สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามความคืบหน้า โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ กันบ้าง ที่ล่าสุด เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้เข้าพบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม โดยได้มีการหารือกันหลายเรื่อง โดยเฉพาะ โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ หลังจากก่อนหน้านี้โครงการไม่มีความคืบหน้ามากนัก เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ
10 ก.ค.63 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เข้าพบ ในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม
H.E. Mr. NASHIDA Kazuya (นายนาชิดะ คาซูยะ) เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และคณะ มีประเด็นในการเข้าพบเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือระหว่างกันในโครงการต่าง ๆ เช่น
โครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน (Road Safety) และการยกระดับความร่วมมือด้านขนส่งและโลจิสติกส์
อย่างไรก็ตามไม่ได้มีการเปิดเผยรายละเอียดในการหารือแต่อย่างไร รวมทั้งเรื่องโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่
หากย้อนความคืบหน้าของโครงการนี้ ล่าสุดเมื่อปีที่แล้วทางญี่ปุ่นได้นําส่งรายงานศึกษาความเหมาะสมมาให้รัฐบาลไทยพิจารณา แต่การศึกษารายละเอียดยังไม่ข้อสรุปแต่อย่างใด โดยกระทรวงคมนาคม ได้มีการแต่งตั้งคณะทํางานด้านเทคนิคขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ในการเจรจาและศึกษารูปแบบการดําเนินโครงการฯ ต่อไป
สำหรับรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 668 กม. วงเงินลงทุนรวม 445,303 ล้านบาท แบ่งการดำเนินงาน ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพ-พิษณุโลกระยะทาง 380 กม. วงเงินลงทุน 212,892 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2568 อัตราค่าโดยสาร 640-1,700 บาท
ระยะที่ 2 ช่วง พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 288 กม. วงเงินลงทุน 232,411 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดให้บริการปี 2572 อัตราค่าโดยสาร 385-1,044 บาท
โดยโครงการนี้ เป็นรถไฟที่สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 300 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมดประมาณ 3 ชั่วโมง
โดยการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ เป็นสายสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการเดินทางและขนส่งสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจตามเส้นทาง ที่โครงการพาดผ่าน
พร้อมทั้งช่วยเสริมศักยภาพด้านการแข่งขันของไทยในภูมิภาคอาเซียนและเอเชียด้วย
ซึ่งก่อนหน้านี้มีประเด็นข่าวว่า ญิ่ปุ่นไม่สนใจนี้ เพราะไม่คุ้มค่าการลงทุน แต่จริงๆ แล้ว ตัวแทนของญี่ปุ่นได่มีการหารือกับทางกระทรวงคมนาคมหลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ญี่ปุ่นยังให้ความสนใจโครงการนี้ โดยคาดว่าเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมที่สุด
เพราะไม่ทางยุทธศาสตร์แล้ว จีน กับญุี่ปุ่น เป็นคู่แข่งกันอยู่ และจีน ก็ได้ร่วมมือกับไทยสายตะวันออกเฉียงเหนือไปแล้ว
ซึ่งหากญี่ปุ่นไม่ดำเนินการโครงการนี้ ก็อาจจะเสียท่าให้กับจีน เหมือนที่เคยเกิดขึ้นแบบในอินโดนีเซีย ที่จีน ปาดหน้า เอาโครงการรถไฟความเร็วสูงในอินโดนีเซีย เส้นทางเชื่อมกรุงจาการ์ตากับเมืองบันดุง ไปกินครับ