“ไทย-ญี่ปุ่น”เห็นพ้องเดินหน้า!”รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

356

 

 

มาติดตามความคืบหน้าโครงการโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ กันบ้าง ล่าสุด กระทรวงคมนาคม ได้มีการประชุมออนไลน์ กับทางญิ่ปุ่น เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือ แผนการพัฒนาระบบคมนาคม โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องจะแสวงหาแนวทางลดต้นทุนโครงการ ซึ่งเป็นปัญหาหลัก และนี้จะเป็นสัญญาณว่า ญี่ปุ่น ยังให้ความสนใจ พร้อมเดินหน้าโครงการนี้อยู่ หลังจากข่าวเงียบหายไป เรื่องนี้น่าสนใจไปติดตามกันครับ

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย – ญี่ปุ่น (High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ 5 ในวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบทางไกล โดยมีการหารือกันในหลายประเด็น หนึ่งในนั่นคือ โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่

โดยในการหารือ นายวาตะนาเบะ ทาเคยูกิ (H.E. Mr. WATANABE Takeyuki) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (State Minister of Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism) เห็นพ้องกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย ในการแสวงหาแนวทางลดต้นทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น กล่าวถึงความสำเร็จของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ที่ได้เปิดทดลองให้บริการแล้ว เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา

สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ เมื่อปี 2562 ญี่ปุ่นได้นําส่งรายงานศึกษาความเหมาะสมมาให้รัฐบาลไทยพิจารณา แต่การศึกษารายละเอียดยังไม่ข้อสรุปแต่อย่างใด โดยกระทรวงคมนาคม ได้มีการแต่งตั้งคณะทํางานด้านเทคนิคขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ในการเจรจาและศึกษารูปแบบการดําเนินโครงการฯ ต่อไป แต่เรื่องก็เงียบหายไป

สำหรับรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 668 กม. วงเงินลงทุนรวม 445,303 ล้านบาท แบ่งการดำเนินงาน ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพ-พิษณุโลกระยะทาง 380 กม. วงเงินลงทุน 212,892 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 2568 อัตราค่าโดยสาร 640-1,700 บาท

ระยะที่ 2 ช่วง พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 288 กม. วงเงินลงทุน 232,411 ล้านบาท ตามแผนจะเปิดให้บริการปี 2572 อัตราค่าโดยสาร 385-1,044 บาท

 

การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย – ญี่ปุ่น (High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ 5 ในวันที่ 11 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบทางไกล

โดยโครงการนี้ เป็นรถไฟที่สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 300 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทางทั้งหมดประมาณ 3 ชั่วโมง

ครับโครงการนี้ปัญหาใหญ่ โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-เชียงใหม่ คือ ต้นทุนสูงถึง 445,303 ล้านบาท และความหนาแน่นของชุมชน หรือผู้ใช้บริการตลอดเส้นทาง ไม่ได้มากเหมือนของญิ่ปุ่น จึงคาดว่า เป็นสาเหตุหลักที่ญี่ปุ่น ยังไม่ตกลงปลงใจลงทุนในโครงการนี้ แต่ก็ออกมาให้ความหวังเป็นพักๆ เพราะอาจจะเกรงว่า จีน จะคว้าชิ้นปลามันเอาไปกินเหมือนกรณีรถไฟฟ้าความเร็วสูง เส้นจาการ์ตา-บันดุง ของ อินโดนีเซีย

โดยไทยต้องการให้ญี่ปุ่น ร่วมลงทุน แต่ญี่ปุ่นระบุว่าไม่สามารถร่วมลงทุนในรูปแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ได้ แต่ไทย เสนอต่อว่า ต้องการให้ญี่ปุ่นร่วมลงทุนในรูปแบบอื่นๆ เช่น ในส่วนของโครงสร้างงานโยธา, ระบบอาณัติสัญญาณและการเดินรถ หรือการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางและสถานี อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นระบุว่าพร้อมให้พิจารณาเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษให้ไทยในการดำเนินโครงการดังกล่าว

แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ความล่าช้า อยู่ที่กระทรวงคมนาคม ซึ่งต้องถามตัวเองให้ชัดก่อนว่านจะเอาอย่างไร อยากจะให้โครงการนี้เกิดหรือเปล่า หรือจะอย่างไร เพราะหากช้าไป ค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีก แผนการมันจะช้าออกไปเรื่อย ประชาชนประเทศชาติจะเสียโอกาส ไปกันใหญ่

แต่ถ้าต้องการให้เกิดคิดว่าน่าจะดำเนิน 3 แนวทางคือ 1.เร่งศึกษาลดต้นโครงการ แต่ต้องไม่กระทบต่อระยะเวลาในการเดินทาง และความสะดวกสบาย ในการใช้บริการ
2.ควรเพิ่มแรงจูงใจในการลงทุน เช่น การให้สิทธิในการพัฒนาพื้นที่รอบๆสถานี หรือ สิทธิอื่นๆ ที่คาดว่าทางญี่ปุ่นสนใจ
3.ให้เปิดโอกาสให้กับบริษัทอื่น ๆ ทั้งของไทย และต่างชาติอื่นๆ เช่น จีน ที่มีความสนใจ เพื่อสร้างช่องทางใหม่ๆ และไม่แน่อาจจะค้นพบช่องทางความเป็นไปของโครงการ ที่กำลังตืบตันอยู่ในขณะนี้ก็เป็นไปได้ ดีกว่าปล่อยเวลาให้ทอดยาวแบบไร้ความหวัง ครับ