คมนาคม-กทม.ส่อเดือด ปมสายสีเขียวสูงสุด 104 บาทตลอดสาย

446

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia มาติดตามข่าว กรณีกรุงเทพมหานครกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดถึง 104 บาทตลอดสาย กันบ้าง ที่ล่าสุด กระทรวงคมนาคมเรียกร้องขอให้กรุงเทพมหานครชะลอการปรับขึ้นอัตราดังกล่าวจนกว่าจะได้ข้อยุติในข้อเท็จจริง อ้างเพื่อมิให้เป็นภาระของประชาชน ด้าน กทม.ชี้แจงก่อนหน้าว่า อัตราค่าโดยสารของโครงการสายสีเขียวสูงสุดตลอดสายที่แท้จริงจะอยู่ที่ 158 บาท แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบให้ประชาชน จึงปรับมาอยู่ที่ 104 บาท เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

 

16 มกราคม 2564 มีรายงานว่า กระทรวงคมนาคม ได้แถลงข่าว ระบุว่า ตามที่ กรุงเทพมหานครได้มีประกาศ เพื่อปรับอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวลงวันที่ 15 มกราคม 2564 โดยมีสาระสำคัญในการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวสูงสุดถึง 104 บาทตลอดสาย

ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เป็นภาระค่าเดินทางแก่ประชาชนโดยขาดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2561 ในคราวที่เห็นชอบการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สายสีเขียวส่วนต่อขยายระหว่างการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย กับ กรุงเทพมหานคร

ที่ได้กำหนดให้ กระทรวงคมนาคมบูรณาการร่วมกับกรุงเทพมหานครในการกำหนดอัตราแรกเข้า อัตราค่าโดยสารที่เป็นธรรมและไม่เป็นภาระแก่ประชาชน นั้น

กระทรวงคมนาคมจึงขอเรียกร้องให้ กรุงเทพมหานครชะลอการปรับขึ้นราคาค่าโดยสารสายสีเขียวดังกล่าว จนกว่าจะได้มีการพิจารณาร่วมกันระหว่างทุกฝ่าย และหาหนทางอันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินโครงการ บริหารจัดการ ที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศชาติและประชาชนผู้ใช้บริการ

ทั้งนี้ ในเรื่องขอการปรับแก้ไขสัญญารถไฟฟ้าสายสีเขียวตามที่ กทม. ได้พิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรี ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้มีหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย และกรุงเทพมหานคร เพื่อขอเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลการศึกษาของโครงการ แนวทางการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ต้นทุนของโครงการ และเอกสารอื่น ๆ เพื่อนำมาศึกษา

และให้ความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เกิดการลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 65 บาท ที่ กทม เสนอ ใช้เป็นฐานถึงปี พ.ศ.2602 (38ปี) ลงเหลือไม่เกินอัตราแนวทางที่ระบบรถไฟฟ้าสายอื่นๆในสังกัดกระทรวงคมนาคมกำหนดใช้ เช่น สีน้ำเงิน สีชมพู สีเหลือง สีม่วง ที่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่ 42 บาท แต่กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้รับเอกสารที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเป็นเวลาประมาณ 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายจะได้ร่วมมือกัน เพื่อช่วยกันลดอัตราค่าใช้จ่ายในการแก่ประชาชนต่อไป.

โดยก่อนหน้านี้ กทม.ชี้แจงว่า สืบเนื่องจากการเปิดให้บริการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่ทยอยเปิดให้บริการเดินรถตั้งแต่ วันที่ 3 เมษายน 2561 และเปิดให้บริการเดินรถ เต็มทั้งระบบ ในวันที่ 16 ธันวาคม 2563 โดยในช่วงทดลองให้บริการซึ่งยังไม่มีการเดินรถเต็มรูปแบบไม่มีการเรียกเก็บ ค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการเป็นระยะเวลาเกือบสามปีมาแล้ว เนื่องจาก กทม. ต้องการลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ของประชาชน

บัดนี้เมื่อมีการเปิดให้บริการเดินรถเต็มทั้งระบบแล้ว ประกอบกับ กทม. มีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย จึงมีความจําเป็นที่จะต้องเริ่มเรียกเก็บค่าโดยสารจากผู้ใช้บริการในส่วนต่อขยาย สายสีเขียว ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564 โดยผู้ใช้บริการในส่วนหลัก ช่วงหมอชิต-อ่อนนุช จะไม่ได้รับผลกระทบ ยังคงเสียค่าโดยสารในอัตราเดิม และจะไม่มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนกันระหว่างโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนหลัก (หมอชิต-อ่อนนุช และสะพานตากสิน-สนามกีฬาแห่งชาติ) และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า และอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต)

ทั้งนี้อัตราค่าโดยสารของโครงการสายสีเขียวสูงสุดตลอดสายจะอยู่ที่ 158 บาท แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบ ที่เกิดขึ้นกับประชาชนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COMD-19 กทม. จะปรับอัตราค่าโดยสารสูงสุดตลอดสาย อยู่ที่ 104 บาท ซึ่ง กทม. จะมีผลขาดทุนจากการดําเนินการส่วนต่อขยายประมาณปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท เมื่อนับรวมตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2572 จะมีผลขาดทุนถึงประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท

การดำเนินการเพื่อช่วยเหลือประชาชนเป็นเรื่องที่ดี ครับ แต่ต้องไม่เอาประชาชนมาอ้าง เพื่อสร้างเกมต่อรองบางอย่าง

ซึ่ง โครงการรถไฟฟ้า เป็นโครงการที่ต้องใช้ต้นทุนสูง ดังนั้นต้องพิจารณาความเหมาะสมทั้งผลประโยชน์ของประชาชน ผู้ประกอบการ และรัฐ ซึ่งต้องเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ไม่เช่น ระบบรางที่กำลังไปได้ดี จะถอยหลังลงคลอง ครับ

หากเพื่อนๆ เห็นว่าข่าวนี้มีประโยชน์ รบกวนกดติดตาม กดถูกใจ และกดแชร์ด้วยครับ