บูมภาคใต้!! ยกระดับ “ท่าเรือระนอง” เป็นศูนย์กลางกลุ่มประเทศ BIMSTEC

485

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าว การพัฒนาท่าเรือระนอง กันบ้าง ที่ล่าสุด กทท. ยกระดับการให้บริการท่าเรือระนอง (ทรน.) เร่งปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและเพิ่มประสิทธิภาพ การให้บริการ เพื่อผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) พร้อมเป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าสู่กลุ่มประเทศ BIMSTEC เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

20 ก.ค.63 เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เร่งดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการของ ทรน. ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถรองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT (หรือ น้ำหนักรวมของสินค้า) ทั้ง 2 ท่าเทียบเรือ เป็นการยกระดับการให้บริการตามนโยบายของรัฐบาลในการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) เชื่อมโยงการขนส่งทางน้ำ ถนน และรางระหว่างฝั่งอันดามันกับฝั่งอ่าวไทยจาก ทรน. กับท่าเรือชุมพร และท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.)

เพื่อเพิ่มมูลค่าทางการค้าของประเทศ พัฒนา ให้ ทรน. เป็นศูนย์กลางการขนส่งสินค้าฝั่งทะเลอันดามันเชื่อมโยงไปยังประเทศในกลุ่ม BIMSTEC ได้แก่ บังคลาเทศ ศรีลังกา อินเดีย เมียนมา เนปาล ภูฏาน และไทย การพัฒนาศักยภาพ ทรน. ในวงเงินรวม 41.8 ล้านบาท เป็นการปรับปรุงโครงสร้างท่าเทียบเรือ 1 และ 2 ให้มีความปลอดภัย และให้ท่าเทียบเรือที่ 1 สามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าได้เท่ากับท่าเทียบเรือที่ 2

สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างดังกล่าว แบ่งออกเป็นงานปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 1 ความยาวหน้าท่า 130 เมตร พร้อมติดตั้งยางรองรับแรงกระแทกท่าเทียบเรือที่ 1 ขนาด 800H-2500L (Arch Fender) จำนวน 35 ชุด ให้สามารถรองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT งานปรับปรุงท่าเทียบเรือที่ 2 ความยาวหน้าท่าเทียบเรือ 150 เมตร และซ่อมแซมยางรองรับการกระแทกท่าเทียบเรือที่ 2 จำนวน 2 ชุด รองรับเรือสินค้าขนาด 12,000 DWT รองรับการใช้งานเครนขนาด 65.3 ตัน สะพานทางเข้าท่าเทียบเรือที่ 1 และ 2 สามารถรองรับน้ำหนักรถบรรทุกกึ่งพ่วง 6 เพลา 22 ล้อ ได้

นอกจากนี้ กทท. กำลังดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบ (Detail Design) และศึกษาผลกระทบในการทำพื้นที่วางตู้สินค้าเพิ่ม คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564

ท่าเรือระนอง ตั้งอยู่บนเส้นทางยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจ สามารถขนส่งสินค้า/ตู้สินค้าเชื่อมโยงเส้นทางการค้ากับประเทศในเอเชียใต้ แอฟฟริกา ยุโรป และกลุ่มส BIMSTEC ช่วยร่นระยะเวลาในการเดินเรือสินค้าไปยังประเทศในแถบฝั่งอันดามัน หรือมหาสมุทรอินเดียลงประมาณ 3 เท่า

อย่างเช่นปกติการขนสินค้าไปเมียนม่าต้องใช้เวลาประมาณ 15-20 วัน เพราะต้องผ่านท่าเรืองกรุงเทพฯ หรือท่าเรือแหลมฉบัง ก่อนจะอ้อมผ่านสิงคโปร์ แต่ถ้าจากท่าเรือระนอง จะใช้เวลา 4-7 วัน เท่านั้น

และเส้นทางนี้ ยังอยู่ในแนว 1 แถบ 1 เส้นทาง หรือ โครงการ Belt and Road ของจีน ซึ่งไทยสามารถใช้ประโยชน์นี้ ในการเป็นศูนย์การเชื่อมโยงเส้นทางจากจีนลงมาและขนส่งสินค้าที่นี้ ก็จะย่นระยะเวลาและระยะทางได้อย่างมาก ในขณะเดียวกัน ก็สามารถเชื่อมโยงเส้นทางการค้ากับประเทศในเอเชียใต้ แอฟฟริกา ยุโรป และกลุ่มส BIMSTEC ไปยังจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ผ่านท่าเรือแห่งนี้ ก็จะทำให้ท่าเรือระนองจะกลายเป็นท่าเรือที่มีความสำคัญในภูมิภาคนี้ขึ้นมาทันที ซึ่งที่ผ่านมานักลงทุนจีนได้ลงดูพื้นที่แล้ว และบอกว่าศักยภาพท่าเรือแห่งนี้ดีมาก เรื่องนี้จึงอยู่ที่รัฐบาลไทย จะเดินหน้าเรื่องนี้อย่างไร

และหากช้าไป เมียนม่า อาจจะชิงบทบาทนี้ไปก็ได้ เพราะล่าสุด เมื่อต้นปี 2563 ประธานาธิบดี สีจิ้นผิง ผู้นำจีนเดินทางเยือนเมียนมาร์ และเตรียมลงทุนสร้างท่าเรือในรัฐยะไข่ มูลค่าเฉียด 40,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในจุดเชื่อมต่อสำคัญของโครงการ Belt and Road ครับ