บอร์ดอีอีซี ไฟเขียว  กลุ่ม BBS  คว้าเมืองการบินอู่ตะเภา

442

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามความคืบหน้า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก  กันบ้าง ที่ล่าสุด  ที่ประชุมบอร์ดอีอีซี    ได้มีมติให้ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ที่ประกอบด้วย กลุ่มบีทีเอส-หมอประเสริฐ และซิโนไทยฯ”  ที่เสนอผลตอบแทนให้ภาครัฐสูงที่สุด เป็นผู้ได้รับการคัดเลือก  โดยขั้นตอนต่อจากนี้ จะเข้าสู่กระบวนการเจรจา  ก่อนชง ครม.อนุมัติ  เดือน เมษายน 2563 ซึ่งหากโครงการนี้แล้วเสร็จจะทำกลายเป็น “มหานครการบิน”   เป็นศูนย์การบินนานาชาติของอาเซียนและของเอเชียที่มีศักยภาพในภูมิภาคนี้ เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

 

การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)  หรือ บอร์ดอีอีซี  ครั้งที่ 1/2563 วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม 2563 โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กพอ. เป็นประธาน ที่ทำเนียบรัฐบาล ได้รับทราบและพิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)  ในประเด็นโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก

 

โดยที่ประชุม บอร์ดอีอีซี    รับทราบ คณะกรรมการคัดเลือกฯ พิจารณาข้อเสนอซองที่ 3 (ด้านราคา) จากเอกชนที่ผ่านข้อเสนอซองที่ 2 (ด้านเทคนิค) ทั้ง 3 ราย และมีมติให้ กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส ประกอบด้วย บมจ.การบินกรุงเทพ, บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง และ บมจ.ซิโนไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น   ที่เสนอเงินประกันรายได้เป็นผลตอบแทนให้ภาครัฐสูงที่สุด เป็นผู้ได้รับการคัดเลือก และเข้าสู่กระบวนการเจรจา เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563

 

ทั้งนี้ การเจรจาจะได้ข้อสรุปภายใน มีนาคม 2563 และสามารถเสนอร่างสัญญาที่สำนักงานอัยการสูงสุด พิจารณาให้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)  และ ครม. พิจารณา เมษายน 2563 นี้

 

 

ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)  เปิดเผยว่า  ในการเจรจาคณะกรรมการคัดเลือกยังไม่มีการเปิดข้อเสนอซองที่ 4 ข้อเสนอเพิ่มเติม ที่เพิ่มประสิทธิภาพโครงการ ยังเจรจาในส่วนของซองที่ 3 ด้านการเงิน และเมื่อมีการนำร่างสัญญาของโครงการให้กลุ่ม BBS ตรวจทาน ทาง BBS มีคำถามกลับมาประมาณ 100 ข้อ แต่ยังไม่มีคำถามใดที่คณะกรรมการคัดเลือกยังตอบไม่ได้ และส่วนใหญ่ตอบไปเกือบหมดแล้ว ส่วนการขอสนับสนุนจากรัฐ กลุ่ม BBS ยังไม่ได้เสนออะไรให้รัฐช่วยเพิ่มเติม

ส่วนการรับมอบ master plan ของสนามบิน  ได้มีการส่งมอบให้กลุ่ม BBS แล้ว  โดยตัว master plan แบ่งได้ 2 ส่วน คือ ส่วนแรกมีพื้นที่ 6,500 ไร่  โดยเอกชนสามารถกำหนดอาคารและสถานที่ต่าง ๆ ได้เอง โดยเบื้องต้น  BBS  ได้มีการกำหนดพื้นที่เชิงพาณิชย์และดิวตี้ฟรีบ้างแล้ว  และส่วนที่ 2 เป็นส่วนของโครงสร้างพื้นฐานภายในสนามบิน เช่น ทางวิ่ง หอบังคับการบิน เป็นต้น ส่วนนี้คงไม่มีการปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด

โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) เป็นโครงการที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน เพื่อพัฒนาสนามบินและกิจกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย การก่อสร้างความพร้อมในการให้บริการและบำรุงรักษา อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3) และศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway)  ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Air Cargo) ระยะที่ 2 ธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) ระยะที่ 2  ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบินระยะที่ 2 และกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน (Free Trade Zone) โดยระยะแรกคาดว่า จะแล้วเสร็จปี 2566

 

โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ  คือ เป็นสนามบินนานาชาติหลักแห่งที่ 3 ของประเทศไทยและธุรกิจต่อเนื่อง เป็นเขตส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อรองรับการขยายตัวของพื้นที่ EEC และเชื่อมโยงการขนส่งผู้โดยสารกับสนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ และเป็น Aviation Hub ที่สำคัญในภูมิภาค

 

ตามแผนหากแล้วเสร็จ   จะทำให้ทำให้เมืองการบินแห่งนี้กลายเป็น “มหานครการบิน”   เป็นศูนย์การบินนานาชาติของเอเชียที่มีศักยภาพ

 

และจะส่งผลให้ประเทศไทยมีศักยภาพการแข่งขันเหนือประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียนและเอเชีย  และกลายเป็นศูนย์กลางการบินสำคัญอีกแห่งหนึ่งของโลกครับ