว่า ได้เคลียร์ กับ CRPH ของกลุ่มอองซานซูจี ซึ่ง จีน และ รัสเซีย เป็นตัวแปรสำคัญในพม่า เมื่อผู้ประท้วงหันหัวไปเล่นจีน กับ รัสเซีย สถานการณ์นี้จึงน่าจับตาอย่างยิ่ง เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ
9 เมษายน 2564 มีรายงานจาก สำนักข่าว Myanmar Now ว่า นักศึกษามหาวิทยาลัยในมัณฑะเลย์ ได้จุดไฟเผาธงชาติจีนและรัสเซีย เพื่อประท้วงที่สนับสนุนระบอบรัฐประหาร โดยการปิดกั้นมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC ให้แข็งกร้าวขึ้นต่อรัฐบาลทหารพม่า
สำหรับที่มาความไม่พอใจของผู้ประท้วงเกิดจาก เมื่อ 1 ก.พ.2564 กลุ่มชาติตะวันตก ที่ต้องการให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC ออกแถลงการณ์ประณามกองทัพเมียนมาที่ก่อรัฐประหาร แต่ไม่เป็นผล เนื่องจากจีนและรัสเซีย 2 ใน 5 ชาติสมาชิกถาวรไม่สนับสนุนในเรื่องนี้ ทำให้ข้อเสนอดังกล่าวตกไป
นักศึกษามหาวิทยาลัยในมัณฑะเลย์ ได้จุดไฟเผาธงชาติจีนและรัสเซีย เพื่อประท้วงที่สนับสนุนระบอบรัฐประหาร/Cr.ภาพ @Myanmar_Now_Eng
ตามกฎบัตรสหประชาชาติ มติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเอ็นเอสซี ต้องได้รับความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ จากทั้ง 5 ชาติสมาชิกแบบถาวร โดยไม่มีเสียงคัดค้าน
โดยทั้งจีน และรัสเซีย อ้างไปในทำนองเดียวกันว่า ต้องการเวลาในการพิจารณา
โดยเฉพาะกระแสความไม่พอใจจีน พัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่การเผาโรงงานของจีน ในย่างกุ้ง มาจนถึงการขู่เผ่าทอก๊าซ จีนในพม่า และพัฒนาการล่าสุด เป็นการเผาธงชาติ
คาดว่า สิ่งที่จีนกังกลมากที่สุดตอนนี้คือการขู่เผ่าทอก๊าซ ทำให้เมื่อ 1 เมษายน 2564 มีรายงานข่าวจาก สำนักข่าวอิระวดีว่า แหล่งข่าวหลายแห่งที่ชายแดนจีนรายงานว่ากองกำลังจีน รวมตัวกันในเมืองจี้เกา (Jiegao ) ตรงข้าม เมืองมูเซ (Muse ) เมืองชายแดนของรัฐฉาน โดยทหารจีนและรถบรรทุกทหารจำนวนมากเดินทางมาถึงชายแดนเมื่อหลายวันก่อน
พร้อมระบุว่า แหล่งข่าวจากกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์กล่าวว่า จีนกำลังส่งสัญญาณเตือนไปยังพม่า
อีกทั้งยังอ้างถึง TVBS News ในไต้หวันรายงานว่ากองกำลังของจีนอยู่ที่นั่นเพื่อปกป้องท่อส่งก๊าซธรรมชาติ
กองกำลังจีน รวมตัวกันในเมืองจี้เกา (Jiegao ) ตรงข้าม เมืองมูเซ (Muse ) เมืองชายแดนของรัฐฉาน/Cr.ภาพ www.google.co.th
ในขณะที่ เมื่อ 6 เมษายน 2564 สื่อ Myanmar Now รายงานว่า ผู้ชุมนุมที่มัณฑะเลย์เรียกร้องให้คว่ำบาตรสินค้าจีน ซึ่งความรู้สึกเชิงลบต่อรัฐบาลจีนเพิ่มขึ้นเนื่องจากความพยายามที่จะลดทอนมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเพื่อปิดปากเมื่อรัฐบาลทหารสังหารผู้ประท้วง
จากกระแสความไม่พอใจนี้ ส่งผลให้จีน นั่งไม่ติดกำลังเร่งเคลียร์กับฝ่ายต่อต้านคณะรัฐประหาร
โดยล่าสุดเมื่อ 8 เมษายน 2564 มีข่าวจากสำนักข่าวอิระวดีว่า สถานทูตจีนในพม่า ได้พูดคุยกับสมาชิกของคณะกรรมการที่เป็นตัวแทนฝ่ายนิติบัญญัติ จากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD)
โดย แหล่งข่าวหลายแห่งยืนยันกับอิระวดีว่า ที่ปรึกษาจากสถานทูตจีนในย่างกุ้ง ได้พูดคุยทางโทรศัพท์กับสมาชิกของคณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ หรือ CRPH เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
สำหรับคณะกรรมการผู้แทนสมัชชาแห่งสหภาพ หรือ CRPH เป็นองค์กรนิติบัญญัติแห่งชาติที่เป็นตัวแทนของสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งของสมัชชาแห่งสหภาพ นำโดยสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี)
ทางการจีนเตือนสมาชิก CRPH ว่าการลงทุนของจีนเหล่านั้น ได้รับการอนุมัติภายใต้รัฐบาล NLD
ในขณะที่ผลกระทบต่อรัสเซีย นอกจากการเผาธงชาติ เพื่อแสดงความไม่พอใจแล้ว ยังไม่เห็นผลกระทบจากด้านอื่นๆ เพราะการลงทุนของรัสเซียในพม่าไม่ปรากฏชัดว่ามีการลงทุนด้านอะไรบ้าง แต่ที่รับรู้กันคือ รัสเซีย เป็นผู้ขายอาวุธรายใหญ่ให้กับทหารพม่า
จากเรื่องนี้จึงคาดว่า หลังจากนี้ทั้งจีนและรัสเซีย โดยเฉพาะจีน นั้นจะได้รับผลกระทบอย่างมาก จากการต่อต้านของผู้ชุมนุมของพม่า เพราะเข้ามาลงทุนไว้เยอะ ทั้งโรงงานอุตสาหกรรม ท่าเรือ
โดยเฉพาะ โครงการท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งรัฐยะไข่มูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ราว 40,904 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการสร้างเส้นทางให้เชื่อมจีนไปสู่มหาสมุทรอินเดียตามแนวคิดเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21 (One Belt One Road) ที่จะขยายเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานและอิทธิพลของจีนไปทั่วโลก
ผู้ชุมนุมที่มัณฑะเลย์เรียกร้องให้คว่ำบาตรสินค้าจีน/Cr.ภาพ fb Myanmar Now
ซึ่งตรงนี้คือ เป้าหมายสำคัญที่ชาติตะวันตก และอินเดีย ต้องการขจัดอิทธิพลจีน บริเวณนี้ออกไปให้ได้ เพื่อไม่ให้จีน เข้ามามีอิทธิพลในบริเวณนี้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ชาติวันตก ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และอินเดีย ได้มีการฝึกซ้อมทางทะเลในอ่าวเบงกอลกันเป็นประจำ ก็เพื่อเบรกอิทธิพลจีน ในจุดนี้
ดังนั้นแล้ว หากอิทธิพลจีนยังอยู่ในพม่า เหตุการณ์วุ่นวายนี้จะยังไม่จบง่ายๆ ซึ่งเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เกิดเหตรุนแรงในพม่าครั้งนี้ ก็เพราะการเสี้ยมของชาติวะวันตก สืบเนื่องการแย่งชิงประโยชน์กันระหว่าง จีน กับชาติตะวันตก ในดินแดงแห่งนี้
โครงการท่าเรือน้ำลึกบริเวณชายฝั่งรัฐยะไข่มูลค่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ ราว 40,904 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการสร้างเส้นทางให้เชื่อมจีนไปสู่มหาสมุทรอินเดียตามแนวคิดเส้นทางสายไหมทางทะเลศตวรรษที่ 21 (One Belt One Road)
ประเทศไทย เอง เป็นอีกชาติ ที่ไปลงทุนในพม่าเยอะ อย่างไรก็ต้องระมัดระวังอย่าให้ชาติมหาอำนาจ ลากเข้าไปอยู่วังวงปัญหาที่ซับซ้อนนี้เด็ดขาด