เดินหน้า! โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายสีเขียว จ.นครราชสีมา

694

 

สวัสดีครับพบกันอีกเช่นเคยกับช่อง 1one.asia วันนี้มาติดตามความคืบหน้า โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายสีเขียว ของจังหวัดนครราชสีมา ล่าสุดได้เชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา ระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โดยตามแผนโครงการจะก่อสร้างช่วงปลายปี 2564 และเปิดให้บริการช่วงปลายปี 2568 เรื่องน่าสนใจไปติดตามกันครับ

เมื่อ 2 พฤศจิกายน เวลา 2562 มีรายงานจาก ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว เชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) ในวันที่ 19 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายสีเขียว จังหวัดนครราชสีมา นัดประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม ออกแบบ และจัดเตรียมเอกสารประกวดราคา ระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562(Cr.ภาพ ยูทูป PR MRTA Official)

 

กลุ่มที่ 1 จัดประชุมวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 9.00 – 12.00 น.ณ ห้องประชุมราชสีมาจารย์ สำนักงานศึกษาการภาค 13 อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

กลุ่มที่ 2 จัดประชุมวันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.30 – 16.30 น.ณ ห้องประชุมกาญจนาภิเษกชั้น 5 อาคารฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

กลุ่มที่ 3 จัดประชุมวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 9.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 ที่ว่าการอำเภอเมืองนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

กลุ่มที่ 4 จัดประชุมวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 1 สำนักงานทางหลวงที่ 10 นครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว(Cr.ภาพ ยูทูป PR MRTA Official)

 

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ได้เปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน ครั้งที่ 1 หรือ การปฐมนิเทศโครงการ มีผู้สนใจรวมถึงสื่อมวลชน เข้าร่วมการ ประชุมกว่า 250 คน ณ ห้องสีมาธานี แกรนด์บอลรูม โรงแรมสีมาธานี อําเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

โดยผลการเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น ชาวจังหวัดนครราชสีมา มีความเป็นห่วงเรื่องขนาดถนนที่โครงการจะก่อสร้างผ่านเนื่องจากถนนมีความคับแคบเป็นอย่างมาก ซึ่งหากดำเนินการก่อสร้างแล้วเสรร็จการจราจรบริเวณดังกล่าวจะประสบปัญหา ดังนั้นจึงได้มีการเสนอปัญหาเพื่อให้ทางการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ชี้แจง และดำเนินการแก้ไขต่อไป

สำหรับขั้นตอนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงานช่วงที่ 1 งานศึกษารายละเอียดความเหมาะสม หรือ Feasibility Study ออกแบบ จัดทํารายงานการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการ มีระยะเวลาดาเนินการ 1 ปี

สําหรับการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนี้ เป็นการชี้แจงข้อมูลและดำเนินกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะตั้งแต่เริ่มต้นของการศึกษาและพัฒนาโครงการ

จากนั้นเป็นการคัดเลือกผู้รับจ้างในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) และ เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินโครงการต่อไป

สำหรับโครงการดัวกล่าวนี้ รฟม. ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้เป็นผู้ ดําเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา ในรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) โดยให้ดําเนินการก่อสร้างครั้งละ 1 เส้นทาง

ซึ่งตามผล การศึกษาแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะจังหวัดนครราชสีมา ของสํานักงานนโยบายและแผนการ ขนส่งและจราจร หรือ สนข. ระบุว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา สายสีเขียว (ตลาดเซฟวันถึงสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์) เป็นระบบรถไฟฟ้ารางเบา (Light Rail Transit) รวมระยะทาง ประมาณ 11.17 กิโลเมตร

มีสถานีจํานวน 20 สถานี งบประมาณ กว่า 8,000 ล้านบาท ผ่านสถานที่สําคัญ เช่น ตลาดเซฟวัน สํานักคุมประพฤติ สวนภูมิรักษ์ เทศบาลนครนครราชสีมา อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี โรงเรียนสุรนารีวิทยา มหาวิทยาลัยราชภัฏ นครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และสถานคุ้มครองสวัสดิภาพผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ บ้านนารีสวัสดิ์

โดยนายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ฝ่ายกลยุทธ์และแผน เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า สามารถดำเนินโครงการได้ช่วงปลายปี 2564 ใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี ประมาณช่วงปลายปี 2568 จะเปิดให้บริการได้ โดยโครงนี้โดยเชื่อมโยงโครงข่ายกับระบบขนส่งขนาดรองต่างๆ รวมไปถึงกับรถไฟทางคู่ และ รถไฟไทย-จีน ด้วย

จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดใหญ่ การเร่งสร้างระบบขนส่งมวลชนทางรางนับว่ามีความสำคัญมาก การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน จึงเป็นโอกาส ที่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ จะได้รับทราบข้อมูลพร้อมแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนําไปเป็นแนวทางในปรับปรุงโครงการต่อไป

ดังนั้นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจึงไม่ควรพลาดโอกาสสำคัญนี้ครับ