ผลประชุมใหญ่RCSS เจ้ายอดศึก นั่งปธ.อีกสมัย-พร้อมเจรจากลุ่มติดอาวุธในรัฐฉาน

298

 

ไปที่รัฐฉานกันบ้าง ล่าสุด สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) ได้จัดประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3 และที่ประชุมได้เลือก พลเอกเจ้ายอดศึก นั่งประธานอีกสมัย เจ้าตัวลั่นพร้อมยุติปัญหาการสู้รบกับกลุ่มติดที่เกิดขึ้นอยู่ในรัฐฉาน พร้อมระบุ กรณีมินอ่องหล่าย เชื้อเชิญเจรจาทางการเมือง หากเพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมืองและจัดตั้งระบบสหพันธ์รัฐ ทาง RCSS ก็เห็นด้วย เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

วันที่ 18 มกราคม 2565 มีรายงานจาก สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน ((RCSS) ) ของกลุ่มพลเอกเจ้ายอดศึกว่า ในการประชุมประจําปี ครั้งที่ 22 ของ สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) เมื่อวันที่ 11 – 15 มกราคม 2565 ประกอบด้วยคณะที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารสูงสุด , คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่จากทุกหน่วยงาน เข้าร่วมประชุมจํานวน 245 คน หลังจาก นั้น ในวันที่ 16 – 17 มกราคม 2565 ได้จัดประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3 ขึ้นที่ บก.คอยไตแลง ทางสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) จึงได้ออกหนังสือแถลงการณ์ มาดังนี้
1. ในการประชุมประจําปี ครั้งที่ 22 ทุกหน่วยงานได้ขึ้นกล่าวรายงาน ถึง ผลของการปฏิบัติงาน ที่ได้ดําเนินการผ่านมาในห้วงระยะเวลา 1 ปี ซึ่งในที่ประชุมได้ร่วมกันปรึกษาหารือ ตรวจสอบ พิจารณาและประเมินผลของการปฏิบัติงานด้านต่างๆ

 

พลเอก ยอดศึก ประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS)

 

และในการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3 พลเอก ยอดศึก ประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) ได้แถลงรายงานเกี่ยวกับผลการ ปฏิบัติงานของสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) ที่ได้ดําเนินการมาในห้วงระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา
2. ในการประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3 นี้ ในที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่วมกัน ในการแต่งตั้งให้พลเอกยอดศึก ดํารงตําแหน่งประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) อีกวาระหนึ่ง พร้อมทั้งได้แต่งตั้ง คณะที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหารสูงสุด และหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ พร้อมทั้งได้กําหนดนโยบายในการปฏิบัติงาน ที่จะดําเนินการต่อไปในห้วงระยะเวลา 4 ปี โดยมีรายชื่อ คณะกรรมการบริหารสูงสุดชุดใหม่จํานวน 21 คน ดังนี้
พล.อ. ยอดศึก ประธานสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน
พล.ท. จายยี่ รองประธาน สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (1) พล.ต. เคือเงิน รองประธาน สภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (2 , ผบ.สส.)
พ.อ. จายงืน เลขาธิการ 1
พ.ต.คําจ่าม เลขาธิการ 2
นอกจากนี้ ยังมีกรรมการอีก 16 ท่าน

3. เพื่อเป็นการแสดงความยินดีและนิมิตรหมายที่ดี ต้อนรับ การประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3 ทางสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) ได้ทําการอภัยโทษให้แก่ผู้ต้องขังในพื้นที่ควบคุมดูแล ใน วันที่ 18 มกราคม 2565 จํานวน 167 คน
4. เริ่มจากความสามัคคีปรองดองในรัฐฉานเพื่อนําไปสู่ความสามัคคีในระดับสหภาพ และ เพื่อที่จะสามารถร่างรัฐธรรมนูญ ของรัฐฉาน ที่เหมาะสมสอดคล้องกับโครงสร้างของระบบ สหพันธรัฐ รัฐฉาน ที่ทุกฝ่ายยอมรับได้นั้น อีกไม่นานทางสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (Rcss) จะดําเนินการจัดการประชุมเตรียมการในการจัดประชุมใหญ่แห่งชาติต่อไป

5. เพื่อที่จะหลีกเลี่ยง ไม่ให้ชาวบ้านหรือประชาชน ต้องพบกับความทุกข์ยากลําบาก และถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน จากผลของสงครามการสู้รบ หรือจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส โควิด – 19 นั้น ทางสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) จะดําเนินการเจรจาพูดคุย เพื่อยุติปัญหารการสู้ รบกับกลุ่มติดอาวุธบางส่วนที่เกิดขึ้นอยู่ในรัฐฉาน ขณะนี้
6. จากการที่ กลุ่มประเทศอาเซียน และนานาชาติ พยายามทุกวิถีทาง ในการที่จะหาแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาทางทางการเมืองและจัดตั้งการปกครองระบบสหพันธรัฐ ขึ้นในสหภาพนั้น ทางสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) ขอแสดงจุดยืนเห็นชอบด้วยในเรื่องดังกล่าว
7. ในการที่ พลเอก (อาวุโส) มิน อ่อง หล่าย เชื้อเชิญให้มีการเจรจาทางการเมืองนั้น หากเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองและจัดตั้งระบบสหพันธรัฐที่แท้จริง ทางสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) มีความเห็นชอบในการดําเนินการดังกล่าว
8. ทางสภาเพื่อการกอบกู้รัฐฉาน (RCSS) มีความเชื่อมั่นว่า หากทุกฝ่ายสามารร่วมมือกัน จัดตั้งสหพันธรัฐ ที่แท้จริงขึ้นมาได้ก่อน จึงจะสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ในสหภาพ ในขณะนี้ได้

ครับกว่า 70 ปี แห่งการต่อสู้ของชาวไทใหญ่ ดูเหมือนว่า เป้าหมายจะยังไม่เข้าใกล้ความจริง ซึ่งส่วนหนึ่งเพราะชาวไทใหญ่ยังไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน รวมมือกัน โดยเฉพาะกลุ่มไทใหญ่เหนือหรือ พรรคก้าวหน้ารัฐชาน (SSPP) ของกลุ่มเจ้าป่างฟ้า กับกลุ่มไทใหญ่ใต้ ของกลุ่มเจ้ายอดศึก สภาเพื่อกอบกู้รัฐชาน (RCSS)
ดังนั้นการเปิดทาง พร้อมเจรจาพูดคุย เพื่อยุติปัญหารการสู้ รบกับกลุ่มติดอาวุธบางส่วนที่เกิดขึ้นอยู่ในรัฐฉาน โดยเฉพาะกับกลุ่มเจ้าป่างฟ้า นอกจากจะทำให้ชาวไทใหญ่และกลุ่มชาติพันธุ์ในรัฐฉาน ได้อยู่อย่างปลอดภัยแล้ว ยังจะเป็นนิมิตรหมายที่ดีในการผนึกกัน เพื่อเป้าหมายของอิสระภาพ เสรีภาพ ของชาวไทใหญ่ ในรัฐฉาน ที่รอคอยมากว่า 70 ปีอีกด้วยครับ