อัพเดท รถไฟไทย-จีนช่วง  กรุงเทพฯ-นครราชสีมา

429

 

#รถไฟไทยจีน #รถไฟความเร็วสูง #โครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน

 

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามความคืบหน้าเรื่องรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา  กันบ้าง ล่าสุดการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28  และ การลงนามในสัญญา 2.3   ยังไม่เกิดขึ้น  เนื่องจากยังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

 

แต่ในส่วนของไทย ล่าสุด บอร์ด  ร.ฟ.ท.ได้เห็นชอบผลการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม.แล้ว

 

พร้อมกันนี้ การรถไฟฯ ได้ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมประมูล  งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 7,664 ล้านบาท  ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2563  ตามแผนโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา  จะ เปิดให้บริการในปี 2566  เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

 

///////////////////

สำหรับความคืบหน้า  โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กม. วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท ภายใต้ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน   โดยก่อนหน้านี้ ในประเด็นการเจรจาข้อตกลงรายละเอียดร่างสัญญา 2.3 (การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ได้ข้อสรุปตรงกันแล้ว และจะสามารถลงนามในสัญญา 2.3 ทันที
แต่ล่าสุดต้องเลื่อนออกไปก่อนยังไม่ระบุวันที่จะประชุมร่วมกันได้   เนื่องจากประสบปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

 

แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการดำเนินการของการรถไฟแห่งประเทศไทย การดำเนินการโครงการรถไฟไทยจีน ช่วงกรุงเทพ นครราชสีมา  ได้มีการดำเนินการเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง  โดยเมื่อ 16 มีนาคม 2563   การรถไฟฯ    ได้ออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนเข้าร่วมประมูล งานก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 7,664 ล้านบาท ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) และจะเปิดให้ยื่นข้อเสนอและเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2563 นี้

 

นอกจากนี้เมื่อ  วันที่ 19  มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา  ที่ประชุมคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) หรือ บอร์ด รฟท.ได้เห็นชอบผลการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 10,421.014 ล้านบาท มี บริษัท บุญชัยพาณิชย์ (1979)  จำกัด เป็นผู้เสนอราคาประมูลต่ำสุดอยู่ที่ 8,560 ล้านบาท  และเตรียมลงนาม  สัญญาร่วมกันต่อไป

 

ทั้งนี้   ปัจจุบันโครงการรถไฟไทย-จีน เหลืองานโยธาที่ยังไม่ได้เปิดประมูลอีก 1 สัญญา   ที่เป็นสัญญาสุดท้าย  จากทั้งหมด 14 สัญญา   คือ  สัญญางานโยธาฉบับที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง เนื่องจากต้องรอสรุปโครงสร้างในส่วนทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และร่าง TOR  ก่อน

 

ตามแผนโครงการรถไฟไทยจีน ช่วงกรุงเทพ นครราชสีมา  เส้นทางนี้ จะเปิดให้บริการในปี 2566 ส่วนระยะที่ ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย  ระยะทาง: 355 กิโลเมตร  การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษางานออกแบบรายละเอียดงานโยธาแล้ว คาดว่า เปิดใช้งาน: พ.ศ. 2569

โดยระยะเวลาการเดินทางจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 30 นาที  และใช้เวลาจากกรุงเทพ ไปหนองคาย  3 ชั่วโมง 45 นาที

 

และ หากแล้วเสร็จทั้งระบบ จะทำให้การระยะเวลาเดินทางรวมจากกรุงเทพมหานคร ผ่านสปป.ลาว ถึงคุนหมิง ประเทศจีน 13 ชั่วโมง 30 นาที  โดยรถไฟนี้มีความเร็วสูงสุดที่ 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  แต่ในประเทศไทย จะวิ่งอยู่ที่   250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  และ ในสปป.ลาว    ซึ่งเป็นทางเดี่ยวทั้งหมด ใช้ความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง