เล็งสร้าง! มอเตอร์เวย์คู่รถไฟ เชื่อม ลาว-กัมพูชา-เมียนม่า-มาเลย์

512

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามข่าว กระทรวงคมนาคม เตรียมดำเนินการศึกษา ทำแผน การเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งทั่วประเทศ เพื่อสร้างเส้นทางการคมนาคมสายใหม่ ที่ไม่ทับซ้อนกับเส้นทางเดิม ทั้งภาคตะวันตก ตะวันออก เหนือ ใต้ กลาง และตะวันออกเฉียงเหนือ

พร้อมระบุว่า จะเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจทุกภูมิภาคของไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเป็นระบบทั้ง สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนม่า เพื่อส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

3 ก.ค.63 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวอีกว่า จากปัญหาการออกแบบและก่อสร้างถนน ที่ผ่านมา เส้นทางไม่สามารถเชื่อมต่อโครงข่ายที่สมบูรณ์ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ กระทรวงคมนาคม ศึกษามอเตอร์เวย์ที่สามารถเชื่อมต่อทั่วประเทศ ภายใต้กรอบ 5 เรื่อง ได้แก่

1. ถนนแนวตรงเพื่อให้เกิดการสัญจรสะดวก ลดอุบัติเหตุ 2. ไม่ผ่านเข้าชุมชน เพื่อไม่ซ้ำแนวถนนเดิมและมีปัญหาเวนคืน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 3. พัฒนาความเจริญสู่พื้นที่ใหม่ 4. สร้างชุมชนเมืองใหม่ 5. แยกการจราจรในเมือง (Local Traffic) ออกจากการเดินทางระหว่างเมือง (Through Traffic)

 

โดยกระทรวงคมนาคมเห็นว่า การแยกศึกษามอเตอร์เวย์อย่างเดียวจะมีปัญหา เนื่องจากระบบโลจิสติกส์ทางบก มีเส้นทางรถไฟด้วย ซึ่งนโยบายต้องการใช้ระบบรางในการขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร รวมถึงการเชื่อมต่อการเดินทางของอาเซียนตามภูมิศาสตร์ของประเทศไทย

ซึ่งจากการศึกษาการแก้ปัญหาแบบบูรณาการโดยการพัฒนาโครงข่ายร่วมกันระหว่างทางรถไฟกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เป็นแผนแม่บท MR-MAP (มอเตอร์เวย์ –รถไฟทางคู่) รวม 8 เส้นทาง เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจทุกภูมิภาคของประเทศกับด่านชายแดน ประเทศเพื่อนบ้าน

สำหรับ 8 เส้นทางดังกล่าว จากรายงานจากกระทรวงคมนาคมระบุว่า ส่วนที่ 1 โครงข่ายเชื่อมแนวเหนือใต้จำนวน 3 เส้นทางคือเส้นทางที่ 1 เชื่อมโยงจากด่านแม่สายชายแดนประเทศเมียนมาร์ผ่านจังหวัดเชียงรายมุ่งหน้าลงใต้ผ่านสะพานวงแหวนรอบกรุงเทพฯเพื่อเชื่อมต่อกับประเทศมาเลเซียที่ด่านสะเดาจังหวัดสงขลา

เส้นทางที่ 2 เชื่อมจากสปป.ลาว ที่ด่านหนองคายผ่านจังหวัดขอนแก่นจังหวัดนครราชสีมา ผ่านพื้นที่ภาคอีสานตอนบนเชื่อมต่อเข้ากับท่าเรือแหลมฉบัง และพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก eec
และเส้นทางที่ 3 จากสปป.ลาว ที่ด่านชายแดนจังหวัดบึงกาฬผ่านพื้นที่ภาคอีสานไปเชื่อมต่อกับชายแดนประเทศกัมพูชานะด่านจังหวัดสุรินทร์

ส่วนที่ 2 โครงข่ายเชื่อมโยงแนวตะวันออกตะวันตกจำนวน 6 เส้นทางประกอบด้วยเส้นทางที่ 1 จากสะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 และ 3 สปป.ลาว ที่จังหวัดนครพนม และจังหวัดมุกดาหารผ่าน พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนมุ่งเข้าสู่ภาคตะวันตก เชื่อมประเทศเมียนมาร์ ณ ด่านแม่สอดจังหวัดตาก

เส้นทางที่ 2 เชื่อมจากสปป.ลาว ณ ด่านชายแดนจังหวัดอุบลราชธานีผ่านพื้นที่ภาคอีสานตอนล่างมุ่งหน้าสู่ ภาคตะวันตกเชื่อมเข้าสู่ชายแดนประเทศเมียนมาร์นะด่านเจดีย์สามองค์จังหวัดกาญจนบุรี

เส้นทางที่ 3 และเส้นทางที่ 4 จากประเทศกัมพูชาผ่านจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดตราดผ่านพื้นที่ eec เข้ากับภาคตะวันตกของประเทศไทยเข้าสู่ชายแดนประเทศเมียนมาร์ ณ ด่านบ้านพุน้ำร้อนจังหวัดกาญจนบุรี

รวมถึงเส้นทางที่ 5 และเส้นทางที่ 6 เชื่อมโยงพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทยที่จังหวัดชุมพรและจังหวัดสุราษฎร์ธานี เชื่อมต่อเข้ากับพื้นที่ชายฝั่งอันดามันที่จังหวัดระนองและจังหวัดภูเก็ตซึ่งโครงการพัฒนาโครงข่ายตามแผน MR-MAB นี้บูรณาการขึ้นเพื่อเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจทุกภูมิภาคของไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างเป็นระบบ

พร้อมทั้งพัฒนาวงแหวนเลี่ยงเมืองเป็นเส้นทางใหม่ในการแยกการจราจรผ่านพื้นที่เมืองใหญ่ได้โดยไม่เกิดปัญหาการจราจรติดขัดในเขตเมือง เพื่อให้มีความสะดวกรวดเร็วคล่องตัวมากยิ่งขึ้นส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง

โดยในปี 2564 ทาง ก.คมนาคม จะได้มีการศึกษามาสเตอร์แพลน ของทั้ง 8 เส้นทางนี้ โดยใช้เงินงบประมาณจากกองทุนมอเตอร์เวย์

การพัฒนาถนนหนทางเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าว ทำให้ประชาชนเดินทางได้สะดวก และเป็นการแหล่งเศรษฐกิจใหม่ๆให้กับประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี

แต่อย่างไรก็ตามการพัฒนาเหล่านี้ ต้องให้ความระมัดระวังอย่างมาก เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ทั้งต่อมนุษย์ สัตว์เลี้ยง สัตว์ป่า ป่าไม้ และแหล่งน้ำธรรมชาติ ด้วยนะครับ